ศึกษาและพัฒนาต้นแบบผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงเพื่อประโยชน์สาธารณะ
by พรรษา รอดอาตม์
ศึกษาและพัฒนาต้นแบบผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงเพื่อประโยชน์สาธารณะ | |
To study and develop the public broadcasting senior's operator prototype. | |
พรรษา รอดอาตม์ | |
2564-12-28 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
โครงการศึกษาและพัฒนาต้นแบบผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงเพื่อประโยชน์สาธารณะมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสถานภาพและการดำเนินงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการประเภทบริการสาธารณะและบริการชุมชน 2. เพื่อศึกษาเกณฑ์ต้นแบบสถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งประเภทบริการสาธารณะและประเภทบริการชุมชนมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการประเมินและคัดเลือกสถานีวิทยุต้นแบบ 3. เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของสถานีวิทยุกระจายเสียงประเภทบริการสาธารณะและประเภทบริการชุมชนในประเทศไทย 4. เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้กับบุคลากรของสำนักงาน กสทช. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค คณะทำงานได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการวิทยุสาธารณะและชุมชนย้อนหลังในประเทศ 3 ปีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการวิทยุสาธารณะและชุมชนอื่นๆ ศึกษาเกณฑ์มาตรฐานของสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อประโยชน์สาธารณะต้นแบบใน 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร/อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น จากนั้นนำมาสร้างเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดสถานีวิทยุกระจายเสียงประเภทบริการสาธารณะและบริการชุมชนใน 4 ประเด็น ได้แก่ การบริหารจัดการองค์กร เนื้อหาและรูปแบบรายการ การเงินและแหล่งทุน และหลักการของสถานีวิทยุสาธารณะและชุมชน เมื่อได้เกณฑ์จากสถานีวิทยุกระจายเสียงต้นแบบแล้ว คณะทำงานได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อนำไปสำรวจหาตัวชี้วัด/เกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อทำการประเมินสถานีวิทยุกระจายเสียงประเภทบริการสาธารณะและบริการชุมชน การจัดประชุมกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงทั้งประเภทบริการสาธารณะและบริการชุมชนทั้ง 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ภาคตะวันออกเฉียง และภาคกลาง การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงทั้งประเภทบริการสาธาณะและบริการชุมชน นักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สังคมศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ กสทช. ที่เกี่ยวข้องทำให้ได้เกณฑ์มาตรฐานในการประเมินสถานีวิทยุกระจายเสียงต้นแบบ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 1. ตัวชี้วัด/เกณฑ์การประเมินสถานีวิทยุกระจายเสียงประเภทบริการสาธารณะต้นแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้ 1.1 การบริหารจัดการองค์กร ประกอบด้วย 9 ตัวชี้วัด คือ 1. การกำหนดแนวทาง/นโยบายที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม เสริมสร้างมาตรฐานให้กับประชาชนและสังคมให้ดีขึ้น 2. แนวทางการบริหารเงินที่ได้มาอย่างโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล 3. บทบาทในการสร้างชุมชน อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของชาติ 4. มุ่งเน้นการสร้างคุณค่าส่งเสริม สนับสนุนและบูรณาการศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศ 5. ปฏิบัติตามแนวทางที่ กสทช. กำหนดเพื่อให้ทุกสถานีวิทยุฯ มีแนวทางการปฏิบัติงานที่เหมือนกัน 6. วางแผนเข้ารับการฝึกอบรมด้านบริหารจัดการและเทคโนโลยีจากมืออาชีพ 7. แนวทางหรือนโยบายที่จะชักชวนให้มีอาสาสมัครเข้าร่วมทำงานกับสถานีวิทยุ 8. นโยบายที่คำนึงถึงการคุ้มครองเยาวชนและศักดิ์ศรีส่วนบุคคล และ 9. การเปิดโอกาสให้สถานีวิทยุฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งองค์กร/หน่วยงานย่อยทำหน้าที่หารายได้สนับสนุนสถานีวิทยุโดยเฉพาะเช่นเดียวกับสถานีวิทยุฯ ในต่างประเทศเพื่อความคล่องตัวในการหารายได้ 1.2 เนื้อหาและรูปแบบรายการ ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. เนื้อหามีจุดเด่นและน่าสนใจตอบสนองความต้องการของผู้ฟัง 2. เป็นกลาง สร้างสรรค์ จรรโลงใจ น่าเชื่อถือ ยกระดับรสนิยม และส่งเสริมประชาธิปไตย 3. มีรูปแบบการลงพื้นที่พบปะผู้ฟังเพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาร่วมกัน และ 4. นำเสนอข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้วัฒนธรรม อุตสาหกรรม ความบันเทิง ในลักษณะรูปแบบรายการที่เจาะลึก เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ และแรงบันดาลใจให้กับผู้รับฟัง 1.3 การเงินและแหล่งทุน ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. ได้รับเงินอุดหนุน การบริจาคโดยตรงจากสาธารณะ ประชาชน 2. