Show simple item record

dc.contributor.authorรณรงค์ จันใดth
dc.date.accessioned2021-01-05T02:33:22Z
dc.date.available2021-01-05T02:33:22Z
dc.date.issued2564-01-05
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/961
dc.description.abstractโครงการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม ด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวอย่างสภาวัฒนธรรมและข้อเสนอเชิงนโยบายและการนำไปสู่การปฏิบัติในการพัฒนาหรือปรับปรุงการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัด และพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม ด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 รวมทั้งการประเมินการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรม และการนำนโยบายไปขับเคลื่อนในพื้นที่ รวมถึงปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ อันจะนำไปสู่ปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม ให้มีความเข้มแข็ง และบริหารจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขอบเขตด้านเนื้อหาในการศึกษาความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 กับพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509 และปัญหา อุปสรรค ของการดำเนินงานเกี่ยวกับสภาวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และศึกษาแนวทาง/วิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและดำเนินการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม ด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และดำเนินการจัดประชุมเสวนาวิชาการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม ด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓” จำนวน 8 ครั้ง ในพื้นที่ 8 จังหวัดได้แก่ จังหวัดน่าน จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดพัทลุง จังหวัดกระบี่ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและการศึกษาเชิงปริมาณ โดยมีการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ การจัดเวทีสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสำรวจการรับรู้จากผู้เข้าร่วมการประชุม โดยในแต่ละเวทีมีภาคีเครือข่ายภาคเอกชน ภาคราชการ และภาคประชาชนเข้าร่วมเวทีละ 30 คน รวมทั้งหมด 280 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประมาณใช้สถิติเชิงพรรณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า สภาวัฒนธรรมวัฒนธรรม ประกอบด้วย สภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สภาวัฒนธรรมจังหวัด จังหวัดละ 1 แห่ง สภาวัฒนธรรมอำเภอ อำเภอละ 1 คน และสภาวัฒนธรรมตำบล ตำบลละ 1 แห่ง โดยให้สภาวัฒนธรรม มีสถานภาพเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ดำเนินงานวัฒนธรรมภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม อันประกอบด้วย กรรมการและ สมาชิกที่มาจากผู้แทนองค์กรที่ดำเนินงานวัฒนธรรมหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรม เช่น เครือข่ายภาครัฐ เครือข่ายภาคเอกชน เครือข่ายภาคชุมชน เครือข่ายภาคธุรกิจเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และเครือข่าย ภาควิชาการ สภาวัฒนธรรมมีหน้าที่เสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทวัฒนธรรมของชาติ เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์และ แนวคิดในการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม ระดมทรัพยากร บุคลากร และสรรพกำลังต่าง ๆ จาก หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เพื่อการดำเนินงานวัฒนธรรม ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมจัดกิจกรรมขององค์กรภาคี และเครือข่ายวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูพัฒนา สร้างสรรค์แลกเปลี่ยน สืบทอดและเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมและผลการดำเนินงานขององค์กรภาคีและเครือข่ายวัฒนธรรม ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับ “หอการค้า” ตามพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509 พบว่า หอการค้าจังหวัดจะจัดตั้งขึ้นได้จังหวัดละหนึ่งหอการค้า โดยหอการค้าจังหวัดในกรุงเทพมหานครให้เรียกว่าหอการค้าไทย หอการค้าต่างประเทศจะจัดตั้งขึ้นได้เพียงประเทศละหนึ่งหอการค้า ซึ่งแตกต่างจากสภาวัฒนธรรมที่มีการขับเคลื่อนทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ ทั้งนี้หอการค้าถือเป็นสถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า การบริการ การประกอบวิชาชีพอิสระ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ จึงเป็นการรวมกลุ่มเครือข่ายแบบเฉพาะกลุ่มในขณะที่ สภาวัฒนธรรมเป็นการดำเนินการเพื่อมุ่งประโยชน์ในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติและประสานการดำเนินงานวัฒนธรรมซึ่งต้องอาศัยภาคประชาสังคมและประชาชนมีส่วนร่วมเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผลการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการประชุมเสวนาวิชาการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม ด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 โดยการระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างเครือข่าย ผู้แทนกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พบว่า หลักสูตรมีจำนวน 6 ชั่วโมง (1 วัน) ประกอบด้วย วิชานโยบายการดำเนินงานวัฒนธรรม/ที่มาและความสำคัญของสภาวัฒนธรรมต่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมในพื้นที่ จำนวน 1.30 ชั่วโมง วิชาการนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน จำนวน 1.30 ชั่วโมง วิชาแนวทางการบริหารจัดการองค์กรที่ประสบความสำเร็จและเข้มแข็งด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน วิชา 2 ชั่วโมง กิจกรรมเสริมสร้างสัมพันธภาพและพลังเครือข่ายจำนวน 30 นาที กิจกรรมสรุปและประเมินผล จำนวน 30 นาที จากประเมินผลความรู้ความเข้าใจ รายบุคคลตามระดับค่าคะแนนแล้ว พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในระดับมาก 273 คน (ร้อยละ 