Show simple item record

dc.contributor.authorศุภชัย ศรีสุชาติth
dc.date.accessioned2020-12-30T07:52:05Z
dc.date.available2020-12-30T07:52:05Z
dc.date.issued2563-12-30
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/957
dc.description.abstractประเทศไทยเป็นสังคมของผู้สูงอายุ โดยในปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยมีประชากรที่อายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไปประมาณ 10,225,322 คน คิดเป็นร้อยละ 15.82 ของประชากรทั้งหมด มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (2558) คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด) ในปี พ.ศ.2564 และในปี พ.ศ.2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือ ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด การจ้างงานผู้สูงอายุเป็นมาตรการที่สำคัญของประเทศที่เป็นสังคมผู้สูงอายุ เพราะจะทำให้ประเทศสามารถรักษากำลังการผลิตในระยะยาว และเป็นมาตรการทางสังคมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นผู้สูงอายุ รวมถึงเป็นหลักประกันทางรายได้ในกับผู้สูงอายุและช่วยบรรเทาการเพิ่มขึ้นของภาระงบประมาณภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว การจ้างงานผู้สูงอายุมีวิธีการดำเนินการได้หลายรูปแบบ แต่มาตรการหลักยังคงเป็นไปตามกลไกของตลาดแรงงานและยังคงขึ้นกับความต้องการของนายจ้างที่จะตัดสินใจจ้างงานผู้สูงอายุหรือไม่ซึ่งในทางปฏิบัติมีจำนวนไม่มากนักเนื่องจากระบบการเกษียณของภาคเอกชนส่วนใหญ่กำหนดไว้ที่อายุ 55 ปี ส่งผลให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มีการเข้ามาร่วมกันในรูปแบบประชารัฐเพื่อการจ้างงานผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ สำหรับกรณีของประเทศไทยได้มีมาตรการเพื่อรองรับการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญ คือกลไกการขับเคลื่อนงานตามนโยบายประชารัฐเพื่อสังคม (E6) โดยเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนการทำงานเพื่อสังคม โดยประเด็นของการจ้างงานเป็นหนึ่งในการดำเนินงานของมาตรการนี้ และจากข้อมูลของการทำงานของผู้สูงอายุที่มีลักษณะของการทำงานในรูปแบบอาชีพอิสระและมีสัดส่วนที่สูงกว่าการทำงานในระบบ (ต้องมีนายจ้าง) ภาครัฐจึงควรสร้างแนวทางของการจ้างงานผู้สูงอายุตามนโยบายประชารัฐเพื่อสังคม โดยมีรูปแบบเพื่อเสริมสร้างการจ้างงานผู้สูงอายุได้ 3 รูปแบบ ประกอบด้วย รูปแบบที่ 1 เป็นการจ้างงานผู้สูงอายุที่อยู่ในระบบการทำงานแบบมีนายจ้างหรือการขยายการเกษียณอายุการทำงาน โดยเน้นผู้สูงอายุที่มีการทำงานอยู่ในระบบ รูปแบบที่ 2 เป็นการจ้างงานผู้สูงอายุผ่านระบบของการทำงานไม่เต็มเวลา เป็นแรงงานส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตหรืออยู่ในห่วงโซ่อุปทานของกระบวนการผลิตให้กับบริษัท รวมถึงการจัดระบบตลาดสินค้าที่มีผู้สูงอายุเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้ขาย ซึ่งเป็นการดำเนินการที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งกลไกส่งเสริมรูปแบบของการทำงานกลุ่มนี้ คือ มาตรการภาครัฐที่ส่งเสริมให้สถานประกอบการมีความยืดหยุ่นในการจ้างงานผู้สูงอายุ เช่น การทำตลาดสินค้าให้กับผู้สูงอายุ และการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการเป็นผู้ประกอบการและการเพิ่มทักษะการทำงานให้ผู้สูงอายุ รูปแบบที่ 3 เป็นการจ้างงานผู้สูงอายุผ่านกลไกของการทำ CSR ของกิจการต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมาเป็นงบประมาณเพื่อการจ้างผู้สูงอายุ การบริจาคเพื่อให้เกิดกิจกรรมที่ส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุในการทำงาน ซึ่งการดำเนินการลักษณะนี้อาจไม่ได้เกิดการจ้างงานมากนักและอาจขาดความต่อเนื่อง แต่เป็นการทำให้กิจการและสังคมเกิดความตระหนักในความสำคัญของการจ้างงานผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ภาครัฐควรมาตรการเสริมอื่นๆ เพื่อจูงใจให้เกิดการจ้างงานผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ และไม่เป็นการบังคับสถานประกอบการให้ต้องมีการรับผู้สูงอายุเข้าทำงาน แต่เป็นการดำเนินการในลักษณะของความสมัครใจและมีการส่งเสริมหรือให้การสนับสนุนผ่านรูปแบบทั้งเป็นตัวเงินและมิได้เป็นตัวเงินจากภาครัฐ ซึ่งตัวอย่างของมาตรการกลุ่มนี้ เช่น การยกย่องสถานประกอบการที่เป็นต้นแบบของการจ้างงานผู้สูงอายุ การส่งเสริมให้ภาคการเงินมีนวัตกรรมทางการเงินที่เหมาะสมต่อสังคมผู้สูงอายุ การส่งเสริมการอบรมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้สูงอายุ เป็นต้น The change in the population structure resulted in an ageing society in