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐบางส่วน 3. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐเต็มจำนวน 4. รายได้จากภาษีทั่วไป เช่น การหักค่าไฟฟ้ารายเดือน ค่าน้ำ ฯลฯ 5. ได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ (Sponsorship) และ 6. มีรายได้จากการโฆษณา 1.4 หลักการของวิทยุสาธารณะ ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. คำนึงถึงหลักความถูกต้อง เที่ยงตรง ตามข้อเท็จจริง (Accuracy and Truthfulness) ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 2. ความเป็นอิสระ (Independence) จากรัฐ ทุน สามารถนำเสนอความคิดได้อย่างอิสระ ไม่มีอิทธิพลทางการเมืองและเชิงพาณิชย์ 3. การพัฒนา (Development) คุณภาพคน คุณภาพสังคม และพัฒนาประชาธิปไตย มาตรฐานการทำงานของบุคลากรและผู้ร่วมผลิตรายการ 4. ความเชื่อถือ ไว้วางใจได้ (Credibility) ทำงานด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อสังคม 5. ความโดดเด่น (Distinctiveness) ด้านคุณภาพและลักษณะของรายการ การนำเสนอสิ่งใหม่ๆ เสมอ แต่ต้องสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติบรรทัดฐาน และค่านิยมของชุมชนและสังคม 1.5 ผลการประเมินสถานีวิทยุกระจายเสียงประเภทบริการสาธารณะในประเทศไทย พบว่าสถานีวิทยุกระจายเสียงฯ ทั้ง 4 ภาคผ่านการประเมินในด้านเกณฑ์การบริหารจัดการองค์กร เนื้อหาและรูปแบบรายการและปฏิบัติงานตามหลักการของวิทยุสาธารณะ สำหรับเกณฑ์ด้านการเงินและแหล่งทุนพบว่าสถานีวิทยุกระจายเสียงประเภทบริการสาธารณะ ทั้ง 4 ภาคมีทั้งที่ผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์ โดยภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ผ่านเกณฑ์การดำเนินการด้านการเงินและแหล่งทุนเป็นไปตามตัวชี้วัดการได้รับเงินอุดหนุน การบริจาคโดยตรงจากสาธารณะ ประชาชน แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่่ผ่านตัวชี้วัดนี้ เนื่องจากไม่ได้รับเงินอุดหนุน การบริจาคโดยตรงจากสาธารณะ ประชาชน แม้ว่าสถานีวิทยุฯ ประเภทบริการสาธารณะจะเห็นด้วยกับตัวชี้วัดด้านการมีรายได้จากการโฆษณา การได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐเต็มจำนวน การได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบางส่วนและการได้รับสนับสนุนจากผู้สนับสนุน (Sponsor) แต่พบว่าในทางปฏิบัติและการดำเนินงานจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นแต่อย่างใด จึงทำให้ไม่ผ่านตัวชี้วัดนี้ 2. ตัวชี้วัดในการประเมินสถานีวิทยุกระจายเสียงประเภทบริการชุมชนต้นแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 การบริหารจัดการองค์กร ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. หลักการบริหารแบบประชาธิปไตยภายใต้หลักการเลือกตั้ง/ประชุมหาข้อสรุป/กำหนดกรอบ/สร้างจิตสำนึก 2. หลักการบริหารอย่างเป็นอิสระ ปราศจากการครอบงำจากภายในและจากอิทธิพลภายนอก 3. การดำเนินงานที่มุ่งเน้นประโยชน์ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการรับฟังของชุมชน 4. สถานีวิทยุชุมชนเป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณีคุณค่าของท้องถิ่น และเป็นเครื่องมือพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง 5. ให้ชุมชนทุกกลุ่ม เช่น อาสาสมัคร เยาวชน ผู้หญิง ผู้พิการ คนหนุ่มสาว ฯลฯ ได้คิด วางแผน กำหนดนโยบาย แสดงความคิดเห็นต่อสถานีวิทยุฯ เพื่อนำไปสู่การพัฒนา 6. แนวทางการบริหารที่กระตุ้นให้ผู้ฟังทุกกลุ่มเป็นเจ้าของวิทยุชุมชน/สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกับชุมชน และ 7. การมีคณะกรรมการจำนวนครึ่งหนึ่งมาจากคนในชุมชน อาสาสมัคร อีกครึ่งหนึ่งมาจากเจ้าหน้าที่ของสถานี 2.2 เนื้อหาและรูปแบบรายการ ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. การนำเสนอข่าวสาร ข้อมูลให้ความรู้ ให้การศึกษาเชิงลึก ให้ความบันเทิงที่มีสาระทั้งในส่วนกลาง ภูมิภาค และภายในชุมชน 2. การนำเสนอเนื้อหาที่เป็นภูมิปัญญา อัตลักษณ์ รากเหง้า วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น เพื่อแสดงตัวตนของชุมชน 3. ผังรายการและผู้ดำเนินรายการที่มีความหลากหลายแต่มีความสอดคล้องกับชุมชน 4. นำเสนอเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องหรือใกล้ตัวท้องถิ่น/ชุมชน เช่น เหตุการณ์ประจำวัน การจราจร ดินฟ้าอากาศ อาหารการกิน บริการสังคมสาธารณะ ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่น 5. การสำรวจความต้องการของผู้ฟังเป็นระยะๆ นำไปสู่การคัดสรรเนื้อหาและรูปแบบรายการที่เหมาะสม และ 6. การออกอากาศมากกว่า 2 ภาษา ได้แก่ ภาษากลาง ภาษาท้องถิ่น และภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ 2.3 การเงินและแหล่งทุน ประกอบด้วย 8 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. การได้รับเงินอุดหนุน/สนับสนุนจากรัฐหน่วยงานท้องถิ่น 2. พัฒนาให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเงิน สร้างรายได้ให้กับชุมชนและสถานีวิทยุฯ 3. จัดตั้งกองทุนวิทยุชุมชนหรือมูลนิธิโดยรัฐบาลให้การสนับสนุนผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. ได้จากการระดมทุน/การบริจาคภายในชุมชนเป็นหลัก 5. จัดงานประเพณีและวัฒนธรรม เช่น ทอดกฐินผ้าป่า ฯลฯ 6. หารายได้ “บางส่วน” จากโฆษณา 7. จำหน่ายสินค้าที่ระลึกหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 8. การขายเวลาของสถานีวิทยุฯ ให้กับองค์กรต่าง ๆ เข้ามาจัดรายการ 2.4 หลักการของวิทยุชุมชน ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนผ่านข่าวสารที่รอบด้าน ส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นอย่างจริงจัง 2. มีส่วนกระตุ้นให้คนในชุมชนได้รู้เท่าทันนักการเมือง กลุ่มผลประโยชน์และสื่อทุกประเภท และ 3. มีการบริหารจัดการด้วยตัวเอง (self-management) /จัดการโดยชุมชนเท่านั้น 2.5 ผลการประเมินสถานีวิทยุกระจายเสียงประเภทบริการชุมชนในประเทศไทย พบว่าผู้ประกอบการ 3 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านเกณฑ์ในการประเมินด้านการบริหารจัดการองค์กรเนื้อหาและรูปแบบรายการ การเงินและแหล่งทุน และหลักการของวิทยุชุมชน ยกเว้นภาคกลางแม้จะผ่านเกณฑ์การบริหารจัดการองค์กร เนื้อหาและรูปแบบรายการ และหลักการของวิทยุชุมชน แต่ไม่ผ่านเกณฑ์การเงินและแหล่งทุนเนื่องจากไม่มีรายได้ “บางส่วน” จากโฆษณา ไม่มีการระดมทุน/การบริจาคภายในชุมชนเป็นหลัก ไม่มีการจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน และไม่มีการจัดงานประเพณีและวัฒนธรรม เช่น ทอดกฐิน ผ้าป่า ฯลฯ โดยอาจจะมีแนวทางการหาเงินและแหล่งทุนรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมมากกว่าตามตัวชี้วัดนี้ The study and development of a prototypical broadcasting operator for the public benefit project has the following objectives: 1. To study the status and operation of a radio station that has been licensed to conduct experimental business in the public community service. 2. To study the criteria model for both public and community radio broadcasting stations and apply that criteria to evaluate and select prototypical Thai radio stations. 3. To study the appropriate model of public and community radio stations in Thailand. 4. To pass on the acquired knowledge to both central and provincial NBTC officials. The working group has conducted a 3-year retrospective study regarding the public and community radio business operations within Thailand. The working group went on to conduct studies in 5 other countries, USA, United Kingdom, Germany, Australia and Japan. The results produced benchmarks which were used as a guideline for public and community radio broadcasting. These guidelines fall into 4categories: organizational management; content and program format, finance and funding sources, and principles of public and community radio stations. After receiving the indicators from a prototypical radio station, the working group prepared a questionnaire to conduct a survey to find out the suitable indicators or criteria which assess the public and community radio broadcasting station. The group organized meetings with broadcasting operators in both public and community service in 4 regions of Thailand: northern, southern, northeastern and central. The broadcasting operators from