Show simple item record

dc.contributor.authorทรงชัย ทองปานth
dc.date.accessioned2020-05-20T09:00:51Z
dc.date.available2020-05-20T09:00:51Z
dc.date.issued2020-05-20
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/799
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง “โครงการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562” มีวัตถุประสงค์ ๕ ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง (2) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับบทบาท โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และเขตอำนาจศาล รวมทั้งการดำเนินงานในมิติต่าง ๆ ของศาลปกครอง (3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ที่เคยใช้บริการศาลปกครอง (4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความคาดหวังของนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวแทนเจ้าหน้าที่ภาครัฐ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม กลุ่มผู้นำเอกชนหรือภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ต่อการดำเนินงานของศาลปกครอง และ (5) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานของศาลปกครอง โดยใช้วิธีการสำรวจเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม การสำรวจเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครองและการอำนวยความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากขึ้นไป โดยประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง ซึ่งผู้ที่เคยรับบริการมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการศาลปกครองอยู่ในระดับมากขึ้นไป โดยนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวแทนเจ้าหน้าที่ภาครัฐ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม กลุ่มผู้นำเอกชนหรือภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) มีความพึงพอใจเกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของศาลปกครองในปัจจุบันและภาพลักษณ์ของศาลปกครอง มีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของศาลปกครองยังมีข้อควรพัฒนาบางประการ อาทิ ประชาชนยังมีการรับรู้ รู้จักศาลปกครองน้อย คดีประเภทต่างๆ มีความหลากหลายมากขึ้น ในขณะที่กระบวนการในการทำหน้าที่ของศาลปกครองยังปรับไม่ทันกับความหลากหลายของคดี มีระยะเวลาในพิจารณาคดีนาน รวมถึงประเด็นการเกิดกรณี “ฟ้องผิดศาล” โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ควรส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมพื้นฐานให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและตรงกลุ่มเป้าหมาย ควรพัฒนากลไกในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวสารต่างๆ การปรับตัวในยุคปัจจุบันเพื่อยกระดับคุณภาพการดำเนินงาน การให้บริการแก่ประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน เป็นต้น โดยคาดหวังว่าศาลปกครองควรเป็นองค์กรที่จะช่วยพัฒนางานของภาครัฐให้ดีขึ้น และคุ้มครองให้ประชาชนได้รับการบริการจากภาครัฐ ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ (1) เน้นการประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย ปรับปรุงศูนย์บริการข้อมูลสายด่วน (Call Center) ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเทียบเท่ากับหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เน้นให้ข้อมูลที่ประชาชนสนใจ เน้นให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในประเด็นที่ กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ปรับปรุงและพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบของสื่อในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้น่าสนใจ ทันสมัย กระชับ เข้าใจง่ายและมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง สรุปเนื้อหาคำพิพากษาให้ประชาชนสามารถเข้าใจได้ง่าย (2) ควรมีการประสานความร่วมมือร่วมกันระหว่างศาลต่างๆ ในการให้ความรู้แก่ประชาชน ประสานงานกับสำนักงานคดีปกครองในพื้นที่เพื่อร่วมมือกันในการให้ความรู้เกี่ยวคดีปกครองแก่บุคลากรภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ การสร้างความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้เป็นกลไกสำคัญในการให้ความรู้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ รวมทั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนในแต่ละจังหวัดให้เป็นกลไกสำคัญในการให้ความรู้และช่วยเหลือประชาชน ประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับคดีปกครองแก่ประชาชน ศาลปกครองควรร่วมมือกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ใช้ช่องทางการให้ความรู้ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ควรนำประสบการณ์จริงในคดีปกครองมาให้ความรู้แก่ประชาชนโดยนำเสนอในลักษณะคดีตัวอย่างที่เข้าใจง่าย ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้หลักสูตรระยะสั้นให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ พัฒนาระบบทนายอาสา ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับคำวินิจฉัย หลักกฎหมายคดีปกครองจากคำวินิจฉัยของศาลปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรปรับเนื้อหาความรู้ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ควรนำคดีที่ภาครัฐเป็นผู้กระทำผิดมาพัฒนาเป็นหลักสูตรอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรภาครัฐ ควรนำคดีเด่นๆ มาเป็นตัวอย่างในการให้ความรู้ ควรมีการย่อคำพิพากษาเหมือนคำพิพากษาของศาลฎีกา การอบรมควรเป็นการอบรมในเรื่องขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดีของศาลปกครอง และควรเน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี (3) พัฒนาความเชื่อมั่นต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครองให้กับประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นที่มีผลการประเมินค่อนข้างน้อย การแก้ไขภาพลักษณ์เชิงลบที่มีต่อศาลปกครองและสร้างภาพลักษณ์ของการเป็นองค์กรที่ทำงานร่วมกับภาครัฐและ (4) ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของศาลปกครองในด้านที่ยังมีผลประเมินความพึงพอใจน้อยกว่าประเด็นอื่นๆ ปรับปรุงขั้นตอนการบริการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาระบบการติดตามความก้าวหน้าของคดี ปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลปกครอง This research work on the subject of “The survey project on the public confidence for the justice facilitation of the Administrative Court in the budget year of 2019” contains 5 objectives, they are 1) To study the confidence level of the public for the justice facilitation of the Administrative Court 2) To study the knowledge and the understanding of the public on the roles, structures, authorities and court jurisdiction as well as the operation in different dimensions of the Administrative Court 3) To study the level of satisfaction of those who had ever used the service of the Administrative Court 4) To study the opinions and expectation of the qualified academics, the group of representatives of the government officers, administrative units in the judicial process, the group of private or business leaders, Non Governmental Organizations (NGOs) for the Administrative Court’s operation and 5) To present the guidelines for the improvement and development of the Administrative Court’s operation quality by using quantitative survey method with questionnaires and the quantitative survey with deeply interview and focus group conversation. The result of the study found that: For the overall study the public’s confidence for the justice of the Administrative Court and the environmental justice facilitation are at the much level or higher. Most people know and understand correctly on the roles, duties and the justice facilitation of the Administrative Court that the people who had ever used the service of the Administrative Court were satisfied with the service quality of the Administrative Court at the much level or higher. The qualified academics, the group of representatives of Government officers, administrative units in the judicial process, the group of private or business leaders, Non-Governmental Organizations (NGOs) are satisfied with the roles, authorities of the Administrative Court as well as having confidence on the image and the performance of the Administrative Court. However, the Administrative Court’s performance is still having some problems, for examples, less people acknowledge and know about the Administrative Court while the cases are having more multifariousness and the working process of the Administrative Court can not be adjusted to meet the multifariousness of the cases, the case proceeding period is too long and the case of suing in the wrong court as some cases are meticulous that has caused the confusion. The qualified academics recommended that the promotion of knowledge and understanding relating to the law and basic justice for the public, the development of mechanism or tools in providing knowledge and understanding relating to the news and information, the adaptation of oneself in the present time to raise the level of working quality and the public services as well as the creation of confidence for the public, etc., should be thoroughly improved in corresponding to the target group. The Administrative Court is expected to be the organization that can help to develop the state affairs for the better and to protect the public in receiving the services from the state. The recommendation was given by the group of researchers as follows: 1) To focus on the public relations to conform to the group of target’s specifications; improve the information service center (Call Center) for the effectiveness and capability comparing to other administrative units such as Royal Thai Police; focus on the information interested by the public; provide the knowledge and understanding in the issues that misunderstood by the group of samples; improve and develop the contents and patterns of media in publicizing the information to be noteworthy, up-to-date, firm, easy to understand and continuous publicity; summarize the judgment for the public to be understood more easily. 2) The cooperation among different courts should be coordinated for providing knowledge to the public; coordinate with the local office of administrative cases in working together to provide the administrative case knowledge to the state personnel and local administrative organizations to develop the Office of the local administrative promotion to be the important mechanism in providing knowledge to the local administrative organizations; develop the community justice center in each province to be the important mechanism in providing knowledge and assistance to the public; cooperate with the educational institutes in providing knowledge on the administrative cases to the public. The Administrative Court should cooperate with the Office of the Auditor General of Thailand to provide knowledge to the government officials, using the opportunity in providing knowledge to enable the people living far away to get into the access of knowledge more easily, using the true experience in providing knowledge, the training to provide the short term knowledge to the public of different groups should be organized, the volunteer attorneys systems should be developed, the knowledge on the judgment of the administrative case principle of law from the Administrative Court’s decision should be provided, specially in the group of personnel of the administrative units and local administrative organization, the contents of knowledge should be adjusted to be easier to understand, the case that the administrative unit is the offender should be developed as the training course to provide knowledge to the personnel of the administrative units. The outstanding cases should be used as the examples in providing the knowledge. The court’s judgment should be shortened the same as the judgment of the supreme court. The training should be relating to the case proceedings procedures of the Administrative Court and the practice should be more emphasized than the theory. 3) To develop the confidence to the justice facilitation of the Administrative Court for the public, specially in the issue that the result of the assessment is rather low, erasing the negative image against the Administrative Court and creating the image of being the organization who can work together with the administrative units. 4) To improve the service quality of the Administrative Court in the issue that the satisfaction assessment is less than other issues, to improve other services to be more effective, to develop the progress pursuing system of the case, to improve and develop the efficiency in providing the services of the Administrative Court Officials.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectศาลปกครองth
dc.subjectความเชื่อมั่นth
dc.subjectการอำนวยความยุติธรรมth
dc.subjectAdministrative Courtth
dc.subjectConfidenceth
dc.subjectjustice facilitationth
dc.titleสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562th
dc.title.alternativeSurvey the confidence of the people in the administration of justice of the Administrative courtth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานศาลปกครองth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00835th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานศาลปกครอง
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record