Show simple item record

dc.contributor.authorนนท์ นุชหมอนth
dc.date.accessioned2020-08-07T02:45:37Z
dc.date.available2020-08-07T02:45:37Z
dc.date.issued2563-08-07
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/873
dc.description.abstractการดำเนินโครงการ “ศึกษาวิเคราะห์ช่องว่างของงานวิจัยและแนวทางถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหารของประเทศไทยในอนาคต” เป็นกลไกกำหนดทิศทางงานวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร พร้อมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยแก่เกษตรกร จากการวิเคราะห์ระบบนิเวศนวัตกรรมในระดับโครงการหรือระดับพื้นที่ จาก 35 กรณีศึกษา ด้วยเทคนิค “การวิเคราะห์โครงข่ายทางสังคม” (social network analysis: SNA) มีข้อสังเกตเบื้องต้น ได้แก่ 1) ด้านองค์ความรู้ 2) ด้านการสร้างเครือข่าย และ 3) ด้านงบประมาณ พบว่า เกษตรกร มีบทบาทมากในทั้งสามด้าน รองลงมาคือหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษาอุปสรรคและช่องว่างเชิงสถาบัน ในการถ่ายทอดความรู้ด้านการวิจัยระหว่างนักวิจัยและเกษตรกร ได้แก่ หน่วยงานราชการ พบว่านโยบายมักมาจากส่วนกลาง ไม่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรผู้ใช้งาน และขาดการบูรณาการภายในและระหว่างหน่วยงาน หน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัย พบว่าข้อเสนอโครงการวิจัย ไม่มีความหลากหลาย งานมีลักษณะซ้ำซ้อนกับงานที่เคยเผยแพร่ ไม่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับเกษตรกรจริง ไม่เกิดส่งผลกระทบในวงกว้าง และนักวิจัยผู้ขอทุนมักจะขอทุนตามสถานการณ์ในปัจจุบัน หน่วยงานถ่ายทอด พบว่าหน่วยงานราชการ กับเกษตรกรที่มีแนวคิดในการทำงานที่ต่างกัน งบประมาณ การอบรม ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกร หน่วยงานด้านการส่งเสริมในระดับพื้นที่มีภารกิจหลักในหน่วยงานจึงทำให้หน่วยงานสนับสนุนการวิจัยที่พยายามสร้างความร่วมมือเพื่อขยายองค์ความรู้ ยังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร การเปรียบเทียบปัจจัยสำเร็จของต้นแบบและสถานการณ์ของประเทศ พบว่าปัจจัยสำเร็จของการถ่ายทอด ได้แก่ การบูรณาการด้านการวิจัย การเกิดกลไกความรับผิดรับชอบ (accountability) ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การวิจัยด้านเกษตรระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำเข้าด้วยกัน การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยและการให้ข้อมูลสารสนเทศ การส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์แก่ผู้ประกอบการด้านการเกษตร ฯลฯ พบว่าประเทศไทยได้ดำเนินการบางส่วนที่สอดคล้องกับปัจจัยเหล่านี้ แต่ก็ยังขาดกลไกสำคัญหลายด้านที่จะเอื้อให้เกิดปัจจัยเหล่านี้เกิดขึ้น ข้อเสนอในเชิงนโยบายเบื้องต้น คือ ในระดับโครงการ ประเทศไทยจะต้องรับรองการสร้างระบบการสนับสนุนการวิจัยแบบบูรณาการและมุ่งเป้าโดยเน้นการสร้างปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การมีงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกร เกษตรมีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์วิจัย ร่วมเป็นนักวิจัย การมีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเชิงสาขาวิชาและผู้เชี่ยวชาญในระดับพื้นที่ การสนับสนุนทุนวิจัยที่มีเป้าหมายระยะยาวต่อเกษตรกรในพื้นที่ โดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในการประเมินความพอใจผลที่เกิดขึ้นต่อการทำงานวิจัยด้วย การปรับรูปแบบการทำงานของหน่วยงานด้านการส่งเสริมการเกษตร ให้เชื่อมโยงงานวิจัยจากหน่วยงานต่างๆมากขึ้น แยกภาระงานด้านบริหารจัดการอื่นๆ ออกจากงานวิชาการให้ชัดเจน และสร้างกลไกเชิงการรับผิดรับชอบ (accountability) ต่อเกษตรกรในพื้นที่ เน้นรูปแบบการทำงานแบบร่วมคิดร่วมแก้ปัญหามากขึ้น และมีวิธีการทำงานและงบประมาณในเชิงที่ปรึกษา (consulting agents) กับเกษตรกร ระบบงบประมาณให้เอื้อต่อการพัฒนารูปแบบการทำงานแบบยืดหยุ่น หรือ Agile model และการร่วมกับเครือข่าย YSF และตัวแทนภาคเอกชนในการกำหนดโจทย์ในแต่ละห่วงโซ่อุปทาน The Project implementation of "The Studying and analyzing the gap of the research and the guidelines of transferring knowledge from agricultural research, Biotechnology, and the food of Thailand in the future" is a mechanism to define the direction of research in agricultural, Biotechnology, and food as well as transferring knowledge from the research to farmers Based on the analysis of innovative ecosystems whether at the project level or the area level from 35 case studies using the "social network analysis: SNA" technique. There are three tentative observations which are 1) Knowledge, 2) Network building, and 3) the budget, it was found