Show simple item record

dc.contributor.authorพงษ์กฤษณ์ มงคลสินธุ์th
dc.date.accessioned2021-04-02T01:54:20Z
dc.date.available2021-04-02T01:54:20Z
dc.date.issued2564-04-02
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/987
dc.description.abstractการพัฒนาเครื่องมือเตรียมพร้อมก่อนปล่อย (ผู้ต้องขัง) เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบท่วมท้นไปด้วยผู้กระทำผิดในคดียาเสพติด จนก่อให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารจัดการงานยุติธรรมของประเทศทั้งระบบ โดยเฉพาะในส่วนของเรือนจำที่ต้องรับภาระอย่างหนักกับปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ แต่เรือนจำก็ไม่สามารถจำคุกผู้ต้องขังทุกคนไว้จนตาย สักวันหนึ่งไม่ช้าก็เร็วก็ต้องปล่อย โดยเฉพาะผู้ต้องขังส่วนใหญ่ที่เป็นคดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีมากกว่าร้อยละ 70 นั้น มักจะเป็นผู้กระทำผิดซ้ำถึงร้อยละ 62.64 และร้อยละ 73.13 ของผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำและศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนสถิติการกระทำผิดซ้ำที่สูงเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่า แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้พยายามพัฒนา หลักสูตร/โปรแกรม/โครงการต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยมาอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม แสดงว่าเครื่องมือดังกล่าวน่าจะมีปัญหา อุปสรรค หรือข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำให้บรรลุผลสำเร็จได้ ดังนั้นการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือที่ได้จากการศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดต่าง ๆ ย่อมจะช่วยให้การดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะปล่อยผู้ต้องขังประสบผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น ผู้ต้องขังไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก อันเป็นประโยชน์ต่อเรือนจำในการบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น และต่อตัวผู้ต้องขังเองตั้งแต่อยู่ในเรือนจำและหลังพ้นโทษไปแล้ว ทั้งแง่ของการปรับตัวระหว่างที่อยู่ในเรือนจำและการปรับตัวเข้าสู่สังคมหลังพ้นโทษไปแล้ว เช่นเดียวกับชุมชนและสังคมโดยรวมก็ได้รับประโยชน์จากการได้คนดีกลับคืนสู่สังคมจึงไม่ต้องเสี่ยงกับการตกเป็นเหยื่อของการกระทำผิดซ้ำ และเท่ากับเป็นการป้องกันปัญหาการกระทำผิดซ้ำไปด้วย วัตถุประสงค์สำคัญของการวิจัยนี้ คือ การสำรวจเครื่องมือเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยที่ กรมราชทัณฑ์ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ว่ามีปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัด อะไรบ้างที่ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จเพื่อนำมาออกแบบ สร้างหรือพัฒนาเครื่องมือที่จะเตรียมความพร้อมให้ผู้ต้องขังสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและไม่ไปกระทำผิดซ้ำอีก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีเครื่องมือสำคัญคือคำถามสัมภาษณ์และการสนทนาการกลุ่มกับประชากรเป้าหมายทั้งหมด 689 คนประกอบด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติ ผู้ต้องขังและผู้ประกอบการ ผลการศึกษาพบว่า มีปัญหาและอุปสรรคจำนวนมากส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับนโยบาย บริหาร และปัญหาที่มาจากตัวโครงการเอง จึงได้นำปัญหาอุปสรรคดังกล่าวประกอบแนวคิดทฤษฎีและตัวแบบเครื่องมือเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยของประเทศสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์มาเป็นฐานของการออกแบบเครื่องมือใหม่ ด้วยการจัดกลุ่มประเภทของโครงการทั้งหมดใหม่ให้มีลกษณะเป็นขั้นตอนหลายขั้น แต่ละขั้นก็มีหลายโปรแกรมเรียงลำดับกันอยู่ตามระดับความยากง่ายของโปรแกรม นอกจากนี้ยังออกแบบให้การแกไขด้วยโปรแกรมต่าง ๆ เหล่าน้อยในรูปที่เป็นกระบวนการและเป็นระบบที่เชื่อมโยงถึงกันและเชื่อมต่อการดูแลในเรือนจำกับการดูแลนอกเรือนจำหลังพ้นโทษอย่างไร้รอยต่อด้วยระบบบ้านกึ่งวิถีแบบ 3 ระยะ ด้วยแนวทางในการออกแบบเช่นนี้จึงได้รูปแบบใหม่ของโปรแกรมหรือเครื่องมือเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยที่สมบูรณ์ สามารถช่วยให้การเปิดอบรมหรือใช้โปรแกรมการแก้ไขทั้งหมดเป็นไปอย่างมีระบบ และยังมีส่วนสนับสนุนการดูแลหลังปล่อยช่วงพ้นโทษแล้วให้มีความสำคัญยิ่งขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้โปรแกรมใหม่ที่สร้างขึ้นจึงมีประโยชน์มากมายหลายประการ ดังที่ได้นำเสนอไว้แล้วในหัวข้อถัดไป ประโยชน์ของผลงานวิจัย สามารถแจกแจงออกได้ ดังนี้ - แยกโปรแกรมเพื่อการแก้ไขกับโปรแกรมเพื่อการลงโทษออกจากกันได้อย่างชัดเจน เพื่อช่วยลดความสับสนระหว่างการลงโทษและการแก้ไข - ลดความเป็นเอกเทศของโปรแกรม เพราะมีการตัดทอนเนื้อหาที่ซ้ำซ้อน โดยเฉพาะที่เป็นความรู้หรือการฝึกทักษะเบื้องต้น - จัดระดับความยากง่ายให้โครงการแล้วกำหนดให้ระดับต้นเป็นการสอนภาคทฤษฎี และเป็นภาคปฏิบัติในระดับที่สูงขึ้นไป เพื่อลดการสอนภาคปฏิบัติในทุกโครงการลง - เน้นความสำคัญองค์ประกอบของเนื้อหาให้เป็นไปตามปัญหาและความต้องการของผู้เข้าอบรมไม่ใช้ประสบหรือความชำนาญของผู้บริหาร - จำนวนของโปรแกรมจะมีมากน้อยตามปัญหาและความต้องการของผู้ต้องขัง ไม่ใช่ตามข้อจำกัดของเรือนจำ - สามารถจำกัดจำนวนผู้ต้องขังเข้าสู่โครงการแก้ไขได้ดีขึ้น เพราะมีหลายขั้นตอนและหลายระดับให้เลือก - ผู้ต้องขังได้รับการดูแลอย่างไร้รอยต่อกับโครงการหลังพ้นโทษ (Seamless through care) - จำกัดการใช้เอกสารประกอบการปล่อยผู้ต้องขังพักโทษกรณีพิเศษ - สร้างแรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานแก้ไขสมัครใจมาปฏิบัติหน้าที่นี้มากขึ้น