97.50) และมีความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง 7 คน (ร้อยละ 2.50) โดยไม่มีผู้เข้าอบรมที่มีความรู้ความเข้าใจในระดับน้อย และพบว่า ความเห็นต่อการเข้าร่วมงานเป็นเครือข่ายวัฒนธรรมกับสภาวัฒนธรรม พบว่า ผู้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ ยินดีร่วมเป็นเครือข่าย 196 คน (ร้อยละ 70.00) นอกจากนี้ พบว่า สภาวัฒนธรรมเข้มแข็ง จะต้องหาวิธีการในการให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลวัฒนธรรม ให้ประชาชนมาช่วยกันรักษาสืบสานวัฒนธรรม โดยได้มีการศึกษาทบทวนแผนแม่บทของชาติ แผนแม่บทของกระทรวงวัฒนธรรม กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจุดเน้นหรือความต้องการในการขับเคลื่อนงานของจังหวัด จากนั้นทำการวิเคราะห์ภาพรวมและกำหนดประเด็นหรือจุดเน้นในการขับเคลื่อนงาน สำหรับการขับเคลื่อนงานต้องหลอมรวมแนวคิดให้ระเบิดมาจากข้าง รวมพละกำลังจากเครือข่ายสภาวัฒนธรรม ร่วมวางแผนและกำหนดทิศทางการดำเนินงาน จัดตามลำดับความสำคัญจากนั้นวิเคราะห์สถานการณ์ ปัจจัยที่เอื้อ ปัจจัยส่งเสริม จากนั้นกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ของสภาวัฒนธรรมจังหวัด โดยความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมการทำงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัด แบ่งการทำงานออกเป็นส่วน ๆ เริ่มตั้งแต่ “ระบบที่ปรึกษา” ที่จะคอยให้คำแนะนำส่งเสริมสนับสนุน และร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ให้เป็นเครือข่าย และเป็นที่ปรึกษาทางการวิชาการ รวมส่งเสริมให้ภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า รวมถึงบริษัทห้างร้านต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทด้านการระดมทุนในพื้นที่เพื่อการขับเคลื่อนงานของสภาวัฒนธรรม รวมทั้งยกย่องเชิดชูปราชญ์ชาวบ้าน ให้มีความสำคัญในการฟื้นฟู สืบสาน และอนุรักษ์ภูมิปัญญา ประเพณีและวัฒนธรรมในพื้นที่ สำหรับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ต้องมีการทำงานแบบร่วมด้วยช่วยกันแบบพึ่งพากันกับสภาวัฒนธรรม ข้อเสนอเชิงนโยบายและการนำไปสู่การปฏิบัติในการพัฒนาหรือปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการสภาวัฒนธรรม ควรปรับปรุงโครงสร้างของสภาวัฒนธรรมให้มีสภาวัฒนธรรมภาค เพื่อให้ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีโอกาสในการที่จะนำเสนอวัฒนธรรมในพื้นที่ใกล้เคียงร่วมกัน ควรมีการสร้างเครือข่ายและสร้างองค์ความรู้ให้กับเยาวชนเพื่อต่อยอดและพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง The objectives of Cultural Council Committee Structure Development With Local Network Participation Project under the National Culture Act B.E. 2553 (2010) are: to build a sample cultural council and propose an applicable policy to be developed or improved the operations of provincial cultural councils; develop courses on cultural council committee structure development with local network participation under the National Culture Act B.E. 2553 (2010); evaluate the acknowledgement and understanding of the culture’s council operations, the application of the policy on a local level, and factors that lead to the success of the operations with local network participation that subsequently leads to the improvement of the cultural council committee structure to be strengthened and effectively self-manage. The scope on the content on the differences between National Culture Act B.E. 2553 (2010) and Chambers of Commerce Act B.E. 2509 (1966) and issues and obstacles in the operations of cultural council under the National Culture Act B.E. 2553 (2010), and study the guidelines/methods on building network participation and produce courses on cultural council committee structure development with local network participation under the National Culture Act B.E. 2553 (2010). Furthermore, a seminar should be held to publicize and transfer knowledge on cultural council committee structure development with local network participation under the National Culture Act B.E. 2553 (2010) for 8 times in 8 provinces including Nan, Pitsanulok, Nakhon Ratchasima, Srisaket, Bangkok, Chonburi, Phatthalung, Krabi. This research is both a qualitative and quantitative research conducted on the studies on documents, formal interviews, setting up seminars with honorable figures, workshop, and surveying the awareness from participants. Each stage will have a private, public and people sectors of 30 representatives per stage, 280 representatives in total. Quantitative analysis uses descriptive statistics and qualitative analysis uses content analysis. Research results found that cultural council committee comprises of Thailand Cultural Council, provincial cultural council, 1 province each, district cultural council, 1 district each, and sub-district cultural council, 1 sub-district each. The cultural council holds the status of a private organization that operate cultural works under the supervision of Department of Cultural Promotion. It comprises of committee members and members from representatives of organizations that operate cultural works or relevant agencies that are within the cultural network such as public sector network, private sector network, community sector network, business sector network, local experts and academic sector network. The Cultural Council is responsible for proposing opinions or suggestions to the committee regarding using the National Culture policy and model scheme as the core for exchanging experiences and knowledge and guideline on cultural works. It is done through cultural networking