Show simple item record

dc.contributor.authorอัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์th
dc.date.accessioned2021-01-18T08:25:08Z
dc.date.available2021-01-18T08:25:08Z
dc.date.issued2564-01-18
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/966
dc.description.abstractการประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,100 คน โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกเป็นประชากรก่อนวัยสูงอายุ (อายุ 12 - 59 ปี) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ เยาวชนและประชาชนทั่วไป อายุ 12 - 49 ปี จำนวน 331 คน และประชาชนทั่วไป อายุ 50 - 59 ปี จำนวน 529 คน ส่วนกลุ่มที่สองเป็นประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จำนวน 240 คน ประสิทธิผลของโครงการประชาสัมพันธ์การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ดังกล่าวนี้จะถูกประเมินจาก 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการรับรู้ในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย 2) ด้านความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย 3) ด้านความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และ 4) ด้านการนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการรับรู้ในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยได้ร้อยละ 72.0 (จากเกณฑ์ที่ร้อยละ 71) ด้านความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยได้ร้อยละ 75.1 (จากเกณฑ์ที่ร้อยละ 69) ด้านความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยได้ร้อยละ 72.4 (จากเกณฑ์ที่ร้อยละ 67) และด้านการนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ร้อยละ 73.9 (จากเกณฑ์ที่ร้อยละ 65) การรับรู้ในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย พบว่า ประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายรับรู้สูงที่สุด คือ การรณรงค์ให้ประชาชนมีพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพทุกช่วงวัย เพื่อความแข็งแรงอย่างยั่งยืน ส่วนประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายรับรู้ต่ำที่สุด คือ กองทุนการออมแห่งชาติเพื่อเป็นหลักประกันเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย พบว่า ประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายเข้าใจสูงที่สุด คือ คนทุกวัยควรดูแลรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันก่อนเกิดโรค ส่วนประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายเข้าใจต่ำที่สุด คือ สภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุควรมีความปลอดภัยทางกายภาพและสามารถเข้าถึงได้ง่ายความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย พบว่า กลุ่มเป้าหมายเชื่อมั่นว่า ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวนั้นมีความถูกต้องสูงที่สุด รองลงมา คือ เชื่อมั่นว่ามีความเป็นกลาง และเชื่อมั่นว่า มีความรวดเร็ว ตามลำดับการนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน พบว่า ประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายนำไปใช้ประโยชน์สูงที่สุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ ส่วนประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายนำไปใช้ประโยชน์ต่ำที่สุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการออมเงิน The Evaluation of Publicity Program on Preparation for Aging Society FY 2020 is a survey research, using the questionnaire to collect data from 1,100 target samples. The samples consist of two main groups. The first group comprises pre-aging population (12-59 years old), and this group is divided further in two sub-groups of youth and the general public aged 12-49 years (331 samples) on the one hand and the general public aged 50-59 years (529 samples) on the other. The second group consists of the aging population aged 60 and above (240 samples). The efficiency of the program is evaluated on four aspects: 1) exposure to information on preparation for aging society, 2) understanding of information on preparation for aging society, 3) confidence in information on preparation for aging society, and 4) utilization of information on preparation for aging society in daily life. The finding reveals that the program has satisfied the criteria in all four aspects: with exposure to information on preparation for aging society accounting for 72.0% (compared to the set criterion of 71%), understanding of information on preparation for aging society accounting for 75.1% (compared to the set criterion of 69%), confidence in information on preparation for aging society accounting for 72.4% (compared to the set criterion of 67%), and utilization of information on preparation for aging society in daily life accounting for 73.9% (compared to the set criterion of 65%). With regard to exposure to information on preparation for aging society, it is found that the issue that the target groups are most exposed to is the campaign for the general public to have proper healthcare behavior at every stage of life for sustainable health, while the issue that the target groups are least exposed to is the National Savings Fund for security when entering old age. With regard to understanding of information on preparation for aging society, it is found that the issue that the target groups understand the most is that people at every stage of life should exercise preventive health care before the onset of disease, while the issue that the target groups show the least understanding is that the environment and amenities for older people should be physically safe and easily accessible. With regard to confidence in information on preparation for aging society, it is found that the target groups have the most confidence in the accuracy of the information, followed by confidence in its objectivity and speed respectively. With regard to utilization of information on preparation for aging society in daily life, it is found that the issue that the target groups make the most use of is health care, while the issue that they least utilize is about savings.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectการประเมินผลโครงการth
dc.subjectการประชาสัมพันธ์th
dc.subjectสังคมสูงวัยth
dc.titleการประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563th
dc.title.alternativeEvaluation of Public Relations Programs for Aging Society Preparedness of Fiscal Year 2020th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมประชาสัมพันธ์th
cerif.cfProj-cfProjId2563A00474th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientกรมประชาสัมพันธ์
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleการประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record