Show simple item record

dc.contributor.authorชนินทร์ มีโภคี
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-07-11T02:00:27Z
dc.date.available2019-07-11T02:00:27Z
dc.date.issued2018
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/601
dc.description.abstractโครงการปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายใต้โครงการส่งเสริมบูรณาการแหล่งเรียนรู้และจัดทำดัชนีชี้วัดแหล่งเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ 2561 เกิดขึ้นจากการจัดทำฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และศึกษาวิจัยพัฒนามาตรฐานแหล่งเรียนรู้ ระยะแรกในปีงบประมาณที่ผ่านมา พบว่า ยังมีแหล่งเรียนรู้ทั้งภาครัฐและเอกชนที่น่าสนใจอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งอยู่นอกเครือข่ายของคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ สบร. จึงเห็นความสำคัญ ในการดำเนินการรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งอยู่นอกเครือข่ายของคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้กลุ่มดังกล่าวเพิ่มเติม รวมทั้ง ปรับปรุงฐานข้อมูลเดิมให้เป็นปัจจุบันและมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งฐานข้อมูลนี้นอกจากจะเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาดัชนีชี้วัดในระยะต่อไปแล้ว ยังเป็นข้อมูลสำคัญที่จะสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายในการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนทุกช่วงวัย เป็นพื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ที่ทุกคนได้ใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด รวมทั้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ ๆ ตลอดจนพัฒนาและยกระดับแหล่งเรียนรู้ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 1. เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ระยะที่ 1 ให้เป็นปัจจุบัน 2. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ระยะที่ 2 ให้ครอบคลุมแหล่งเรียนรู้นอกเครือข่ายคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 3. เป็นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับแหล่งเรียนรู้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการบูรณาการแนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของแหล่งเรียนรู้ให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือ แหล่งเรียนรู้ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ใช้บริการ และหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องสำหรับขั้นตอนการศึกษาแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ 1. ปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ระยะที่ 1 ให้เป็นปัจจุบัน และ 2. พัฒนาฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ระยะที่ 2 ซึ่งจากผลการศึกษา คณะที่ปรึกษาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล และนำมาสู่การวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้แหล่งเรียนรู้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1. ด้านบุคลากร (Man) 2. ด้านการเงิน (Money/Financial) 3. ด้านการบริหารจัดการ (Management) และ 4. ด้านการใช้เทคโนโลยี (Technology Used)th
dc.description.abstractThe project, of improving knowledge databases under the knowledge integration program and create knowledge indicators in 2018, was created from knowledge databases and research and development of knowledge standards. In the first phrase of this project found that there are various interesting public and private learning centers which are not the network of museum and learning center integration committee. The Official of Knowledge Management and Development sees the importance of collecting and creating more learning databases for all of these learning centers’, including updating all databases to be more completed in order to be able to use effectively. Moreover, these databases are importantly information for developing of indicators in the next phrase. It additionally is important to support policy decisions in promoting various learning centers’ as part of everyday life of people of all ages which is a creative learning area with a maximum use. As well as being a tourist attraction that creates new experiences as well as develops and enhances the learning centers to meet the quality standards with main objectives as follows; 1. To improve the latest knowledge databases in phase 1 2. To develop knowledge databases in phase 2 in order to cover all outside network of museum and learning center integration committee both public and private centers’ 3. To be a guideline for learning resources both public and private centers in preparing policy proposals for operation integration and enhance learning activity for unity and efficiency. The target group of this project is learning centers’ both public and private, users and government agencies that play role in determining relevant government policies. The study process is divided into two parts: firstly, improve the latest knowledge databases in phase 1 and secondly develop knowledge databases in phase 2. The result of this study is analyzed data by the advisory and led to the factors analysis that make learning center sustainably. In order to be sustainable, it consists of 4 main factors which is Man, Money and Financial, Management and Technology Used.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้th
dc.subjectดัชนีชี้วัดแหล่งเรียนรู้th
dc.titleจ้างปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้
dc.title.alternativeResearch Project on the Knowledge Management Database Development
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
cerif.cfProj-cfProjId2561A00273
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology sector : ICT)
turac.contributor.clientสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record