Now showing items 21-29 of 29

    • type-icon

      ความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ปีที่ 3 (พ.ศ.2561-2562) 

      ปกป้อง ศรีสนิท (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-26)

      การดำเนินงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ปีที่ 3 (พ.ศ.2561-2562) มีดังนี้กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมตามมาตรา 12 - จัดร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข (8 ครั้ง) ได้แก่ 1) การสัมมนาวิชาการ “การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและสิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ” ร่วมกับ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมนพเกล้า โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2) การสัมมนาวิชาการ “การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และสิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ” ร่วมกับ ...
    • type-icon

      ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบวิธีการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มาจากกระบวนการเลือกกันเอง 

      อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-26)

      การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จะต้องนำไปดำเนินการ (Implement) กับผู้มีสิทธิภายใต้ระบบเลือกกันเอง ซึ่งก่อนที่จะสามารถนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาให้ภาคท้องถิ่นใช้ในการลงคะแนนได้นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ประชาชนรับทราบเสียก่อน เช่น การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ท้องถิ่น รวมไปถึงต้องมีการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในระดับเขตและระดับจังหวัด และควรดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ The use of electronic systems must ...
    • type-icon

      การวัดปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอชนิด signal-joint T cell receptor excision circles (sjTREC) ในเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อคาดคะเนอายุในประชากรไทย 

      ไพเราะ ไพรหิรัญกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      การคาดคะเนอายุเป็นหนึ่งในข้อมูลที่สำคัญในการสืบสวนและสอบสวนเพื่อระบุตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ งานวิจัยในหลายประเทศพบว่า ชิ้นส่วน DNA ในเม็ดเลือดขาวชนิด T cell ที่เรียกว่า Signal joint T-cell receptor excision circle (sjTREC) มีปริมาณลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาในประชากรไทยซึ่งมีปัจจัยทางด้านพันธุกรรมที่แตกต่างจากประชากรประเทศอื่น ๆ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณ sjTREC กับอายุในประชากรไทยที่มีสุขภาพแข็งแรง และเพื่อสร้างสมการสำหรับคาดคะเนอายุที่มีความจำเพาะในประชากรไทยจากปริมาณ ...
    • type-icon

      การเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการตรวจคัดกรองและจำแนกประเภทโรคมะเร็งปอดและวัณโรค 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-11)

      แต่ละปีมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากวัณโรค มะเร็งปอด และหัวใจผิดปกติเป็นจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกได้ทำการประมาณว่า มีจำนวนผู้ติดเชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) สูงถึง 1,800 ล้านคนทั่วโลก(เทียบเท่า 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรโลก) โดยในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยวัณโรคมากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 1.6 ล้านคน สำหรับมะเร็งปอด มีผู้ป่วยเกิดขึ้นใหม่ประมาณ 2.1 ล้านคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 1.8 ล้านคน สำหรับหัวใจผิดปกติ (heart failure) มีผู้ป่วยมากว่า 26 ล้านคนทั่วโลกเอกซ์เรย์ทรวงอกเป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อใช้ว ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูเเลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน 

      นิฤมน รัตนะรัต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)

      โครงการวิจัย "การขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน" เป็นโครงการวิจัยระยะที่ 2 ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาจากโครงการวิจัยการพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อผลักดันนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อหนุนเสริมเครือข่ายภาคีความร่วมมือ ในการนำนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครสู่การปฏิบัติ และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายระบบการดูแล ...
    • type-icon

      การประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายโดยใช้กฎ ABCD ในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาขั้นตอนวิธีการประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายโดยใช้กฎ ABCD กล่าวคือ A คือ ความไม่สมมาตรของรอยโรคผิวหนัง (Asymmetry) B คือ ลักษณะขอบของรอยโรคผิวหนัง (Border) C คือ สีของโรยโรคผิวหนัง (Color) และ D คือ ลักษณะโครงสร้างของรอยโรคผิวหนัง (Dermoscopic Structure) ในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน โดยขั้นตอนวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายรอยโรคโดยใช้การประมวลผลภาพดิจิทัล การเรียนรู้เชิงลึกและการเรียนรู้เครื่อง ในการสกัดลักษณะเด่นจากภาพถ่ายรอยโรคและจำแนกประเภทรอยโรคผิวหนังว่าเป็นเ ...
    • type-icon

