Show simple item record

dc.contributor.authorสุรพงษ์ โสธนะเสถียร
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2014-10-13T08:21:55Z
dc.date.available2014-10-13T08:21:55Z
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/58
dc.description.abstractResearch objectives are to evaluate relationships between dams / power plants and surrounding communities where living within 5 km of dams/power plants and farther, and to measure level of confidence of the both target groups. Variables of which being measured consist of 4 aspects of relationship, namely, organization image, relationship, communication situation, and social responsibility. Relationship level of the 4 aspects definitely varies according to communities perception, satisfaction, and participation towards the power plants. In addition, confidence level towards generating process of the entire power plants in 16 provinces is measured. Quantitative research had used to collect data for measuring Knowledge Attitude Practice (KAP) of total 7,743 samples divided into 3,012 samples that living 5 km. around the dams / power plants, and 3,133 people living farther, afterwards, more samples consisting of 1,598 people living in remote areas from the plants had been also measured. For quality research method, focus group was used to interview 115 samples comprising of 21 local leaders, 26 community leaders, 45 informal leaders and 23 public media workers. Owing to data analysis, key indicators for measuring relationships between the communities and all of the dams / power plants needed to be created. Correlation between rationale of community leaders and their perception, satisfaction and acceptance was categorized as well. Findings of the quantitative research demonstrate that residents of the surrounding communities having good relationship with the dams / power plants. Generally, their awareness of organization image, relationship, communication and social responsibility indicated significantly high above their satisfaction. Meanwhile, their satisfaction level was higher than the four aspects of acceptance. Absolutely, awareness level of the residents who live within 5 km. around the dams / power plants was higher than those living out of the boundary. Analyzing relationships between the surrounding communities and the dams / power plants, four aspects of which had been examined were organization image, relationship, communication and social responsibility. Results were shown as follows: 1) Image awareness consists of 5 issues, that is, awareness of organization image, awareness of personnel image, management awareness, awareness of impact on public interests and awareness of assistance. 2) Image satisfaction consists of 5 issues, that is, satisfaction of organization image, satisfaction of personnel image, management satisfaction, satisfaction of impact on public interests, and assistance satisfaction. 3) Image acceptance consists of 5 issues, that is, organization acceptance, acceptance of personnel, management acceptance, acceptance of impact on public interests, and acceptance of assistance. 4) Relationship awareness consist of 5 issues, that is, relationship awareness of problem situation, relationship awareness of support, relationship awareness of distrust, relationship awareness of openness and relationship awareness of consequences. 5) Relationship satisfaction consists of 5 issues, that is, relationship satisfaction on problem situation, relationship satisfaction on support, relationship satisfaction on distrust, relationship satisfaction on openness and relationship satisfaction on consequences. 6) Communication awareness consists of 4 issues, that is, communication awareness of media use, communication awareness of information / activities, communication awareness of practices and communication awareness of understanding. 7) Social responsibility awareness consists of 5 issues, that is, social responsibility awareness of offering, social responsibility awareness of people’s needs, social responsibility awareness of natural loss, social responsibility awareness of government bureaus’ benefits only, and social responsibility awareness of problem solutions.en
