Show simple item record

dc.contributor.authorธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชาth
dc.date.accessioned2020-12-08T08:07:16Z
dc.date.available2020-12-08T08:07:16Z
dc.date.issued2563-12-08
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/945
dc.descriptionรายงานฉบับสมบูรณ์สามารถสืบค้นได้ทาง www.dla.go.th เมนู "หนังสืออิเล็กทรอนิกส์" ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นth
dc.description.abstractการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment: LPA) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพภาคบังคับที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งต้องได้รับการประเมินเป็นประจำทุกปีไม่ใช่โครงการประกวดเพื่อรับรางวัล จึงทำให้ LPA เป็นการประเมินประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่มีความต่อเนื่อง สามารถสะท้อนจุดอ่อนในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง อันจะทำให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนและส่งเสริมได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที โดยเกณฑ์ LPA มี 5 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านบริหารงานบุคคลและกิจการสภา 3) ด้านบริหารงานการเงินและการคลัง 4) ด้านการบริการสาธารณะ และ 5) ด้านธรรมาภิบาล ในปีพ.ศ. 2562 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลการประเมินในภาพรวม “ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ” หรือมีผลการประเมินในภาพรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 มีจำนวน 7,662 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 98.90 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดที่ได้รับการประเมิน สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่ร้อยละ 60 มีจำนวน 189 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.10 หากพิจารณาจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลการประเมินรวมตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปตามวิสัยทัศน์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พบว่า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7,529 แห่งที่มีผลคะแนนผ่านเกณฑ์ที่ร้อยละ 70 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 95.90 ในขณะที่องค์กรปกครองส ่วนท้องถิ่นที่ไม่ผ่านเกณฑ์มีจำนวน 322 แห่งคิดเป็นร้อยละ 4.10 เมื่อคำนวณค่าเฉลี่ยผลการประเมินในภาพรวมของทั้งประเทศ พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 77.95 และหากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านที่ 2 การบริหารงานบุคคลและกิจการสภา (ร้อยละ 88.75) รองลงมาคือ ด้านธรรมาภิบาล (ร้อยละ 83.73) ด้านการบริหารจัดการ (ร้อยละ 82.40) ด้านที่ 4 การบริการสาธารณะ (ร้อยละ 74.03) และด้านการบริหารงานการเงินและการคลัง (ร้อยละ 70.43) ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือตัวชี้วัดส่วนใหญ่เป็นตัวชี้วัดกระบวนการ (Process Indicator) ไม่ใช่ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome Indicator) หรือตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์(Result Indicator) จากการวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวชี้วัด LPA กับแผนแม่บทตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ พบว่า ตัวชี้วัด LPA ยังไม่ครอบคลุมประเด็นสำคัญหลายประเด็น นอกจากนี้พบว่า ตัวชี้วัดด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภายังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการบ่มเพาะ พัฒนา และปลูกฝังค่านิยมที่ดีตามหลักการแห่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขให้แก่นักการเมืองท้องถิ่น ประการสำคัญ คือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรพิจารณายกระดับการประเมิน LPA ให้สอดคล้องกับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) โดยเฉพาะการพัฒนาตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการให้เชื่อมโยงกับด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภาและด้านการบริการสาธารณะให้ชัดเจนมากขึ้นนอกจากนี้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบผลการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนเองได้ตลอดเวลา Annually, Thailand’s Department of Local Administration assesses local administrative organizations’ performances using a set of indicators designed to evaluate the quality of local public services, organizational management, financial health, and governance and integrity. This so-called “Local Performance Assessment (LPA)” is a mandatory evaluation process for local government authorities in Thailand. As such, LPA can provide a large database of how well local governments manage their internal organizations, financial resources, and public services. Also, weaknesses and suggestions for improvement in the following fiscal year are presented to the local government officials after the assessment. In 2019, 7,662 local administrative organizations or 98.90 percent of all local administrative organizations in Thailand met the Ministry of Interior’s threshold of 60 points. When evaluated against the Department of Local Administration’s threshold of 70 points, 7,592 local administrative organizations or 95.90 percent of all local administrative organizations in the country passed. Based on this nationwide assessment of local government performances, the average performance score was 77.95. The personnel management and legislative procedures dimension received the highest average points of 88.75, followed by the governance and integrity dimension (83.73), organizational management (82.40), public service quality (74.03), and financial and fiscal management (70.43). It was found that most of the indicators used in this assessment were process-oriented indicators, which obscured the outcomes and results of local government efforts. Also, it was unclear how these indicators address the local governments’ effectiveness in executing the national strategic plan and reform agenda, and in preparing local politicians for the local legislative and executive responsibilities. The Department of Local Administration should consider improving its conceptual framework, indicators, and methodology used in the Local Performance Assessment (LPA) system by embracing the Thailand Quality Award (TQA) criteria. The organizational management indicators should be more clearly linked to indicators for personnel management, legislative procedures, and public service delivery. To this end, the department should consider using digital technology and data analytics to enable direct citizen participation in the local governments’ performance assessment process.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectการประเมินประสิทธิภาพth
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth
dc.subjectการบริหารจัดการth
dc.subjectการบริหารงานบุคคลth
dc.subjectการบริการสาธารณะth
dc.subjectการบริหารงานการเงินและการคลังth
dc.subjectธรรมาภิบาลท้องถิ่นth
dc.subjectPerformance Assessmentth
dc.subjectLocal Administrative Organizationth
dc.subjectOrganizational Managementth
dc.subjectPersonnel Managementth
dc.subjectPublic Service Deliveryth
dc.subjectFinancial and Fiscal Managementth
dc.subjectLocal Governanceth
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์ผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA)th
dc.title.alternativeLocal Performance Assessment : LPAth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00896th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการศึกษาวิเคราะห์ผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA)th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record