Show simple item record

dc.contributor.authorชยกฤต อัศวธิตานนท์th
dc.date.accessioned2020-07-03T07:51:48Z
dc.date.available2020-07-03T07:51:48Z
dc.date.issued2563-07-03
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/861
dc.description.abstractโครงการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินผลคุณภาพของเนื้อหารายการที่มีการนำเสนอทางช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ได้จัดทำขึ้นเพื่อ ให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลจากการประกอบการ และให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ดังกล่าว ทั้งด้านป้องกัน ส่งเสริม สนับสนุน ลงโทษ และกระตุ้นจิตสำนึกของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ตลอดจนการเพิ่มพูนความรู้ สร้างความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ถูกต้องแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยผ่านขบวนการประเมินผลจากผู้มีส่วนได้เสียจากการประกอบการ อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการกำกับดูแลของสำนักงาน กสทช. ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการโดยระเบียบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมผ่านการศึกษาแนวคิดทฤษฎีด้านเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ที่เป็นข่าวสาร หรือ สาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และการศึกษา และรวบรวมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การจัดผังรายการที่เป็นข่าวสาร หรือ สาระที่เป็นประโยชน์ หลักการออกใบอนุญาต การเสนอรายการข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ การโฆษณา และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมากำหนดเกณฑ์ และตัวชี้วัดในการประเมินรายการ และคุณภาพรายการ โดยจำแนกเป็น 3 วิธี ได้แก่ (1) การประเมินโดยการสังเกต (Observation) โดยใช้วิธีการสังเกตแบบการเฝ้าระวังสื่อ (Media Monitor) ครอบคลุมรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศผ่านระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบดิจิทัล จำนวนทั้งสิ้น 8,554 รายการที่ออกอากาศใน 26 ช่อง ระหว่างช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 อันเป็นช่วงระยะเวลาที่มีการศึกษาวิจัย โดยในส่วนนี้จะเป็นการประเมินผังรายการ และสัดส่วนรายการ และการศึกษาเนื้อหาออกอากาศบนสื่อ ทั้งในส่วนเนื้อหาที่ดี มีสาระประโยชน์ และเนื้อหาที่ยังไม่เหมาะสม สุ่มเสี่ยงต่อการขัดกฎหมาย และ (2) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) ของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหารายการ และคุณภาพรายการ และผู้ประกอบการกลุ่มผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นในประเด็นด้านคุณภาพเนื้อหารายการ ประเภทรายการข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะที่มีการนำเสนอทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเด็นที่เป็นปัญหาด้านคุณภาพเนื้อหารายการ ประเภทรายการข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ แนวทางการแก้ไขปัญหา และมาตรการการส่งเสริมคุณภาพเนื้อหารายการที่เหมาะสม ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ (3) การสำรวจข้อมูลภาคสนาม เพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชนทั่วไปในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ครอบคลุมประเด็นด้านทัศนคติและความพึงพอใจของประชาชนที่รับชมรายการ และด้านทัศนคติและความพึงพอใจของประชาชนต่อผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง The research aimed to study and evaluate the quality of television contents in terrestrial digital television in order to understand the problems and obstacles from business operations, as well as prevent, encourage, penalize, and create ethical standard, as well as encourage the for television licensees to obtain more knowledge and have the right attitude toward content production in accordance to Broadcasting and Television Businesses Act B.E. 2551, through the evaluation of broadcasting content that will lead to more efficient supervision by the Office of National Broadcasting and Telecommunications Commission. This research had been conducted using mixed methodology research through qualitative research and quantitative research. The qualitative study employed the literature review of theories on news or informative contents, the licensing principles, the presentation of news and informative contents, advertising theories, and other related topics, in order to develop criterion to evaluate quality of broadcasting programs. The evaluation processes were divided into 3 methods, including (1) observation using media monitoring study, which studied all of 8,554 programs broadcasted on 26 digital terrestrial channels during the study period of January to February 2019. The media monitoring study evaluated the program schedule and broadcast content, including positive and informative topics and inappropriate topics that may violate the law. (2) The second method used focus group discussion with experts on contents and television licensees to gather opinions on evaluation of television contents on news and informative programs on digital terrestrial televisions, as well as solutions to solve problems of inappropriate contents and promotion measures for quality contents. The two qualitative methods were utilized along with quantitative study using (3) survey of citizens’ opinions from all regions of Thailand, covered the topics of audiences’ attitudes and satisfactions toward broadcast contents, as well as toward television broadcasters.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectประเมินคุณภาพเนื้อหารายการth
dc.subjectประเมินผลth
dc.subjectสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติth
dc.titleประเมินคุณภาพเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์th
dc.title.alternativeThe Study to evaluate Quality of Contents in radio and television broadcastth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00258th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations sector : PR)th
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleประเมินคุณภาพเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record