Now showing items 1-4 of 4

    • type-icon

      Social Innovation Driving unit เฉพาะด้าน 

      วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      โครงการ Social Innovation Driving Unit ซึ่งสนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ มีระยะเวลาโครงการตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ – 30 กันยายน 2561 รวมระยะเวลา 7 เดือน 16 วัน โดยมีเป้าหมายที่สนับสนุนและบ่มเพาะผู้สนใจในการแก้ไขปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม ให้สามารถต่อยอดแนวคิดและ/หรือพัฒนาตัวนวัตกรรมให้ยกระดับในเชิงธุรกิจเพื่อสังคม โดยผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและการให้คำแนะนำ จากการดำเนินการพบว่า กระบวนการบ่มเพาะที่ดีและเหมาะสมสำหรับโครงการนวัตกรรมทางสังคมนั้น จำเป็นต้อง 1) มีระยะเวลาการบ่มเพาะที่นานพอที่จะให้กิจการได้มีโอกาสทดลองความคิดและตลาด ...
    • type-icon

      การสร้างระบบและแนวทางการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายภายใต้ระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติ 

      สุนิสา ช่อแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การเร่งสร้างเครือข่ายนวัตกรรมเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ดำเนินการเพื่อให้ตอบโจทย์การมีนวัตกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับสังคมไทย ด้วยความสำคัญดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการศึกษา “การสร้างระบบและแนวทางการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายภายใต้ระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติ” ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรก พัฒนาตัวแบบ ขั้นตอนที่สอง วางแนวทางและรูปแบบการดำเนินงาน ขั้นตอนที่สาม ออกแบบเครื่องมือการประเมิน และขั้นตอนที่สี่ จัดทำโครงการนำร่อง จากผลลัพธ์ในการดำเนินโครงการ พบว่า (1) ตัวแบบระบบในการพัฒนาเครือข่ายนวัตกรรม ...
    • type-icon

      ศึกษาเพื่อจัดทําแผนภาคในการพัฒนาแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ ระยะที่ 1 

      นิจ ตันติศิรินทร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      นวัตกรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวพ้นประเทศกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (middle income trap) ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนและนโยบายในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาค (regional development plan) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ (1) วิเคราะห์ศักยภาพของจังหวัดในแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ และ (2) นำเสนอแผนพัฒนาระดับภูมิภาค (regional development plan) ในการพัฒนาแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ ...
    • type-icon

      ส่งเสริมความสามารถทางนวัตกรรม สำหรับกลุ่มผู้นำภาครัฐและเอกชน (DRIVE CONNECT) รุ่นที่ 1 

      ทวิดา กมลเวชช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-26)

      จากการสำรวจและทบทวนองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรม ที่มีทั้งเนื้อหาในความพยายามสร้างเครือข่าย และในเนื้อหามุ่งเน้นเฉพาะนวัตกรรม จะพบความคล้ายคลึงกันในมิติของการพยายามที่จะสอนทักษะและเทคนิคของการสร้าง คือสร้างเครือข่ายและสร้างนวัตกรรม ซึ่งในลักษณะนี้นั้น เรากลับไม่พบในหลักสูตรการฝึกอบรมเครือข่ายนวัตกรรม กล่าวคือ การฝึกอบรมเครือข่ายนวัตกรรม มักจะเน้นเรื่องการคิด ทักษะการแปลงความคิด การสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี การสร้างสิ่งใหม่ๆในการผลิต มากกว่าการเน้นทักษะเครือข่าย โดยคาดหวังให้การฝึกอบรมร่วมกันผ่านกิจกรรมต่างๆนั้น เป็นสิ่งที่สร้างเครือข่ายขึ้นได้เอง ...