Thailand. The current number of populations aged 60 years old and above is 10,225,322 persons or approximately 15.82 percent of total population. The Foundation of Thai Gerontology Research (2014) states that Thailand is expected to have an aged society by the year 2021. In addition, the proportion of the hyper-aged is forecasted to reach 28 by 2031. Government policies related to extending the retirement age and reemployment older workers are essential to support the current and future population structure. These policies will allow the country to maintain production capacity in the long run as well as enhance social measures and dignity of the elderly. In addition, these policies will allow older workers to achieve financial security and will reduce the old-age dependency ratio in Thailand. Government policies related to extending the retirement age and reemployment older workers have several ways to proceed. The main measures still follow the labor market mechanism and demand of employers to decide to hire older workers. No formal workers in the private sector have a specific legal age for retirement. The age of retirement for these workers can be negotiated between employees and employers in the work contract. The age usually agreed upon is 55 and that is based on the eligibility to receive a pension from a social security fund. The public sector, private sector and civil society should come together in a civil state form for systematic employment of the older workers. Under civil state for society policy (E6), older worker employment is introduced and driven by a collaboration of government, private sector and civil society. The government should therefore design guidelines for older worker employment especially for those in the informal sector. Three possible models are as follows: The first model is to extend the retirement age and to reemploy current older workers in the formal sector. Second model is to offer older workers a part-time job position in during production process of the supply chain for the firms. In addition, older workers are encouraged to become producers as well as sellers for their own products through local market event. Government measures can support enterprises to have flexibility in hiring older workers through different channels. For example, having the product market platform for the elderly, promoting the elderly to have knowledge of entrepreneurship, and providing skills training sessions. The third model is an employment through the Corporate Social Responsibility (CSR) channel. It is a channel that reallocate social responsibility budget to hire older workers. The limitation of the third model is the lack of continuity. Nevertheless, this could trigger the business and society to realize the importance of hiring older workers. Together with older worker employment, supporting measures should be promoted; for example, honoring the firms with older worker employment program, promoting the financial institutes to provide financial tools for the elderly, creating a sound working environment and working with academic institutions on designing life-long learning courses for older workers.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectการมีงานทำของผู้สูงอายุth
dc.subjectนโยบายประชารัฐเพื่อสังคม (E6)th
dc.subjectกรมกิจการผู้สูงอายุth
dc.titleส่งเสริมการมีรายได้และการมีงานทำของผู้สูงอายุ ตามนโยบายประชารัฐเพื่อสังคม (E6)th
dc.title.alternativePromoting Income and Employment for Seniors under the Civil State for Society Policy (E6)th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมกิจการผู้สูงอายุth
cerif.cfProj-cfProjId2561A00137th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)th
turac.contributor.clientกรมกิจการผู้สูงอายุ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleส่งเสริมการมีรายได้และการมีงานทำของผู้สูงอายุ ตามนโยบายประชารัฐเพื่อสังคม (E6)th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record