Show simple item record

dc.contributor.authorเกียรติอนันต์ ล้วนแก้วth
dc.date.accessioned2020-06-19T09:16:45Z
dc.date.available2020-06-19T09:16:45Z
dc.date.issued2563-06-19
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/840
dc.description.abstractการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ผู้ให้บริการและเครือข่ายองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2562 คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ประชาชน จำนวน 3,270 ครัวเรือน ประชากรตัวอย่าง 7,558 คน 2) ผู้ให้บริการ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 5,855 คน 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4,150 แห่ง จำนวน 5,960 คน และ 4) เครือข่ายองค์กรภาคี จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 408 คน ผลการศึกษาพบว่า จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คะแนนความพึงพอใจของประชาชน เท่ากับ 8.98 คะแนน1 ผู้ให้บริการ คะแนนความพึงพอใจ เท่ากับ 6.73 คะแนน2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คะแนนความพึงพอใจ เท่ากับ 8.01 คะแนน3 และเครือข่ายองค์กรภาคี คะแนนความพึงพอใจ เท่ากับ 8.78 คะแนน สำหรับข้อเสนอแนะจากการศึกษา สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ข้อเสนอสำหรับกลุ่มประชาชน กลุ่มผู้ให้บริการ กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคี โดยมีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มประชาชน 1) การสร้างการรับรู้ด้านสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิรับรู้ รับทราบและมีความเข้าใจ ผ่านช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย อาทิ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หอกระจายข่าว สื่อบุคคล สำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป สำหรับกลุ่มประชาชนวัยทำงาน นักเรียนนักศึกษา ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ เฟสบุ๊ก ไลน์ หรือผ่านการเรียนในสถานศึกษา อาทิ การให้ข้อมูลในเนื้อหาการเรียน การจัดกิจกรรม 2) การสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพการบริการ มาตรฐานการรักษาพยาบาล ความสะดวกในการรับบริการ เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและเกิดความมั่นใจในการรักษาพยาบาล อาทิ คุณภาพยา การวินิจฉัยโรค มาตรฐานการรักษาพยาบาลระหว่างสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับสิทธิอื่น และสร้างความสะดวกในการใช้บริการ กลุ่มผู้ให้บริการ: 1) พัฒนากระบวนการจัดการด้านงบประมาณ เกณฑ์การจ่ายงบประมาณที่มีความเหมาะสม เป็นธรรม คำนึงถึงความแตกต่างของพื้นที่ และมีความชัดเจนของนโยบาย หลักเกณฑ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ที่มีความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน และมีการสื่อสารข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ 2) การสร้างการรับรู้และความเข้าใจระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ด้านสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลักเกณฑ์ขั้นตอนการใช้บริการ ที่มีความเข้าใจตรงกัน ผ่านการประชาสัมพันธ์ในหน่วยบริการ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ ผ่าน Mobile Application จุดประชาสัมพันธ์ผ่านหน้าจอแสดงผล และสื่อบุคคล กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 1) พัฒนากระบวนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในท้องถิ่นหรือพื้นที่ กองทุน Long Term Care (LTC) ระหว่าง อปท. และ สปสช. ในประเด็นระเบียบการ ขั้นตอน หลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่เหมาะสม เอื้อต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน 2) ส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในท้องถิ่นหรือพื้นที่ ของหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งในส่วนของ อปท. หน่วยบริการ หน่วยงานสาธารณสุข ภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เสนอแนะแนวทางการบริหารกองทุนฯ ที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เครือข่ายองค์กรภาคี: 1) ส่งเสริมกระบวนการทำงานระหว่าง เครือข่ายองค์กรภาคี และ สปสช. ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เสนอแนะแนวทางการทำงานในด้านที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น อาทิ สิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จำเป็นและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในเครือข่ายองค์กรภาคี 2) ส่งเสริมกระบวนการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร สิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผ่านเครือข่ายองค์กรภาคี สู่กลุ่มประชาชนให้มากยิ่งขึ้น โดยใช้รูปแบบการประชาสัมพันธ์หรือกิจกรรม อาทิ สื่อบุคคล ผ่านเจ้าหน้าที่ การจัดกิจกรรมอบรมสัมมนา การสร้างเครือข่ายเยาวชน ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ This study surveyed four stakeholders of the National Health Security Office (NHSO) on their satisfactions of the NHSO service provision. Total of 3,270 household, comprising of 7,558 respondents who are UC holders, were surveyed; 5,855 healthcare service personnels were surveyed; 4,150 presentatives of sub district administrative organization were surveyed; and 408 representatives of partner organizations were surveyed. It was found that, from scale of 1 to 10, satisfactions of UC holders was around 8.98; 6.73 for healthcare service personnels; 8.01 for sub district administrative organization; and 8.78 for partner organizations. Key policy recommendations from this study are as follows: 1. Improve communication with UC holders using appropriate media for different groups of audiences. For example, printed media, radio and TV for adults and elderly; social medias for teenagers and young adults. 2. Increase confidence of the UC holders on the quality of health care service provided. 3. Improve budget allocation mechanisms fit in with the needs of local contexts. 4. Improve the process of budget allocation and collaboration for the long-term care at local level. Provide opportunities for stakeholders to provide opinions and jointly make decisions of such decisions will affect the stakeholders.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth
dc.subjectสำรวจความคิดเห็นth
dc.subjectความคิดเห็นของประชาชนth
dc.titleสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ผู้ให้บริการ และองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2562th
dc.title.alternativeNHSO Poll 2019th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00198th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ผู้ให้บริการ และองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2562th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record