each of these regions provided feedback. In addition, the working group also organized the meetings with academic professionals in journalism, communication arts, social sciences, and relevant NBTC officials to receive the feedback. The feedback from broadcasting operators in both public and community service and academic professionals set the benchmarks for radio broadcasting station assessment as follows: The indicators/criteria for evaluating the public radio broadcasting in Thailand are as follow: 1.1 Organizational management consists of 9 indicators: 1) determination of guidelines and policies that provide the utmost benefit to, and raise standards for, people and society, 2) the guidelines of budget transparency and good governance, 3) the role in building community and national identity, 4) focus on creating values, promoting, supporting and integrating the arts and culture of the country, 5) National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC) stipulates that all radio stations have the same operational guidelines, 6) plans to receive professional training in management and technology ,7) guidelines or policies to persuade volunteers to work with radio stations, 8) policies that protect youth and individual pride, and 9) the radio stations are encouraged to set up organizations which are responsible for creating campaigns to increase revenue in appropriate ways just like other public broadcasting in other countries. 1.2 Content and format of the program consists of 4 indicators: 1) the content is distinctive, interesting and engaging to the audience, 2) the content should be neutral, creative, uplifting, trustworthy, enhance taste and promote democracy, 3) participating in fieldwork, and engaging with the local community, 4) the content should be in-depth and well present news, culture, industry, entertainment create new experiences and inspire the audience. 1.3 Finance and funding sources consist of 6 indicators: 1) the subsidies are received directly from donation by the public, 2) the funding is partially provided by government agencies, 3) the funding is fully received from the government, 4) income from general taxes such as monthly electricity bills, water bills, etc., 5) the funding is provided by sponsors (sponsorship), and 6) advertising revenue. 1.4 The principle of public service radio broadcasting consists of 5 indicators: 1) the broadcasters should work under the principles of accuracy and truthfulness, fairness to all parties, 2) the right to have freedom of expression and be free of State, political or commercial interference, 3) strive to improve humanity, social equality, democracy, and higher working standards for the broadcasters and co-producers, 4) broadcasters should work under the principle of credibility which refers as professional ethics and social responsibility, and 5) distinctiveness, which refers to the quality, format and timeliness of the program; however, it still preserves the customs, norms and values of the community and society. 1.5 The evaluation result of public service broadcasting in Thailand found that stations in all four regions passed the assessment in terms of organizational management criteria, content and format. Moreover, broadcasters can operate in accordance with the principles of public service broadcasting. Regarding the criteria in financial and funding sources, it appears that public service broadcasters in all four regions were both qualified and unqualified. The central, northern and southern regions passed the financial and funding sources criteria due to the direct public donations. The broadcasters in the northeastern region did not pass this criteria, because they don’t receive subsidies and direct public donations. 