การประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์แรงงานต่างด้าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
by โมไนยพล รณเวช
การประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์แรงงานต่างด้าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 | |
Evaluation of 2018 public relation programs for alien labourers | |
โมไนยพล รณเวช | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2018 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์แรงงานต่างด้าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 นี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,214 คน จำแนกเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ประกอบการ จำนวน 187 คน แรงงานต่างด้าว (เมียนมา ลาว กัมพูชา) จำนวน 543 คน และกลุ่มเป้าหมายรอง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 26-50 ปี จำนวน 316 คน และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 194 คน ทั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2561 ประสิทธิผลของโครงการประชาสัมพันธ์แรงงานต่างด้าวดังกล่าวนี้ จะถูกประเมินจาก 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว 2) ด้านความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว 3) ด้านความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว 4) ด้านการนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวไปใช้ประโยชน์ และ 5) ด้านการมีส่วนร่วมในการนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 4 ด้าน คือ ด้านความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่ร้อยละ 75.10 ด้านความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่ร้อยละ 76.78 ด้านการนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวไปใช้ประโยชน์ที่ร้อยละ 72.45 และด้านการมีส่วนร่วมในการนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่ร้อยละ 68.90 ทั้งนี้ไม่ผ่านเกณฑ์ 1 ด้าน คือ ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่ร้อยละ 75.27 อย่างไรก็ตามแม้ผลการประเมินจะไม่ผ่านเกณฑ์ แต่ผลการประเมินสูงขึ้นกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ซึ่งแสดงว่า มีการรับรู้เพิ่มขึ้น การรับรู้ในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว พบว่า ประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายรับรู้สูงที่สุด คือ การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว รองลงมา คือ ปัญหาเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ การดำเนินงานของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ และปัญหาการค้ามนุษย์ ตามลำดับ ความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว พบว่า ประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายเข้าใจ สูงที่สุด คือ การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสามารถดำเนินการได้ที่ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) รองลงมา คือ การประชาสัมพันธ์ให้แรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียนหรือการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว เป็นการดำเนินงานของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าวในไทยสามารถประกอบอาชีพได้บางอาชีพเท่านั้น การที่แรงงานต่างด้าวเปลี่ยนงานโดยไม่บอกนายจ้างหรือทำงานข้ามเขตพื้นที่จดทะเบียน ถือเป็นปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ปัญหาการแย่งอาชีพ การขโมยทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว อาจส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศได้ หากแรงงานต่างด้าวหยุดงานหรือประท้วง อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย และการมีขบวนการขอทานข้ามชาติเข้ามาขอทานในประเทศไทย ผู้หญิงค้าประเวณี การใช้แรงงานเด็ก ถือเป็นปัญหาการค้ามนุษย์ ตามลำดับ ความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว พบว่า กลุ่มเป้าหมายเชื่อมั่นว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวจากภาครัฐมีความถูกต้องสูงที่สุด รองลงมา คือ เชื่อมั่นว่า มีความรวดเร็ว และเชื่อมั่นว่า มีความเป็นกลาง ตามลำดับ การนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวไปใช้ประโยชน์ พบว่า ประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายนำไปใช้ประโยชน์สูงที่สุด คือ แจ้งเบาะแสไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หากพบเจอปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ รองลงมา คือ การสนับสนุนให้แรงงานต่างด้าว มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมอย่างสงบสุข การสนับสนุนให้มีการจัดระบบการบริหารจัดการที่ดีเกี่ยวกับเรื่องของแรงงานต่างด้าว การแนะนำผู้อื่นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานต่างด้าวได้ การคอยเฝ้าระวังเกี่ยวกับปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ และการแนะนำผู้อื่นเกี่ยวกับกฎระเบียบเบื้องต้นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของแรงงานต่างด้าวได้ ตามลำดับ การมีส่วนร่วมในการนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างถูกต้อง พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในเรื่องของการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวผ่านสื่อต่าง ๆ สูงที่สุด รองลงมา คือ การชักชวนผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น และการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น ตามลำดับ |
|
ประชาสัมพันธ์แรงงานต่างด้าว
แรงงานต่างด้าว |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
กรมประชาสัมพันธ์ | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/565 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|