แนวโน้มอุตสาหกรรมยาสูบในประเทศไทยและผลกระทบทางภาษี
by พัชรา พัชราวนิช
แนวโน้มอุตสาหกรรมยาสูบในประเทศไทยและผลกระทบทางภาษี | |
Tobacco industry trends and tax implication in Thailand | |
พัชรา พัชราวนิช | |
2020-05-14 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การกำหนดใช้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มีผลให้ราคาจำหน่ายบุหรี่ในประเทศไทยมีราคาสูงขึ้น การศึกษาแนวโน้มอุตสาหกรรมยาสูบในประเทศไทย และผลกระทบทางภาษีมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมผู้สูบยาสูบ โดยศึกษาปัจจัยด้านราคากับพฤติกรรมการบริโภคทั้งบุหรี่และยาเส้น รวมถึงข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 รวมถึงศึกษาแนวโน้มและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อรายได้ภาษีของรัฐในอนาคต นอกจากนี้ยังศึกษาตัวอย่างกรณีศึกษาการปรับตัวของบริษัทผู้ผลิตบุหรี่ในต่างประเทศที่มีโครงสร้างตลาดคล้ายคลึงกับประเทศไทย รูปแบบงานวิจัยเป็นงานวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ขนาดของตัวอย่างมีขนาด 1,698 ตัวอย่าง แบ่งเป็นภาคละ 400 ตัวอย่างภาคกลางสุ่มตัวอย่างในจังหวัดกรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ระยองและสระแก้ว ภาคเหนือทำการสุ่มตัวอย่างในจังหวด กำแพงเพชร เชียงรายและตาก ภาคอีสานทำการสุ่มตัวอย่างจากจังหวัดสกลนคร ขอนแก่นและมุกดาหาร ภาคใต้ทำการสุ่มตัวอย่างจากจังหวดกระบี่ สงขลา และภเก็ต สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้สูบบุหรี่และร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่ ผลการสำรวจพบว่าหลังการปรับโครงสร้างภาษีวันที่ 16 กันยายน 2560 กลุ่มตัวอย่างสูบยี่ห้อเดิมจำนวนเท่าเดิม (ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) ร้อยละ 28.5 เปลี่ยนไปสูบบุหรี่ยี่ห้อใหม่ที่ราคาถูกกว่ายี่ห้อเดิมร้อยละ 26.1 สูบยี่ห้อเดิมลดลงร้อยละ 22.0 และเปลี่ยนไปสูบผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่นร้อยละ 10.0 จำนวนมวนที่สูบเฉลี่ยต่อวันลดลงร้อยละ 5.15 จากวันละ 11.67 มวนเหลือเพียง 10.69 มวนต่อวัน และพบว่าบุหรี่กรองทิพย์ และ L&M แดงใหญ่ มีอัตราการบริโภคลดลงในปริมาณที่สูงขณะที่บุหรี่ยี่ห้อ SMS แดงเล็ก L&M แดงเล็ก L&M เขียวเล็ก มีอัตราการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และยาเส้นมีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นในระดับสูงในทุก ๆ ภาค การเลือกยี่ห้อบุหรี่ด้วยสาเหตุด้านราคามีอัตราส่วนเพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 บังคับใช้ พบว่านโยบายที่บังคับใช้แล้ว มีผลต่อผู้บริโภคปฏิบัติตามมากกว่าร้อยละ 40 ขึ้นไป คือ นโยบายการห้ามขายบุหรี่ ใน 4 กลุ่มสถานที่ คือ วัด สถานพยาบาลโรงเรียนและสวนสาธารณะ นโยบายการไม่ซื้อบุหรี่จากคนขายที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี นโยบายการไม่ไหว้วานให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ซื้อบุหรี่ให้ นโยบายป้ายปลอดบุหรี่ นโยบายการเพิ่มโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามลำดับ ปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบว่าปัญหาสุขภาพ คำร้องขอจากสมาชิกในครอบครัว เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการลดและเลิกสูบผลิตภัณฑ์ยาสูบในสัดส่วนที่สูงมากกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป สรุปภาพรวมหลังปรับโครงสร้างภาษีวันที่ 16 กันยายน 2560 ปริมาณการบริโภคบุหรี่โดยรวมลดลงร้อยละ 13.75 ในขณะที่การบริโภคยาเส้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 แนวโน้มภาษียาสูบที่รัฐจัดเก็บได้มีแนวโน้มลดลง The enforcement of the Excise Act B.E. 2560 (2017) has resulted in higher prices for cigarettes in Thailand. This project study the tobacco industry trend in Thailand and the impact of excise tax. This study considered factors related to tobacco price, tobacco consumption behavior, and the Tobacco Product Control Act B.E. 2560 that impact to the tobacco consumption trend and government tax revenue. The researcher also studied the cases of the adaptation of foreign cigarette manufacturers that have a similar market structure to Thailand. This research conducted mixed method research combining quantitative method, such as results of surveys, with qualitative method to understanding attitudes and perceptions that are the precursors of tobacco consumption behavior. For quantitative method, purposive sampling has been used The sample size is 1,698 samples, divided into 400 samples per region. Representative provinces of each region was sampled as follow; (1) central region: Bangkok, Kanchanaburi, Rayong and Sa Kaeo (2) Northern region: Kamphaeng Phet, Chiang Rai and Tak provinces (3) Northeastern region: Sakon Nakhon province Khon Kaen and Mukdahan (4) Southern region: Krabi, Songkhla and Phuket provinces. For qualitative method, in-depth interviews with smokers and cigarette sellers. The results showed that after the enforcement tax adjustment on 16 September 2017, 28.5% of smokers still smoke the same brand (No behavior change). 26.1% changed to cheaper cigarettes brand. Smoking the same brand decreased by 22%. 10.0 percent changed to smoke other tobacco products. The average number of cigarettes per day decreased 5.15 percent from 11.67 per day to 10.69 per day. Researcher also found that KRONG THIP, and red L&M big pact have lower consumption at higher rate while the red SMS, red and green L&M small pack have higher consumption rate. Roll-your-own tobacco has a higher consumption rate in every region. Choosing cigarette brands based on price is increasing. After Tobacco Product Control Act B.E.2560 enforced, more than 40% of consumers comply with the policy on (1) the prohibition of selling cigarettes in 4 places, temples, hospitals, schools and public parks, (2) Prohibit to buy from youth sellers under 18 years (3) Prohibit to sell to youth under 20 years old, (4) Non-smoking label policy (5) Policy to increase the fine not exceeding 5,000 baht. Factors that have high impact to smoking habits are health problems and requests from family members, these factors influenced to the reduction and cessation of tobacco products at 60%. In conclusion, after the enforcement of tax adjustment on 16 September 2017, total consumption of cigarettes decreased 13.75% while the tobacco consumption increased 5.3%. The tendency of tobacco tax collected by the government will be decreased. |
|
อุตสาหกรรมยาสูบ
ผลกระทบทางภาษี |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
กรมสรรพสามิต | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/786 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|