2. The Indicators for evaluating community service broadcasting station that suitable for Thailand are as follow: 2.1 Organizational management consists of 7 indicators: 1) principles of democratic management under the principles of election/conference meeting/defining framework/building awareness, 2) principles of independent management without internal and external interference, 3) operations with a focus on the utmost benefit to the audience, 4) community radio stations support mutual learning, which helps to promote local wisdom, culture, traditions, local values and develop a stronger community, 5) Let all groups of communities, such as volunteers, youth, women, disabled people, and etc., brainstorm ideas, formulate policies, give feedback to develop the radio stations, 6) management guidelines that encourage all groups of listeners to create a sense of ownership within the community and 7) the staff ratio of a community radio station should be half community people and volunteers; the other half being professional employees. 2.2 Content and format of the program consists of 6 indicators: 1) presentation of news, information, knowledge should be in-depth, entertaining, and cover new across different levels: central, district and within the community, 2) Presentation of content should show wisdom, identity, roots and culture of each locality, to show the identity of the community, 3) program charts and broadcasters should be diverse, but yet conform to a community, 4) presentation of content should be related to or close to locality/community such as daily events, traffic, weather conditions, food, public social services ,and local knowledge, 5) the radio station should periodically conduct surveys about the audience needs, which will help the broadcasters select suitable content and program formats, and 6) the community broadcasters are encouraged to use a variety of language in broadcasting. 2.3 Finance and funding sources consist of 8 indicators: 1) radio stations receive subsidies/support from the state or local agencies, 2) earning income from developing the community to be a tourist attraction which generate income for the community and radio stations, 3) establishing a community radio fund or a foundation, which the government will provide support through relevant agencies, 4) the source of funds is mainly from fundraising/donation within the community, 5) organizing traditional and cultural events such as Kathin Robe Offering, etc.,6) earning “some “income from advertisements, 7) selling souvenirs or community products, and 8) syndication of programs, sell the rights to air to various organizations, generate the income to the station. 2.4 The principle of community radio broadcasting consists of 3 indicators as follows: 1) the station should be a learning center for the community by broadcasting comprehensive news and promoting local culture and traditions, 2) encouraging people in the community to be aware of politicians, interest groups and all types of media, 3) community radio stations are encouraged to have self-management, radio stations are only managed by the community. 2.5 Assessment results of community service broadcasting radio stations in Thailand found that broadcasters in 3 regions, north, south, and the northeast, passed the criteria for assessing organizational management, content and format, finance and funding and principles of community radio. However, the community radio stations in central region, could not pass financial and funding criteria. These stations could not earn enough income from selling advertisements or merchandise and they don’t receive fundraising or donations within the community. |
|
พัฒนาต้นแบบผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง
กสทช. กิจการวิทยุสาธารณะและชุมชน |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1043 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|