Show simple item record

dc.contributor.authorจินดา แซ่จึงth
dc.date.accessioned2020-07-22T09:14:21Z
dc.date.available2020-07-22T09:14:21Z
dc.date.issued2563-07-22
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/869
dc.description.abstractสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีโรงเรียนที่อยู่ภายใต้การดูแลทั่วประเทศจำนวนมาก จึงมีการนำเทคนิคแผนที่การศึกษา (School Mapping) เชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาใช้บริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียน ปัจจุบันทางหน่วยงานได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงคุณภาพ และแสดงผลแผนที่ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นภาพรวมจากข้อมูลการวิเคราะห์ต่างๆ อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเพื่อใช้เป็นระบบกลางในการวางแผน หรือวางกลยุทธ์การบริหารต่างๆ โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่มีสังกัดภายใต้การดูแลของ สพฐ. ทั้งหมด โครงการนี้ จึงเป็นการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของ สพฐ. ที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นลักษณะของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารโรงเรียนของ สพฐ. เป็นแบบ Multi-Tier Architecture ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ 1) ระบบแสดงผลแผนที่บนเว็บไซด์ ทำหน้าที่ในการให้บริการข้อมูลแผนที่โรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ 2) ระบบแบบสอบถามแบบ e-Form เพื่อจัดเก็บข้อมูลดิบโรงเรียนรายโรงที่จำเป็นในการประมวลผลด้วยเทคนิค School Mapping และ 3) รายงานผลในรูปแผนที่พร้อมตารางข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลสถิติทางการศึกษา เพื่อใช้ประกอบการวางแผนหรือวางกลยุทธ์การบริหารของหน่วยงานในโครงการนี้ ได้มีการปรับปรุงระบบการทำงานของ Database Server ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลที่เป็น MIS และ GIS และระบบแสดงผลแผนที่ Geoserver ให้เป็นเวอร์ชั่นที่เหมาะสมที่สุดและมีความเสถียรในการใช้งานปัจจุบัน นอกจากนี้ ได้ทำการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ให้รองรับมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้แก่ การเชื่อมต่อข้อมูลกับ DMC (Data Management Center) ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล การเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบ SGS : Secondary Grading System ซึ่งเป็นข้อมูลงานทะเบียนวัดผล และ SchoolMIS ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการสถานศึกษา เป็นต้น มีการสร้างเครื่องมือการวัดระยะทางแบบระยะทางตามจริงและระยะขจัด (ระยะทางในแนวเส้นตรงที่สั้นที่สุด) มีการปรับปรุงผลแผนที่ให้สามารถแสดงแผนที่ถนนจาก open street view ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ มีการพัฒนารูปแบบการแสดงผลแผนที่ให้สามารถแยกดูตามระดับขอบเขตการปกครองและขอบเขตพื้นที่ศึกษาได้ โดยสามารถแสดงผลตั้งแต่ 1 ถึง 4 แผนที่ได้ใน 1 หน้าจอ เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ใช้งานระบบ ทั้งยังพัฒนาระบบให้สามารถเปิดดูได้ในระบบ android ด้วย ผลการดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของ สพฐ. ครั้งนี้ ส่งผลให้ผู้บริหารการศึกษามีระบบและข้อมูลที่จำเป็นในการใช้บริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบออนไลน์ซึ่งสามารถนำไปใช้เอื้อประโยชน์แก่งานอื่น ๆ ของ สพฐ.ด้วย Office of the Basic Education Commission (OBEC) has many schools under supervision. It is necessary to develop a system for school management. Therefore, OBEC has started using Geographic Information System (GIS) and School Mapping technique in order for administrators to see overview outputs of the data analysis and use it as a central system for planning and school strategic management. This project is, then, to develop and update the GIS that has already been operated by OBEC for being more effective. The Geographic Information System of OBEC for school management is a multi-tiers system which divided into 3 main parts. 1) Display map output on website: to provide users the location of all schools in the country 2) E-form questionnaire system: to collect raw data of each school to process using School Mapping technique 3) Map output reports: to provide maps with attribute and statistic data for school planning and management. In this project, the Database Server and the Geo-server system have been improved to the appropriate and stable version for the implementation. The system has been developed and updated to support the exchange of information between the government agencies i.e. the Data Management Center which is an individual student information system, the Secondary Grading System which is the registration information and the school Management Information System. Real distance and the shortest linear distance measuring tools are built. Improved the map output to be able to display Open Street view in 2D and 3D. Developed the map output to be able to display one to four maps in one screen and also can be classified into different governance levels for the convenience of users. In addition, the system can be viewed in Android. The performance of the system has been working practicable. As the development of the GIS this time, the administrators are able to plan and manage small primary school efficiently. Moreover, the online GIS map output can be used for other benefits of the OBEC.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์th
dc.subjectGISth
dc.titleพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการศึกษา (GIS)th
dc.title.alternativeDevelopment of Geographic Information System for Educationth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานth
cerif.cfProj-cfProjId2560A00574th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการศึกษา (Education sector : ED)th
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการศึกษา (GIS)th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record