พัฒนาศูนย์วิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูลด้านไฟฟ้า ระยะที่ 1
by นพพร ลีปรีชานนท์
พัฒนาศูนย์วิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูลด้านไฟฟ้า ระยะที่ 1 | |
The Development of Forecast and Data Analytic Center in Electricity Sector: Phase-1 | |
นพพร ลีปรีชานนท์ | |
2563-09-21 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ประเทศไทยอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายสมาร์ทกริด พ.ศ. 2558 – 2579 รวมถึงแผนปฏิรูปพลังงาน ที่ร่างในปี พ.ศ. 2560 โดยมี 3 เสาหลัก ด้าน การบริหารจัดการพลังงาน ระบบพลังงานหมุนเวียน และระบบไมโครกริด โดยเสาหลักที่สอง ซึ่งเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญมากขึ้นจากนโยบายการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน กำหนดเป้าหมายพลังงานทดแทนไว้ที่ 30% โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียนที่แปรผันตามสภาพอากาศ เรียกว่าพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวน (Variable Renewable Energy: VRE) เพื่อนำไปใช้ในการบริหารระบบส่งและจำหน่ายซึ่งมีการเชื่อมต่อกับ VRE ได้อย่างมีเสถียรภาพ มีประสิทธิภาพ การสูญเสียในระบบต่ำ และมีค่าใช้จ่ายต่ำ โดยระบุให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการศึกษาระยะที่ 1 เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งและโครงสร้างของศูนย์วิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูลด้านไฟฟ้า โดยผลการศึกษามีแนวทางการจัดตั้งดังนี้ 1) สภาพโครงสร้างปัจจุบันของประเทศ มีสัดส่วนกำลังการผลิตของประเทศไทยพบว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอยู่ประมาณ 3900 เมกะวัตต์ ซึ่งเทียบกับกำลังการผลิตรวมที่ ประมาณ 40,000 เมกะวัตต์ถือว่า มีสัดส่วนเกือบถึง 10% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมจากภาครัฐและการลงทุนของภาคเอกชน ตามแผนพลังงานทดแทน พ.ศ. 2558 ได้กำหนดเป้าหมายพลังงานทดแทนไว้ที่ 30% ดังนั้นประเทศไทยจึงควรเตรียมความพร้อมของสถานการณ์ในอนาคต 2) การศึกษาโครงสร้างและระบบพยากรณ์ของต่างประเทศ พบว่าประเทศที่มีการสนับสนุนและใช้งานพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนได้แก่ประเทศ เยอรมัน ออสเตรเลียและอินเดีย พบว่าประเทศเหล่านี้มีการกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียนไว้สูงกว่า 20% และยังคงมีแผนในการเพิ่มสัดส่วนต่อไป ประเทศเหล่านี้มีระบบและศูนย์พยากรณ์พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจสั่งเดินเครื่องและบริหารจัดการระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาว 3) การเสนอโครงสร้างรูปแบบการจัดตั้งและการพยากรณ์ในประเทศไทย รูปแบบของโครงสร้างของการบริหารองค์กร ศูนย์วิเคราะห์และศูนย์พยากรณ์ข้อมูลไฟฟ้า ประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายพัฒนาระบบและสารสนเทศสถิติข้อมูลไฟฟ้า ฝ่ายข้อมูลสถิติข้อมูลไฟฟ้า ฝ่ายวิเคราะห์และการพยากรณ์ข้อมูลไฟฟ้า ฝ่ายมาตรฐานข้อมูลและการสื่อสารและฝ่ายประสานงานและการเผยแพร่ ซึ่งสามารถประมาณการจำนวนบุคลากรในแต่ละตำแหน่งแต่ละฝ่ายขึ้นอยู่กับปริมาณงานในแต่ละช่วงระยะเวลาของการพัฒนาองค์กรของศูนย์วิเคราะห์และศูนย์พยากรณ์ไฟฟ้า มีรายละเอียดสามารถแบ่งออกเป็นส่วนของหน่วยงานของศูนย์พยากรณ์ข้อมูลไฟฟ้าและศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลไฟฟ้า โดยแนวทางการจัดตั้งองค์กรจะเป็นการประเมินในรูปแบบของข้อกำหนดปริมาณหรือข้อจำกัดของงบประมาณโดยนำเสนอรูปแบบการจัดตั้งองค์กรแบบประหยัดงบประมาณเป็นรูปแบบที่ 1 คือการร่วมใช้ทรัพยากรองค์กรที่มีอยู่เดิมเป็นหลักและรูปแบบที่ 2 เป็นการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่ในลักษณะเต็มรูปแบบซึ่งต้องใช้งบประมาณที่กำหนดในการจัดตั้งองค์กรรูปแบบใหม่ทั้งหมดซึ่งหมายถึงงบประมาณสำหรับการดำเนินการด้านบุคลากรและการลงทุนด้านเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นสถานที่ระบบสื่อสาร ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบสาธารณูปโภคเป็นต้น ซึ่งการจัดตั้งองค์กรจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วยระยะสั้นตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2567 และระยะยาวตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป สามารถสรุปเป็นรายละเอียดของหน้าที่และบทบาทรวมถึงงบประมาณของแต่ละองค์กรซึ่งการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงาน จะประกอบด้วยหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานคือ หน่วยงานที่ 1 ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลไฟฟ้า หน่วยงานที่ 2 คือศูนย์พยากรณ์ข้อมูลไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในช่วงระยะเวลาสั้น (Intraday) หน่วยงานที่ 3 คือศูนย์พยากรณ์ข้อมูลไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในช่วงระยะเวลายาว (Day Ahead) โดยการจัดตั้งในรูปแบบที่ 1 และรูปแบบที่ 2 มีความแตกต่างกันในด้านหน้าที่และขีดความสามารถในการรับผิดชอบในการดำเนินการ โดยการจัดตั้งองค์กรจะแบ่งเป็น 2 ระยะระยะสั้นตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2567 และระยะยาวตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป 4) การเสนอรูปแบบการจำลองสำหรับการพยากรณ์ จากแบบจำลองที่ใช้เฉพาะข้อมูลตัวอย่าง และแบบจำลองต่างๆ ในการทดสอบแบบจำลองที่เหมาะสมเพื่อการพยากรณ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียนทั้ง 3 ด้านซึ่งประกอบด้วย 4.1) พลังงานแสงอาทิตย์ มีค่าความความคาดเคลื่อน 4% ถึง 13% 4.2) พลังงานลม มีค่าความความคาดเคลื่อน 1.2% ถึง 7.3% 4.3) และด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า ความคาดเคลื่อน 7% ถึง 17% ในแต่ละรูปแบบข้อมูลได้แบ่งข่วงเวลาของการพยากรณ์เป็นช่วงระยะสั้นมาก และระยะสั้นนั่นคือ การพยากรณ์ระหว่างชั่วโมง เช่นพยากรณ์ทุกๆ 15-30 นาที ล่วงหน้าเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง หรือการพยากรณ์ทุกๆ 1-3 ชั่วโมงล่วงหน้าเป็นเวลา 1-7 วันเป็นต้น ในแต่ละช่วงเวลายังได้ทดสอบกับ 2 ชุดข้อมูล และ 2 รูปแบบจำลอง โดยส่วนใหญ่เลือกใช้แบบจำลอง ที่อยู่บนพื้นฐานของวิธีการเชิงสถิตินั่นก็คือ Neural Network ที่มีโมเดลที่หลากหลาย ผลการพยากรณ์ที่ได้จากข้อมูลทดสอบมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับงานวิจัยอื่น อย่างไรก็ตามยังมีโอกาสที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพมากขึ้นหากมีข้อมูลตั้งต้นแวดล้อมเช่นสภาพอากาศจากบริเวณโรงไฟฟ้าโดยตรง หรือการใช้โมเดลสภาพอากาศที่มีความแม่นยำเพื่อประกอบเป็นข้อมูลเสริมให้แบบจำลองสามารถพยากรณ์ได้แม่นยำมากขึ้น ข้อคำนึงในการจัดตั้งศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลไฟฟ้าศูนย์พยากรณ์ข้อมูลไฟฟ้าในช่วงระยะเวลาสั้นและระยะเวลายาวโดยใช้แนวคิดการจัดตั้งศูนย์ แผนและระยะเวลาพร้อมรายละเอียดการดำเนินการในแต่ละช่วง จากข้อมูลและรูปแบบที่ได้ศึกษาจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งศูนย์พยากรณ์รวมกับบริบททางกฎหมายไทย ประกอบกับสถานภาพปัจจุบันที่ กกพ. เป็นผู้มีสิทฺธิโดยชอบในการเข้าถึงข้อมูล บทบาทและความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้มากที่สุดด้วยพื้นฐานข้อเท็จจริง ณ ปัจจุบัน และด้วยแนวคิดที่ว่าหากจำเป็นที่จะต้องทำให้แผนตามเสาหลักที่สองเดินต่อไปได้ ต้องทำให้เกิดศูนย์ได้รวดเร็ว และเปลี่ยนแปลงไปสู่ศูนย์ข้อมูลและพยากรณ์แบบเต็มรูปแบบต่อไป โดยที่ปรึกษาเสนอแนวคิดที่ว่า Think Big, Move Fast, Start Small ซึ่งวางแผนไว้สองระยะสองทางเลือกโดยเป้าหมายสุดท้ายคือการมีศูนย์ที่ทำหน้าที่ได้อย่างครบถ้วนเหมาะสม แต่เริ่มต้นจากสิ่งที่มีอยู่และทำให้เกิดขึ้นได้รวดเร็ว และมีความเป็นไปได้มากที่สุด โดยในระยะแรกควรเร่งให้มีการประสานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการพยากรณ์โดยที่ กกพ. เป็นตัวกลางในการประสานข้อมูล ปรับเปลี่ยนแก้ไขกฏระเบียบหรือข้อกฎหมายเพื่อเอื้ออำนวยต่อการทำงาน และที่สำคัญในระยะแรกก็คือระยะเตรียมการและเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้ข้อมูลเชื่อมถึงกันโดยจะใช้เวลา 2-3 ปีซึ่งตามกำหนดของแผนขับเคลื่อนเสาหลักที่สองจะสอดคล้องพอดีกับแผนการพยากรณ์ จะเริ่มใช้งานระบบพยากรณ์และขยายผลในระยะต่อไป Thailand is in the process of implementing the Smart Grid Network Development Master Plan in 2015 - 2036, including the energy reform plan drafted in 2017, It consists of 3 pillars of Energy management. Renewable energy system and Micro-grid