dc.description.abstractเป้าหมายของงานวิจัยนี้อยู่ที่ความต้องการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างเขื่อน/โรงไฟฟ้ากับชุมชนโดยรอบซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งชุมชนรอบในรัศมี 5 กม. และชุมชนรอบนอกเกินกว่ารัศมี 5 กม. ทั้งยังศึกษาการวัดระดับความเชื่อมั่นของประชาชนในสองกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ในการวัดตัวแปรจึงสร้างมิติของความสัมพันธ์ใน 4 ด้าน ได้แก่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพ สถานการณ์ทางการสื่อสาร และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งมีระดับความเข้มข้นแตกต่างกันไปตามการรับรู้ในแง่ความรู้ที่มีต่อเขื่อน/โรงไฟฟ้า ทัศนคติในแง่ความพึงพอใจ และการปฏิบัติในแง่การยอมรับในการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับโรงไฟฟ้า ในการนี้ได้วัดระดับความเชื่อมั่นของชุมชนที่มีต่อกระบวนการผลิตของเขื่อน/โรงไฟฟ้า ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยแบบปริมาณเก็บตัวอย่างได้ 6,145 ชุดโดยตัวอย่างที่อาศัยพื้นที่ภายในรัศมี 5 กม. จากตัวเขื่อน/โรงไฟฟ้ามีจำนวน 3,012 คน ประชาชนอยู่ในเขตรัศมีภายนอก 5 กม. จำนวน 3,133 คน ในการประเมิน KAP ต่อเขื่อน/โรงไฟฟ้า และได้เก็บตัวอย่างเพิ่มขึ้นอีก 1,598 คน ในเขตพื้นที่รัศมีรอบนอกที่ห่างไกลออกไป จึงมีตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 7,743 คน เพื่อประเมินความเชื่อมั่นต่อกระบวนการผลิตใน 16 จังหวัดอันเป็นที่ตั้งของเขื่อน/โรงไฟฟ้า ในรูปแบบการวิจัยแบบคุณภาพได้เข้าไปฝังตัวและสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 115 คน เป็นผู้นำท้องถิ่น 21 คน ผู้นำท้องที่ 26 คน ผู้นำที่ไม่เป็นทางการ 45 คน และสื่อมวลชน 23 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การสร้างดัชนีชี้วัดระดับความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับเขื่อน/โรงไฟฟ้าในการวิจัยเชิงปริมาณ และการจัดกลุ่มความสอดคล้องของเหตุผลของผู้นำชุมชนต่อมิติทั้งสี่ด้านต่อการรับรู้ ความพึงพอใจ และการยอมรับ ผลของการค้นพบในการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนโดยรอบมีความสัมพันธ์อันดีกับเขื่อน/โรงไฟฟ้า โดยในภาพรวม การรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายในด้านภาพลักษณ์ สัมพันธภาพ การสื่อสาร และความรับผิดชอบต่อสังคม มีค่าหรือดัชนีสูงกว่าความพึงพอใจ และความพึงพอใจสูงกว่าการยอมรับในมิติทั้งสี่ และผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภายในรัศมีจะมีค่าการรับรู้ในมิติทั้งสี่สูงกว่าคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภายนอกรัศมี 5 กม. ผลการวิจัยในเชิงคุณภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนโดยรอบกับเขื่อน/โรงไฟฟ้าสามารถพิจารณาได้ใน 4 มิติ คือภาพลักษณ์ สัมพันธภาพ สถานการณ์ทางการสื่อสาร และความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ 1. การรับรู้ถึงภาพลักษณ์ประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการ คือ การรับรู้ภาพลักษณ์ในด้านองค์การ การรับรู้ภาพลักษณ์ในแง่พนักงานของเขื่อน/โรงไฟฟ้า การรับรู้ภาพลักษณ์ในแง่การบริหารจัดการ การรับรู้ภาพลักษณ์ในแง่ผลกระทบ และการรับรู้ภาพลักษณ์ในแง่ของความช่วยเหลือ 2. ความพึงพอใจในภาพลักษณ์ประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการ คือ ความพึงพอใจภาพลักษณ์ในแง่องค์การ ความพึงพอใจภาพลักษณ์ในแง่พนักงาน ความพึงพอใจภาพลักษณ์ในแง่การบริหารจัดการ ความพึงพอใจภาพลักษณ์ในแง่ผลกระทบ และความพึงพอใจภาพลักษณ์ในแง่ของความช่วยเหลือ 3. การยอมรับในภาพลักษณ์ประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการ คือ การยอมรับภาพลักษณ์ในแง่องค์การ การยอมรับภาพลักษณ์ในแง่พนักงานของเขื่อน/โรงไฟฟ้า การยอมรับภาพลักษณ์ในแง่การบริหารจัดการ การยอมรับภาพลักษณ์ในแง่ผลกระทบสาธารณประโยชน์ และการยอมรับภาพลักษณ์ในแง่ของความช่วยเหลือ 4.การรับรู้ถึงสัมพันธภาพประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการ คือ การรับรู้สัมพันธภาพต่อสภาพปัญหา การรับรู้สัมพันธภาพในการให้ความสนับสนุน การรับรู้สัมพันธภาพที่มาจากความหวาดระแวง การรับรู้สัมพันธภาพที่มาจากการเปิดตัว และการรับรู้สัมพันธภาพในแง่ผลพวง 5. ความพึงพอใจต่อสัมพันธภาพประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการ คือ ความพึงพอใจสัมพันธภาพต่อสภาพปัญหา ความพึงพอใจสัมพันธภาพในการให้ความสนับสนุน ความพึงพอใจสัมพันธภาพที่มาจากความหวาดระแวง ความพึงพอใจสัมพันธภาพที่มาจากการเปิดตัว และความพึงพอใจสัมพันธภาพในแง่ผลพวง 6.การรับรู้ถึงสถานการณ์การสื่อสารประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ประการ คือ การรับรู้ถึงสถานการณ์จากการใช้สื่อ การรับรู้สถานการณ์การสื่อสารจากการใช้สาร/กิจกรรม การรับรู้สถานการณ์การสื่อสารในด้านการปฏิบัติตัว และการรับรู้สถานการณ์การสื่อสารในด้านความเข้าใจ 7.การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการ การรับรู้ความรับผิดชอบทางสังคมในแง่การให้ การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมในแง่ความต้องการของประชาชน การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมในแง่การสูญเสียธรรมชาติ การรับรู้ความรับผิดชอบทางสังคมที่คำนึงถึงแต่รัฐและหน่วยงาน และการรับรู้ความรับผิดชอบในแง่การเยียวยาปัญหาth
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนth
dc.subjectพนักงานของเขื่อนth
dc.subjectพนักงานของโรงไฟฟ้าth
dc.subjectความเชื่อมั่นต่อกระบวนการผลิตth
dc.subjectความรับผิดชอบต่อสังคมth
dc.subjectภาพลักษณ์ในแง่ผลกระทบth
dc.subjectภาพลักษณ์ในแง่ของความช่วยเหลือth
dc.subjectสถานการณ์การสื่อสารth
dc.titleโครงการประเมินความสัมพันธ์ของชุมชนรอบเขื่อน โรงไฟฟ้า ปี 2556
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjId2556A00313
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)
turac.contributor.clientการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record