Show simple item record

dc.contributor.authorหาญพล พึ่งรัศมี
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-08-10T08:53:43Z
dc.date.available2018-08-10T08:53:43Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/450
dc.description.abstractจากการเติบโตของเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม มลภาวะที่เกิดขึ้นจากตัววัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต กระบวนการผลิต การขนส่ง รวมถึงการปล่อยของเสียและการกำจัดของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ดังจะเห็นได้จากสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะหาแนวคิด วิธีการ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อบริหารจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นกลไกหลักที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการใช้ปริมาณสารเคมี น้ำ และพลังงานมากโดยเฉพาะ ในส่วนของอุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์และตกแต่งสำเร็จ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางน้ำและอากาศ การหลีกเลี่ยงและควบคุมมลพิษ มีจุดประสงค์เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการเชิงอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อม การจำกัดการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมออกสู่สิ่งแวดล้อมต้องอาศัยการจัดการและการควบคุมกระบวนการทั้งระบบไปพร้อมๆ กัน โดยการนำเทคโนโลยีสะอาดมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตและประเมินฟุตพริ้นท์สิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มผลผลิตสีเขียว โดยลดผลกระทบที่แหล่งกำเนิด ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร ลดการใช้พลังงาน น้ำ สารเคมี ของเสีย และลดต้นทุนไปพร้อมกัน อันจะช่วยให้เกิดการยกระดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันได้ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยให้มีองค์ความรู้ เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มผลผลิตสีเขียว (Green Productivity) อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ระดับ 2-3 และมุ่งสู่การเป็นโรงงานเชิงนิเวศ (Eco Factory) ซึ่งเทียบเท่าอุตสาหกรรมสีเขียวสีเขียวระดับ 4 ด้วยการมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อสอดรับกับความต้องการของลูกค้าและตลาดที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากการดำเนินงานผู้ประกอบการทั้ง 10 สถานประกอบการ ได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสะอาด และสามารถหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ โดยมีผลประหยัดจากแนวทางที่ได้ดำเนินการจริงและมีศักยภาพที่จะดำเนินการในอนาคตรวม 2,294,658 บาทต่อปี มีระยะคืนทุนอยู่ในช่วงตั้งแต่ในระยะทันทีจนถึง 1 ปี 6 เดือน นอกจากนี้ที่ปรึกษายังให้คาปรึกษาในส่วนของการจัดทำมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2 2 บริษัท คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ 3 บริษัท คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร 2 บริษัท และโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 3 บริษัท อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศอีกด้วยth
dc.description.abstractThe economic growth of the industrial sector has affected ecosystem and environment directly by generating pollution from the consumption of raw materials in production, production process, transportation and waste disposal as can be seen from the current destructed environment. The rise in average global temperature, also called climate change, leads to Global warming. Recently, not only government but also private sector has put a lot of effort into searching for ideas, measures and effective tools for environmental management; in the meantime it is necessary for the industrial sector which plays an important role in the economic growth of the country to develop its capability to compete with others effectively and consecutively. Textiles Industry is one where consumption of chemicals, water and energy are high, especially in textile bleaching dyeing printing and finishing industry where water and air pollutants are formed . The purpose of pollution avoidance and control is to reuduce the environmental impacts produced by industrial processes. Limiting the amount of pollutants released into the environment needs Pollution Management together with whole process control; applying clean technology to production process and environmental assessment for increasing its green productivity level, reducing pollution at source, being aware of resource utilization, and reducing water and chemical consumption, waste and cost simultaneously. The above-mentioned measures will improve productivity of Thailand’s industial sector to boost the level of competition under changing circumstances. The purpose of the project is to distribute knowledge to manufacturers in Thailand’s textiles industry, increase their capability of developing eco-friendly textiles for increasing Green Productivity, or Green Industry level 2-3, and aiming to be Eco Factory, or equivalent to Green Industry level 4. The project focuses on developing and improving production process and environmental management based on sustainable cooperate social responsibility (CSR); internal and external CSR inclulding supply chain in order to respond to customer needs and market which pay more attention to environmentally friendly products presently. After finishing the project, all 10 manufacturers have gained knowledge about clean technology and found the ways to improve their productivity. According to the activity, the result shows the actual cost savings is 2,294,658 baht/year and the payback period for this investment is from now to 1 year and 6 months. Moreover, the advisor has given suggestion for conducting Environmental Management System; Green Industry level 2 in 2 manufacturers, Product Carbon Footprint in 3 manufacturers, Corporate Carbon Footprint in 3 manufacturers, and Eco Factory in 3 manufacturers, which benefits Corperate Resource Management in each company and enhance competitive advantage of their business in a global market.th
dc.description.sponsorshipสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectGreen Productivityth
dc.subjectเทคโนโลยีสะอาดth
dc.subjectGreen Industryth
dc.subjectEco Factoryth
dc.titleการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อเพิ่มผลผลิตสีเขียว (Green Productivity) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประจำปีงบประมาณ 2560
dc.title.alternativeGreen Productivity in Textile Industry by using clean Technology
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ
cerif.cfProj-cfProjId2560A00385
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาอุตสาหกรรม (Industry sector : IN)
turac.contributor.clientสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record