พัฒนาต้นแบบระบบอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่งแบบชาญฉลาดสำหรับจัดการ แบตเตอรี่แบบเปลี่ยนได้
by รัชฎา คงคะจันทร์
พัฒนาต้นแบบระบบอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่งแบบชาญฉลาดสำหรับจัดการ แบตเตอรี่แบบเปลี่ยนได้ | |
Prototype Developing of Intelligent IoT Platform for Battery Swapping Management | |
รัชฎา คงคะจันทร์ | |
2565-03-14 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ปัจจุบันวิวัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านพลังงาน ด้วยความจำเป็นจากปัญหาอันเกิดจากการใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การใช้พลังงานทางเลือกอื่น เช่น พลังงานไฟฟ้า ประกอบกับพัฒนาการของรถยนต์และยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า วิวัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet of things) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะทำให้เราสามารถสร้างเครือข่าย ติดตาม รับส่งข้อมูลข่าวสารจากอุปกรณ์และนำมา วิเคราะห์ เพื่อสร้างระบบที่สามารถประมวลแบบชาญฉลาดได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้งานพลังงานทางเลือกในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โครงการระบบอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่งแบบชาญฉลาดสำหรับเทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบเปลี่ยนได้จึงเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งร่วมกับการประมวลผลในรูปแบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างเป็นระบบนิเวศน์ในการติดตาม บริหารจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลแบตเตอรี่แบบเปลี่ยนได้ สำหรับรถและยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยระบบดังกล่าวจะประกอบด้วยการออกแบบพัฒนาแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง การพัฒนาศูนย์ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลแบตเตอรี่และรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ระบบการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อวางแผนเส้นทางที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการการเปลี่ยนแบตเตอรี่เพื่อให้บริการผู้ใช้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ระบบสำหรับตรวจสอบและวินิจฉัยแบตเตอรี่แบบเปลี่ยนได้ ระบบชำระเงิน การพัฒนาโมเดลสำหรับการพยากรณ์ช่วงเวลาในการชาร์จที่เหมาะสม และพัฒนาโปรแกรมจำลองการขับขี่เพื่อทำโมเดลการแนะนำวิธีการขับขี่ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้ใช้เพื่อใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าที่สุด ตลอดจนการออกแบบมาตรฐานสำหรับการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่งแบบชาญฉลาดสำหรับจัดการแบตเตอรี่แบบเปลี่ยนได้ในรถยนต์อัจฉริยะ ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นระบบนิเวศน์ครบวงจรในการบริหารจัดการข้อมูลแบบชาญฉลาดเพื่อรองรับรถยนต์และยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่แบบเปลี่ยนได้ โดยหวังจะเป็นเครื่องมือสำคัญหนึ่งในการส่งเสริมให้เกิดการใช้งานพลังงานทางเลือกและลดการใช้พลังงานในรูปแบบฟอสซิลอันเป็นวัตถุประสงค์ของสำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างยั่งยืนต่อไป In present, the evolution of science and technology is rapidly happening, especially evolution in energy technology. Because of problems arising from the use of conventional energy, for example, fossil fuels. This causes the development and transition to the use of alternative energy such as electric power, together with the development of cars and vehicles that are driven by electric energy. The evolutionary leap in technology such as Internet of Things which enable us to develop the network, track and trace the data from the smart devices and use them to create a platform that can be intelligent to encourage the use of alternative energy in electric vehicles. Prototype Developing of Intelligent IoT Platform for Battery Swapping Management project has an objective to develop and use all kinds of technology together with artificial intelligence technology to create an ecosystem for tracking, reviewing, managing and analyzing data from the electronic cars and vehicles which use a swapping battery. The project scopes compose of Internet of Things platform design, developing of data analytics center, battery swapping payment system, optimization route planning for battery swapping system, battery swapping detection and diagnosis system, standard design for installing intelligent IoT in smart cars, and prediction modelling for battery charging and driving behavior simulation for energy saving modules. This will enable the ecosystem for intelligent IoT platform for battery swapping management which is one of the objectives of energy conservation and promotion fund office. |
|
ต้นแบบระบบอินเทอร์เน็ต
แบตเตอรี่แบบเปลี่ยนได้ สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1065 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|