และให้ผู้ต้องขังมีแรงจูงใจเข้าอบรมเพราะต้องการได้ประโยชน์ที่แท้จริงจากการเข้าอบรมนอกจากการพักลดโทษเท่านั้น - สามารถติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ต้องขังที่ปล่อยแบบไม่มีเงื่อนไขได้ The Development of Pre-Release Programs The criminal justice system is inundated with drug offenders, and this has entangled the justice administration of the country throughout the system. Prisons are especially overburdened by the problem of prison overcrowding, but prisons cannot keep all inmates incarcerated for life. There must come a day when the inmates are released back into society. A majority of these inmates are drug offenders, and they amount to over 70 percent of the correctional population. The recidivism rate for drug offenders is the highest at 62.64 percent and 73.13 percent of those released from prisons and juvenile observation and protection centers, respectively. The high recidivism rate reflects that despite the continuous efforts of associated institutions to develop the pre-release program, there remains limitations, problems, and obstacles with the tools that prevents its success. Therefore, research to develop tools that addresses the remaining limitations, problems, and obstacles will aid in the successful preparation of prisoners for release and prevent repeat offense. This will benefit prisons by easing the load on management. It will benefit inmates in terms of both their adjustment while in prison serving their sentence and their adjustment upon their re-entry to society after their sentence. It will also benefit the community and the society as a whole by returning rehabilitated individuals and preventing repeat offense. The objectives of this research are to survey the pre-release program that the Department of Corrections is currently utilizing and study its limitations, problems, and obstacles in order to design and develop the pre-release program that enables prisoners to readjust to their new lives in society upon release and prevents recidivism. This research uses qualitative methods including interviews and focus groups. The target population consists of 689 people including administrators, practitioners, inmates, and entrepreneurs. The study finds that there are many problems and obstacles affecting the success of the program at the policy level, the administration level, and stemming from the program itself. Therefore, the development of the pre-release program has been designed by giving considerations to the problems and obstacles found, theories, and exemplary pre-release programs from the United States of America and Singapore. The new program is designed as a series of programs, and each level has multiple programs ordered by level of difficulty. In addition, the programs are organized in 3 phases. They are modular, systematic, and incorporates a half-way house to seamlessly link the in care phase with the aftercare phase. With this design, the new pre-release program is comprehensive, enables systematic implementation of training and programs, and increases support for the aftercare phase. As a result, the new program provides many benefits including those presented below. The benefits of this research includes - Separating the correction program from the program for punishment. This prevents confusion between the two. - Reducing the disjointedness of programs because it eliminates overlap in content that is often repeated in basic programs. - Organizing programs by level of difficulty making low-level programs theory-based and high-level programs practice-based. This reduces the redundancy of theory-based training in programs. - Emphasizing a design for the problems and needs of the inmates above a design based on the experience and expertise of administrators - Varying the number of programs according to the number of problems and needs of the prisoners rather than the limitations of the prison - Being better able to limit the number of inmates in training programs because there are several steps and levels available - Seamless through care - Reducing necessary paperwork for the release of inmates in special cases - m\Motivating correctional officers to apply voluntarily and motivates inmates to be interested in participating because it creates real value in addition to reducing their sentence - Being able to monitor and support inmates after unconditional releaseth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยth
dc.subjectผู้ต้องขังth
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมth
dc.titleวิจัยการพัฒนาเครื่องมือเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยth
dc.title.alternativeThe Development of the Pre-Release Programsth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานกิจการยุติธรรมth
cerif.cfProj-cfProjId2563A00025th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานกิจการยุติธรรม
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleวิจัยการพัฒนาเครื่องมือเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record