      การพัฒนาวัสดุโครงร่างไฮโดรเจลสำหรับการปลดปล่อยยาเพื่อป้องกันภาวะกระดูกขากรรไกรตายในผู้ป่วยที่ใช้ยาบิสฟอสโฟเนต 

      วีรชัย สิงหถนัดกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-16)

      ยาโซเลโดรนิคเอซิดเป็นยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนตที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคกระดูกที่เกี่ยวกับภาวะที่มีการสลายกระดูกโดยเซลล์สลายกระดูกมากผิดปกติ เช่น โรคกระดูกพรุน ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มนี้อาจเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายหลังจากที่มีการทำอันตรายกับกระดูกโดยยาโซเลโดรนิคเอซิดเป็นพิษและยับยั้งพัฒนาการและการทำงานของเซลล์สลายกระดูกและเซลล์สร้างกระดูก ทำให้เกิดกระดูกขากรรไกรตายและติดเชื้ือที่กระดูกตายนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายนี้ีได้ วัตถุประสงค์ในโครงการวิจัยนี้คือ พัฒนาโครงร่างไฮโดรเจลที่สามารถปลดปล่อยยาเจอรานิลเจอรานิออลหรื ...
    • type-icon

      ระบบเฝ้าระวังอัตโนมัติในการประเมิน ติดตาม ป้องกัน และเเสดงแนวทางการบริหารจัดการเมื่อเกิดภาวะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำในระหว่างการให้ยาหรือสารน้ำชนิดยานอร์ริพิเอฟฟรินจากภาพถ่ายผิวหนังโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึกในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต; ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์; บวรลักษณ์ ทองทวี; พัดชา พงษ์เจริญ; ดุษฎี สกลยา; ปรารถนา สิทธิวัฒนาวงศ์; สินี เวศย์ชวลิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-17)

      การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยา คือ ภาวะที่ยาที่มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดในระหว่างการให้ยาทางหลอดเลือดดำ ส่งผลอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำ และอาจลุกลามถึงเส้นประสาท เส้นเอ็น ข้อของอวัยวะต่าง ๆ ที่ได้รับหรือสัมผัสกับยาดังกล่าว ในกรณีที่รุนแรง อาจทำให้สูญเสียอวัยวะบริเวณนั้นได้ ปัจจุบันการตรวจคัดกรองภาวะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยา พยาบาลในห้องผู้ป่วยจะต้องสังเกตผู้ป่วยในทุกช่วงระยะหลังการฉีดสารน้ำ ซึ่งมีข้อจำกัดคือ เมื่อมีการเปลี่ยนช่วงเวลาทำงาน ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากพยาบาลท่านอื่น ...
    • type-icon

      ต้นแบบระบบเคลือบผิวสิ่งทอทางการแพทย์ให้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าอย่างยาวนาน 

      พิศุทธิ์สรัล ชิติโชติปัญญา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)

      โครงการวิจัยนี้เป็นการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและป้องกันการระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพ โดยทำให้พื้นผิววัสดุสิ่งทอมีสมบัติฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าด้วยตัวเองตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องและ ยาวนาน และสามารถขยายสเกลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ โดยทำการพัฒนาเพื่อให้ได้ 1. ต้นแบบน้ำยาเคลือบที่ใช้นวัตกรรม TiO2@Ag/WPU nanocomposite (Smart anti-coronavirus coating (SAC)) เป็นวัสดุฉลาดที่มีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อโคโรน่าไวรัส ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยระบบการปลดปล่อยสารฆ่าเชื้อแบบควบคุม ที่ผ่านมาตรฐานสากล (Measurement of antiviral activity, ISO 18184: 2019) ...