จ้างปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้
by ชนินทร์ มีโภคี
จ้างปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ | |
Research Project on the Knowledge Management Database Development | |
ชนินทร์ มีโภคี | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2018 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
โครงการปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายใต้โครงการส่งเสริมบูรณาการแหล่งเรียนรู้และจัดทำดัชนีชี้วัดแหล่งเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ 2561 เกิดขึ้นจากการจัดทำฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และศึกษาวิจัยพัฒนามาตรฐานแหล่งเรียนรู้ ระยะแรกในปีงบประมาณที่ผ่านมา พบว่า ยังมีแหล่งเรียนรู้ทั้งภาครัฐและเอกชนที่น่าสนใจอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งอยู่นอกเครือข่ายของคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ สบร. จึงเห็นความสำคัญ ในการดำเนินการรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งอยู่นอกเครือข่ายของคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้กลุ่มดังกล่าวเพิ่มเติม รวมทั้ง ปรับปรุงฐานข้อมูลเดิมให้เป็นปัจจุบันและมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งฐานข้อมูลนี้นอกจากจะเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาดัชนีชี้วัดในระยะต่อไปแล้ว ยังเป็นข้อมูลสำคัญที่จะสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายในการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนทุกช่วงวัย เป็นพื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ที่ทุกคนได้ใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด รวมทั้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ ๆ ตลอดจนพัฒนาและยกระดับแหล่งเรียนรู้ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 1. เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ระยะที่ 1 ให้เป็นปัจจุบัน
2. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ระยะที่ 2 ให้ครอบคลุมแหล่งเรียนรู้นอกเครือข่ายคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 3. เป็นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับแหล่งเรียนรู้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการบูรณาการแนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของแหล่งเรียนรู้ให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือ แหล่งเรียนรู้ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ใช้บริการ และหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องสำหรับขั้นตอนการศึกษาแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ 1. ปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ระยะที่ 1 ให้เป็นปัจจุบัน และ 2. พัฒนาฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ระยะที่ 2 ซึ่งจากผลการศึกษา คณะที่ปรึกษาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล และนำมาสู่การวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้แหล่งเรียนรู้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1. ด้านบุคลากร (Man) 2. ด้านการเงิน (Money/Financial) 3. ด้านการบริหารจัดการ (Management) และ 4. ด้านการใช้เทคโนโลยี (Technology Used) |
|
ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้
ดัชนีชี้วัดแหล่งเรียนรู้ |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/601 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|