Show simple item record

dc.contributor.authorอุดม รัฐอมฤต
dc.contributor.authorสมคิด เลิศไพฑูรย์
dc.contributor.authorกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2016-04-18T02:24:11Z
dc.date.available2016-04-18T02:24:11Z
dc.date.issued2014
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/236
dc.description.abstractในปัจจุบัน นานาชาติได้เข้ายอมรับและเข้าร่วมใช้ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หลักการของ OECD มาตรฐานของสหประชาชาติ บทบัญญัติของสหภาพยุโรป (EU) และมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ APEC (APEC Privacy Framework) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยตรง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเข้าร่วมหรือการยอมรับข้อปฏิบัติของประชาคมนานาชาติ การจัดทำแนวทาง ขั้นตอน และวิธีการในการเข้าร่วมหรือทำความตกลงตามกรอบว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของ APEC (APEC Privacy Framework) จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพราะจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายและมาตรการในการขับเคลื่อนภารกิจของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ และสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) ให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ คณะที่ปรึกษาได้ศึกษาโดยเน้นการพิจารณาความเหมาะสม และการจัดทำแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการในการเข้าร่วม หรือทำความตกลงตามกรอบว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของ APEC (APEC Privacy Framework) โดยมีผลการศึกษาในประเด็นสำคัญ ดังนี้ เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นโดยรวมแล้ว จะเห็นว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิก หรือการเข้ายอมรับแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลในระดับนานาชาติ เป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ทั้งในด้านภาพลักษณ์และสถานะของประเทศในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในบริบทการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นทิศทางในการพัฒนาของโลกในอนาคตที่เคลื่อนเข้าสู่โลกแห่งข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารไร้พรมแดน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอย่างไร้ขีดจำกัดของระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเคลื่อนไหวถ่ายเทของข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป และจะส่งผลกระทบอย่างแท้จริงต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการธุรกิจโดยตรง การเข้าร่วมใช้แนวทางปฏิบัติตามกรอบการคุ้มครองข้อมูลของเอเปคจึงเป็นสิ่งที่ควรได้รับการผลักดันให้ดำเนินการโดยเร็ว สำหรับในการเข้าร่วม APEC Privacy Framework ของประเทศไทยในอนาคตนั้น ในระยะแรก คณะที่ปรึกษาเห็นว่ามีความจำเป็นต้องจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือถึงความสำคัญและความเหมาะสมตลอดจนท่าทีของประเทศไทยในการเข้าร่วมกรอบการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของ APEC โดยควรมอบหมายหน่วยงานในการเป็นเจ้าภาพบูรณาการการทำงานและติดต่อประสานงาน ซึ่งเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มอนาคตที่ประเทศไทยจะมีการประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในภาคเอกชน คณะที่ปรึกษาเห็นว่า สขร. เป็นหน่วยงานที่เหมาะสมที่จะทำหน้าที่นี้ สำหรับบทบาทของ สขร. ในการเตรียมพร้อมในการเข้าร่วม APEC Privacy Framework ควรมีการดำเนินการดังนี้ 1. สำรวจสภาพปัญหาที่เป็นรูปธรรมของข้อจำกัดหรือปัญหา/อุปสรรคที่เคยเกิดขึ้น กำลังเกิดขึ้น หรือมีแนวโน้มอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต 2. เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ APEC Privacy Framework ต่อสาธารณะอย่างกว้างขวาง ทั้งต่อหน่วยงานของรัฐ องค์กรภาคธุรกิจเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปในฐานะผู้ใช้บริการ ลูกค้า และผู้บริโภคควบคู่ไปกับการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว (Right of Privacy) และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection) 3. จัดฝึกอบรมเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงได้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและเหตุผล ตลอดจนความจำเป็นในการพิจารณาการเข้าร่วมกรอบ APEC Privacy Framework และเน้นการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นสำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ตระหนักและถือปฏิบัติในการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภายใต้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมขององค์กรและบุคลากรที่จะรองรับภารกิจด้านการเจรจาระหว่างประเทศ หากมีการเข้าร่วม APEC Privacy Framework อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการเตรียมความพร้อมสำหรับการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป คณะที่ปรึกษาเห็นว่าในการประชุม Senior Official Meeting ในปี 2558 ประเทศไทยควรประกาศแสดงความสนใจในการเข้าร่วมการดำเนินงานตามกรอบ APEC Privacy Framework ขณะเดียวกันก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วม โดยการสำรวจสภาพการดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย และควรดำเนินการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจต่อบุคลากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการทำความเข้าใจต่อสาธารณะ คณะที่ปรึกษามีความเห็นด้วยว่าควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการจัดทำข้อตกลงในลักษณะเดียวกับของเอเปคในเวที AEC ซึ่งหากมีการจัดทำกรอบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (APEC Privacy Framework) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการกำหนดมาตรการปฏิบัติในทางสากลมาตรฐานใหม่ ควบคู่กับการเลือกใช้กรอบมาตรการเอเปคซึ่งมีอยู่แล้ว There are a number of privacy standards established by international organizations, e.g., the OECD Guidelines on the Protection of Privacy and Transborder Flows of Personal Data, European Union Directive 95/46/EC on the protection of individuals with regard to the processing of personal data and on the free movement of such data, the Convention for the Protection of Individuals with regard to Automatic Processing of Personal Data, the UN Guidelines for the Regulation of Computerized Personal Data Files, and the Privacy Framework developed by the Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC), consisting of 21 members including Thailand. It is, therefore, essential for the Office of the Official Information Commission (OOIC) to study and develop measure for joining and participating in the APEC Privacy Framework. Since information and the processing of information are essential to economic development. In the modern world, economies and trades are no longer geographically limited within a country or national territory. Rather, it is a matter of international relations where countries are connected to one another across the globe. Therefore, ensuring compatible and consistent laws among countries is crucial for international trade and economic growth promotion. For instance, satellite broadcasting, and wireless networks have enabled information to flow beyond territorial limits of a state. Though, the state shall maintain its authority to cease such flows of personal data in a case of misuse. The study finds the importance and necessity of joining the APEC Privacy Framework, hence proposing key measures in participating the Framework as follows: 1. Set up the meeting among concerned authorities to finalize the position of Thailand in joining the APEC Privacy Framework; 2. Delegate the agency in charge of integration of all activities related to participative process; 3. Encourage public awareness of the APEC Privacy Framework, and help it gain an understanding of the Right of Privacy and Personal Data Protection; 4. Educate and provide training programs for state officials through capacity building process for them to be ready for performing as law enforcement and Framework implementation; 5. Prepare relevant documents and discussion with concerned authorities to express the country’s willingness to join the Framework in the upcoming Senior Official Meeting (SOM) in 2015; and 6. Further the readiness preparation after participating the Framework through some significant activities, i.e., surveys of current situation on data privacy and law enforcement in Thailand, developing public understanding, and capacity building for state officers, and people in the private sector, and for the staff of the OOIC in particular. The study also proposes the consideration for the declaration of the ASEAN Privacy Framework as another alternative for data privacy guidelines to be practiced at a somewhat lower level of the APEC, yet closer and more realistic at the ASEAN regional level.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectAPEC Privacy Frameworth
dc.subjectการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวth
dc.titleพัฒนามาตรการในการดำเนินการ พิจารณาความเหมาะสมความเป็นไปได้ เพื่อจัดทำแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการในการเข้าร่วมหรือทำความตกลงตามกรอบว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของ APEC (APEC Privacy Framework)
dc.title.alternativeStudy on feasibility and appropriate measures for joining or making agreement under APEC Privacy Framework
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
cerif.cfProj-cfProjId2557A00290
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)
turac.contributor.clientสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record