that farmers played a large role in all three areas. Followed by the government agencies and Technology and Educational institutions. Institutional obstacles and gaps in transferring the research knowledge between researchers and farmers are including first, the government agencies, found that the policy is normally centralized not correspond with the requirements of farmers. And also lack collaboration from both internal and external of the organization. Second, the research fund organization found that the research project proposals are less variety, the scope of work is similar to the previous work those have ever been published and cannot be adapted to the real practices of the farmers, moreover cannot create the wide impact. And also the researchers are often request funding in relating to the current situation. And third, the knowledge transferring agency, found that government agencies and farmers having different working concepts, the training and budget does not meet the requirements of farmers. The support agency at the local level also has the main mission themselves, therefore the knowledge transferring agency who try to create the collaboration to expand knowledge does not receive as much cooperation as they should. Comparing the success factors of the prototype and the situation of the country, found that the success factors of the knowledge transferring are the research integration. The existence of an accountability mechanism and combine together all the research strategies of agricultural at upstream, midstream, and downstream. Supporting the use of leading-edge technology and information technology, promoting innovation and creativity for agricultural entrepreneurs, etc. It is found that Thailand has implemented some parts that correspond to these factors. Nevertheless, still need more important mechanisms that will allow these factors to happen. The preliminary policy proposals are at the project level. Thailand must certify the creation of the integrated and targeted research, focusing on creating various factors, including the research that meets the requirements of farmers, and the farmers are involved in defining research problems as well as become part of research team, having researchers with expertise in the field at the local level. Supporting the research grants with long-term goals for farmers, in which the farmers can participate in evaluating the satisfaction of the results. Adjust the working concept of agricultural extension agencies to connect more researches from various agencies. Clearly, separate other administrative works out of the academic work and create the accountability mechanism for the farmers in the area. Focusing more on collaborative work to solve problems. And having the working concept and budgeting in the consulting agents with farmers. The budget systems should facilitate the improvement of flexible work or Agile models and associate with the YSF network, private agents to define problems in each supply chain.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectวิเคราะห์ช่องว่างของงานวิจัยth
dc.subjectงานวิจัยด้านเกษตรth
dc.subjectเทคโนโลยีชีวภาพth
dc.subjectการถ่ายทอดองค์ความรู้th
dc.subjectเกษตรth
dc.subjectanalyzing the gap of the researchth
dc.subjectagricultural researchth
dc.subjectBiotechnologyth
dc.subjecttransferring knowledgeth
dc.subjectagricultureth
dc.titleศึกษาวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ของงานวิจัยและแนวทางถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหารของประเทศไทยในอนาคตth
dc.title.alternativeGap Analysis on Research and Knowledge Transfer in Agriculture ,Biotechnology , and Food in Thailandth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2561A00206th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการศึกษา (Education sector : ED)th
turac.contributor.clientสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleศึกษาวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ของงานวิจัยและแนวทางถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหารของประเทศไทยในอนาคตth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record