จัดทำแบบประเมินผลการเข้าถึงและจำนวนผู้ชมรายการโทรทัศน์ ระยะที่ 3
by พรทิพย์ พิมลสินธุ์
จัดทำแบบประเมินผลการเข้าถึงและจำนวนผู้ชมรายการโทรทัศน์ ระยะที่ 3 | |
Reach and Audience Evaluation Form, Phase 3 | |
พรทิพย์ พิมลสินธุ์ | |
2564-08-27 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การประเมินผลรายการ “ชุมชน...มีสุข” มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา (1) เพื่อประเมินการรับรู้รายการ “ชุมชน...มีสุข” ที่เผยแพร่ผ่านทางช่อง 7HD (2) เพื่อประเมินการรับรู้หน่วยงานที่จัดทำรายการ “ชุมชน..มีสุข” ที่เผยแพร่ผ่านทางช่อง 7HD (3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อรายการ “ชุมชน...มีสุข” ที่เผยแพร่ผ่านทางช่อง 7HD (4) เพื่อประเมินความรู้ที่ได้รับของกลุ่มเป้าหมายจากรายการ “ชุมชน...มีสุข” ที่เผยแพร่ผ่านทางช่อง 7HD และ (5) เพื่อประเมินความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานที่จัดทำรายการ “ชุมชน...มีสุข” ที่เผยแพร่ผ่านทางช่อง 7HD การศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กำหนดจำนวนตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในประเภทของการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) ผลการประเมินการรับชมรายการ “ชุมชน...มีสุข” พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 65.25 ระบุว่าเคยรับชมรายการ “ชุมชน...มีสุข” และกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 400 คน ทราบว่าเป็นรายการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 1. ภาพรวมความพึงพอใจที่มีต่อรายการ “ชุมชน...มีสุข” กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้รับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.2108 ประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดมีถึง 4 ประเด็น เรียงตามคะแนนเฉลี่ยที่ได้รับ คือ เรียงตามคะแนนเฉลี่ยที่ได้รับ คือ (1) ความรู้ที่ได้รับจากรายการ (4.4725) (2) เนื้อหามีการสื่อสารเข้าใจง่าย มีสาระครบถ้วน ดูทันสมัย น่าสนใจ ชวนติดตาม (4.4375) (3) ภาษาที่ใช้บรรยายเข้าใจง่าย (4.3100) (4) รูปแบบของรายการ (4.3025) ส่วนประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจน้อยกว่าประเด็นอื่นๆ ควรนำมาพิจารณา คือ (1) เสียงบรรยาย (4.1325) (2) ภาพประกอบคมชัด สวยงาม สื่อความหมายตรงตามเนื้อหาที่นำเสนอ (4.1100) (3) ความเหมาะสมของช่วงเวลาออกอากาศ (4.1075) (4) ระยะเวลาของรายการ (4.0300) (5) เพลงบรรเลงมีจังหวะเข้ากับรูปแบบของรายการ (3.9950) 2. ความรู้ที่ได้รับจากรายการ “ชุมชน...มีสุข” กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาชุมชนของ ธ.ก.ส. ให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และได้รับความรู้เกี่ยวกับชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีการพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนอุดมสุขใน 4 มิติ คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านประเพณีวัฒนธรรม 3. การได้ดูรายการ ”ชุมชน...มีสุข” ทำให้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.50 ความรู้สึกที่มีต่อ ธ.ก.ส. ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะมีความรู้สึกที่ดีอยู่แล้ว รองลงมากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.00 มีความรู้สึกดีขึ้นต่อภาพลักษณ์ของ ธ.ก.ส. The evaluation of the "Meesuk Community" is to study as follows: (1) To assess the perception of the “Meesuk Community” programme broadcasted on television channel 7HD (2) To evaluate the perception of the agencies that created the “Meesuk Community” programme broadcasted on television channel 7HD (3) To evaluate the satisfaction of the target group towards the “Meesuk Community” programme broadcasted on television channel 7HD (4) To assess the knowledge gained from the “Meesuk Community” programme broadcasted on television channel 7HD by the target group. (5) To evaluate the opinions of the target group towards the good image of the organization that created the “Meesuk Commuity” programme broadcasted on television channel 7HD. These studies were conducted only the population living in Bangkok and its vicinity. Four hundred samples were collected by using the quantitative research method (Quantitative Research) in the category of research with survey (Survey Research). The evaluation results of the viewing the “Meesuk Community” programme found that 65.25% of the sample group stated that they have viewed the programme; while all of 400 samples were aware of the programme produced by the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. 1) Overall satisfaction towards the programme, “Meesuk Community”: the sample with the highest satisfaction was at an average score of 4.2108. There are four issues, listing in order per average score, which most samples are most satisfied with: 1.1) Knowledge gained from the programme (4.4725) 1.2) The content is easy to understand with complete information, up to date, interesting and to follow (4.4375) 1.3) Descriptive language is easy to understand (4.3100) 1.4) Pattern of the programme (4.3025) The issues that the sample group is satisfied less which should take into consideration, include: 1.1) Audio commentary (4.1325) 1.2) Illustrating photos are sharp, beautiful and meaningful in accordance with the content presented (4.1100) 1.3) The broadcast time is appropriate (4.1075) 1.4) Duration of programme (4.0300) 1.5) The instrumental music has a rhythm that corresponds to the theme of the programme (3.9950) 2) Knowledge gained from the programme, “Meesuk Community”: with more than 90% learned about community development approach by Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, include; • To be strong, can be self-sufficient sustainably • Gain knowledge about model community based on the Sufficiency Economy philosophy which has developed into community of happiness in 4 dimensions: economy, social, environment and cultural traditions 3) Watching the "Meesuk Community" programme makes the sample group of 59.50% feel as good as before about the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives; and the sample group of 38.00% feel better towards the Bank. |
|
แบบประเมินผล
การเข้าถึงและจำนวนผู้ชมรายการโทรทัศน์ รายการ “ชุมชน...มีสุข” ช่อง 7HD |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
บริษัท เอ็นไอ.คอม จำกัด | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1013 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|