Show simple item record

dc.contributor.authorธีรยุทธ โหรานนท์th
dc.date.accessioned2020-07-03T07:29:18Z
dc.date.available2020-07-03T07:29:18Z
dc.date.issued2563-07-03
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/859
dc.description.abstractจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประกอบการ e-Commerce พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการยกระดับ ศักยภาพในการค้าออนไลน์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันและส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศและนำไปสู่เป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นองค์ประกอบในการขับเคลื่อนประเทศไทย ให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการในการรับมือกับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเข้าสู่ สังคมออนไลน์แห่งโลกอนาคต ทั้งนี้ e-Commerce จึงเป็นตัวการหลักที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของ ประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย การดำเนินการนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการ จาก 11 โครงการ ได้แก่ SMEs go Online All user, shop_TEM, Thai e market, Thailand Mega sale, SMEsGoOnline-1, Lazada_Shopee, Weloveshopping_PCHome, Lazada_LnwShop, การตลาดออนไลน์_นครศรี Probiz, เคล็ดลับการใช้ Social Media เพิ่มยอดขายในยุค 4.0, และ รู้ก่อน รวยก่อน เทคนิคการขายหลายช่องทางกับระบบ e-Commerce นำมาวิเคราะห์ในมุมมองและมิติต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการต่อยอดความสำเร็จให้แก่การประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการต่อไป ด้วยการวิเคราะห์ผลและเทคโนโลยีที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจาก 11 โครงการพบว่า มีข้อมูลจาก 3 โครงการ ที่ไม่สามารถแสดงบนแผนที่ได้ โดยข้อมูลที่สามารถแสดงบนแผนที่ระบุว่า ร้อยละ 99 เป็นผู้ประกอบการแบบบุคคลธรรมดา และส่วนใหญ่สูงถึงร้อยละ 49 ใช้ช่องทางการขายโดยผ่าน Email แต่อย่างไรก็ตามยังมีการไม่ระบุข้อมูลในบางจุด เช่น ประเภทของสินค้า ไม่ระบุประเภท สูงถึงร้อยละ 62 โดยรายละเอียดได้แสดงไว้ในเอกสารการนำเสนอผลการวิเคราะห์ทั้งหมด ทั้งนี้การนำเสนอผลการวิเคราะห์สามารถแสดงอย่างชัดเจนใน 7 รูปแบบ ได้แก่ Product type, Communication channel, Business level group, Details, Chart, Product info, และ Product price นอกจากนี้ ที่ปรึกษาได้แนะนำการออกแบบโครงสร้างข้อมูล 3 ด้านหลักดังนี้ ด้านประวัติผู้ประกอบการ ด้านรายละเอียดร้านค้า และ ด้านการช่วยเหลือ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการสูงสุด และสามารถยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการ e-Commerce ไทยต่อไป The study and analysis of e-commerce entrepreneurs information including the potential guidance for leveraging the online commercialization has a purpose to push and promote electronic transactions including electronic commerce or e-Commerce for increasing the competitiveness of our country and lead to be in the technology and innovation era that is a today driving force in Thailand. Conforming to Thailand 4.0 policy and the National Economic and Social Development Plan No.12 (BE 2560-2564), the aim is to improve the quality of citizen’s life especially, the entrepreneurs’ preparation to cope with Digital Technology E-commerce. This is the key to drive Thailand digital economy. The target group of this study is the entrepreneurs. This study is a gathering of entrepreneurs’ information from 11 projects that are SMEs go Online All users, shop_TEM, Thai e market, Thailand Mega sale, SMEsGoOnline-1, Lazada_Shopee, Weloveshopping_PCHome, Lazada_LnwShop, Online marketing _ Nakorn Sri Probiz, Tips for Social Media usage to increase the sales rate in the 4.0 era, and Know before the rich: multi-channel sales techniques with e-Commerce system. And analyzing the information in various views and dimensions for the benefits of entrepreneurs in the success of their businesses. By analyzing the results and the technology used to analyze data from 11 projects, we found that there were 3 projects that could not be displayed on the map. The information that can be displayed on the map indicates that 99% of the entrepreneurs are individual type and 49% of the entrepreneurs used the E-mail channel for sales. However, data is not available at certain points such as product type that not specified type up to 62%. Details are shown in a part of the results of the analysis in the report. The analysis can be clearly described in 7 formats: Product type, Communication channel, Business level group, Details, Chart, Product information, and Product price. Moreover, the project advisor suggests that entrepreneurs should design the data structure in 3 parts to make the information clearly and completely. The 3 main parts are entrepreneur history, shop details, and supporting areas. All of the results is the maximum benefit to enhance the ability of Thai E-Commerce entrepreneurs.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjecte-Commerceth
dc.subjectผู้ประกอบการth
dc.subjectการค้าออนไลน์th
dc.subjectสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)th
dc.titleศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประกอบการ e-Commerce พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการยกระดับศักยภาพในการค้าออนไลน์th
dc.title.alternativeA Study on e-commerce operators data to provide recommendations on how to improve online tradingth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2560A00641th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology sector : ICT)th
turac.contributor.clientสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประกอบการ e-Commerce พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการยกระดับศักยภาพในการค้าออนไลน์th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record