systems. The second pillar which is related to renewable energy is more important from the policy of increasing the proportion of renewable energy. Renewable energy will be targeted at 30%, especially renewable energy that varies according to the weather. Called Variable Renewable Energy (VRE) to be used in the management of transmission and distribution systems, which are connected to the VRE with stability. Effective for minimized system loss and with lower costs. There are specified that the Office of the Energy Regulatory Commission (ERC) is responsible for the Phase 1 project. The main objective is to study the guidelines for establishing and structuring the electrical data analysis and forecast center. The results of the study are as follows: 1) The current structure of the country. There is a proportion of the production capacity of Thailand. It is found that the capacity of renewable energy is approximately 3900 megawatts, which is compared to the total production capacity of approximately 40,000 megawatts. The proportion is almost 10% and is likely to increase from government and private sector investment. According to the 2015 Renewable Energy Plan, the target of renewable energy is set at 30%. Therefore, Thailand should be prepared for the situation in the future. 2) Study of the structure and forecasting system of foreign countries. It found that countries that have support and use of renewable electricity are Germany, Australia and India. These countries have a target to use renewable energy above 20% and still have major plans to increase the proportion further. All of them have their own analysis systems and forecast centers for solar and wind energy, mainly providing information to support the decision to order and manage the system both short and long terms. 3) Proposed structure, for analysis and forecast center in Thailand. The proposed structure of the organization's management for Electrical Data Analysis and Forecast Center consist of 6 department, the director Deputy Director, Department of Information System Development and Information, Information Electrical Data Statistics Department Electrical Data Analysis and Forecast Department, Department of Information and Communication Standards and Coordination and Publications. The total of resources can estimate the number of personnel in each position, each department depends on the amount of work in each period of organization development of the analytical center and the power forecast center. The details can be divided into sections of the departments of the Electrical Data Forecasting Center and the Electrical Data Analysis Center. The guidelines for establishing the organization will be assessed in the form of terms, quantity or budget constraints by presenting the budget-setting organization model. The first one is primarily sharing all resources based on the existing organizational resources and facilities. And second model is to set up a new organization in a full manner, which requires the whole budget to set up a new organization, All of which means the budget for the implementation of human resources and investment in technology, equipment, infrastructure, including the cost of operations and other relevant. Such as communication system locations, Security, Utility systems and etc. The establishment of the organization will be divided into 2 phases, consisting of short-term from 2019 to 2024 and long-term since 2024 onwards. Can be summarized as details of duties and roles, including the budget of each organization in which the organization or organization is established. These consist of 3 main organizations: Organization-1 is Electrical Data Analysis Center. Organization-2 is the renewable energy forecasting center for a short period of time (Intraday). Organization-3 is the renewable energy power forecasting center for a long period of time (Day Ahead). By establishing in the Model 1 and Model 2, there are differences in terms of resources sizing and the ability to take responsibility for the operations. The establishment of the organization will be divided into 2 phases, short-term phases from 2019 to 2024 and long-term since 2024 onwards. 4) The proposed model for forecasting models that use only sample data and various models in testing the appropriate simulation model for forecasting data related to renewable energy. There are considered in all 3 aspects, including: 4.1) Solar energy with tolerance of 4% to 13% expectation value. 4.2) Wind energy has a moving tolerance value of 1.2% to 7.3%. 4.3) and the demand for electricity has average tolerance between 7% to 17%. In each data model, the timing of the forecast is divided into very short periods and the short term. These forecasts are between hours and every 15-30 minutes or in advance for 3-4 hours. The long terms are forecasting every 1-3 hours or in advance for 1-7 days, etc. In each period, also tested with 2 data sets and 2 models. These are the most practical for simulation model that is based on statistical methods. For instance, the Neural Network with have variety types of models. These results obtained from the test data are similar to other researches. However, there is still an opportunity to improve efficiency if there is sufficient information such as weather conditions directly from the power plant area, or using a precision weather model to complement the data, allowing the model to improve prediction result more accurately. Regarding the establishment of the Electrical Data Analysis Center, the Electrical Data Forecasting Center for a short period of time and a long period of time using the establishment of the center concept Plan and duration with details of each period. Model structure information and patterns that have been studied from various countries, including research related to the guidelines for setting up a forecast center. These must be combined with the Thai legal context together with the current status that the ERC is entitled to access information. These most likely roles and relationships with the current facts and with the idea to fulfill the plan in the second pillar to continue. The establishment must be taken as fast as possible to the fully support data and forecast center. The consultant proposed the idea that Think Big, Move Fast, Start Small, which is planned for two phases. Two alternatives, with the final goal being to have a fully functional center. But starting from what is available and making it happen quickly. It has the greatest possibility in the first phase, it should accelerate the synchronization of data in order to use for forecasting, in which the ERC is an intermediary in data synchronization. ERC has to amendment the rules or regulations to facilitate these works. The important point in the first phase is the preparation and transition period in order to connect with each other stakeholders, Implementation will take 2-3 years in according to the plan of the second pillar strategy. This will be corresponding with the forecasting operation plans that start using forecasting system and extend the results in the next phase. |
|
พยากรณ์ข้อมูลด้านไฟฟ้า
วิเคราะห์ข้อมูลด้านไฟฟ้า พัฒนาศูนย์วิเคราะห์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/897 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|