process, accumulating resources, personnel and workforces from agencies and organizations to operation cultural works, promote, support and participate in the activities of party organizations and cultural network to culturally preserve, develop, create, exchange, inherit and monitor, publicize activities and operational outcomes of party organizations and cultural network. When comparing with “chambers of commerce” under the Chambers of Commerce Act B.E. 2509 (1966), it is found that provincial chambers of commerce can be established one office per province. The provincial chambers of commerce in Bangkok shall be called Thai Chambers of Commerce. The international chambers of commerce can be established one chamber per country. This is different from cultural council that operates at sub-district and district level. Chambers of commerce is considered an institute established to promote trading, services, freelancing, industry, agriculture, finance or economy. As such, it is a specific networking unlike cultural council that operates with the aim to preserve or rehabilitate traditions, local wisdom, local and national arts and cultures, and coordinate cultural works which rely on the participation of civil society and the people. As for the outcome of the development the courses on workshops, academic seminars, on the publication and transfer of knowledge on cultural council committee structure development with local network participation under the National Culture Act B.E. 2553 (2010) through brainstorming from cultural experts, experts on participation promotion and network reinforcement, representatives from Department of Cultural Promotion, it is found that the course is 6 hours (1 day) long comprises of subject on policy on cultural operations/background and importance of cultural council towards the preservation of local culture (1 hour 30 minutes); subject on creating local income from cultural capital (1 hour 30 minutes); subject on organization administration that achieve sustainable success and self-reliant (2 hours); activities that reinforce the relationship and power of the network (30 minutes); summary activity and evaluation (30 minutes). From the evaluation on the individual understanding based on a given rating scale, it is found that 273 participants (97.50 percent) have high level of understanding and 7 participants (2.50 percent) have moderate level of understanding. There is no participant who has little understanding. It is also found that for the opinions toward joining the cultural network with cultural council 196 workshop participants gladly participate as a network (70.00 percent). Furthermore, it is found that strong cultural council must seek a method to enable local people to participate in the nurturing and preserving culture. There has been a revision on the national model scheme, Ministry of Culture model scheme, relevant laws as well as main emphasis or the need to drive forward provincial works. A subsequent overall analysis has been conducted to determine the focus points or main emphasis in driving forward works. To drive forward works, concepts need to be integrated to enable implosion and integrate forces from culture networks. Collective planning, direction setting on the operations, prioritization, situational analysis, contributing and supporting factors are required. Then a vision for provincial cultural council must be set by collaborating with different sectors to drive forward its culture-related works. The responsibility is divided into sections starting from “advisory system” that will provide suggestions, support and promotion and work together as a network with local universities and provide academic advice. Private sectors including industrial federation, board of trade, companies and shops are to take part in accumulating fund in local areas to drive forward cultural council works. They are to recognize village experts and emphasize their importance in rehabilitating, inheriting and preserving local wisdom, culture and tradition. Provincial culture office must work in tandem and collaboratively with cultural council. As part of the policy proposal and application on the development or improvement of cultural council committee structure, there should be a regional cultural council to allow for exchanging and learning of ideas and enable collective sharing of local culture in surrounding areas. There should be a networking and providing knowledge to youth to progress and develop culture-based products in the long run.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectโครงสร้างคณะกรรมการบริหารth
dc.subjectพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553th
dc.subjectกรมส่งเสริมวัฒนธรรมth
dc.titleพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553th
dc.title.alternativeProject on Cultural Council Executive Structure Development through Local Network Collaboration under the National Cultural Act 2010th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมส่งเสริมวัฒนธรรมth
cerif.cfProj-cfProjId2563A00332th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)th
turac.contributor.clientกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record