Show simple item record

dc.contributor.authorระพีพรรณ คำหอมth
dc.date.accessioned2020-04-14T06:26:57Z
dc.date.available2020-04-14T06:26:57Z
dc.date.issued2020-04-14
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/766
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ต่อผลการดำเนินงานการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และการเตรียมความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดระหว่างกรมกิจการเด็กและเยาวชนกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ระเบียบวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed methods) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทั้งหมด 7,852 แห่ง ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 1,135 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) ใน 8 จังหวัด จำนวน 150 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่า t-test และค่า F–test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้บริหารอปท.พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุระหว่าง 31-40 ปี อายุเฉลี่ยเท่ากับ 40.9 ปี ระดับการศึกษาจบปริญญาตรีมากที่สุด หน่วยงานที่ปฏิบัติของกลุ่มตัวอย่าง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล ตำแหน่งงานเป็นข้าราชการประจำมากกว่าข้าราชการการเมืองผลการศึกษาความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดพบ 3 อันดับแรก ได้แก่ ช่วยแบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูบุตรแก่ครัวเรือนที่มีฐานะยากจน ส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาเชิงคุณภาพที่เห็นไปในทิศทางเดียวกัน ภาพรวมความคิดเห็นของอปท. ต่อผลการดำเนินงานการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดพบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยระดับมากทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ผลที่เกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิด ครอบครัว และสังคม ผลการศึกษาภาพรวมความคิดเห็นของอปท. ต่อความพร้อมต่อการถ่ายโอนโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดอยู่ในระดับมาก ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย (Politic : P) ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental : E) ด้านเศรษฐกิจ (Economics : E) ด้านสังคมวัฒนธรรม (Sociocultural : S) ด้านเทคโนโลยี (Technology : T) และด้านกฎ ข้อบังคับ (Legal : L) โดยเฉพาะความพร้อมด้านนโยบาย ความพร้อมด้านสิ่งแวดล้อม ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารทุกภาคที่ต่างกันมีความพร้อมต่อการเตรียมการถ่ายโอนภารกิจการจ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการฯที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะต่อกรมกิจการเด็กและเยาวชนควรเตรียมความพร้อมการถ่ายโอน 3 รูปแบบคือ 1. รูปแบบถ้วนหน้า 2. รูปแบบขยายฐานรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคนต่อปี ที่เชื่อมโยงกับโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ 3. รูปแบบเฉพาะครัวเรือนยากจนหรือเสี่ยง แผนการถ่ายโอนภารกิจการจ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด กรมกิจการเด็กและเยาวชนร่วมกับสำนักงานและคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สำนักงาน ก.ก.ถ.) สำนักนายกรัฐมนตรี ควรบรรจุโครงการนี้ให้อยู่ในร่างกระบวนการและขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจโครงการฯ แผนกระจายอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับที่ 3 ให้มีรายละเอียดที่จะนำไปสู่แผนปฏิบัติได้จริง ควรมีการแต่งตั้งคณะทำงานการเตรียมความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจร่วมกันระหว่างกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.ก.ถ. สำนักนายกรัฐมนตรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ควรร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการกำหนดกระบวนการ/ขั้นตอน/ระเบียบการเตรียมความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อไป The study is aimed to review the opinions of the Local Administration Organization in regard to the performance of Child Support Grant provided to newborn children and the preparedness in the transfer of the Grant from the Department of Children and Youth to the Department of Local Administration. The methodology is a mixture of quantitative research and qualitative research (mixed method). The sample is the management of 7,852 Local Administration Organizations, and the sample size is 1,135. The qualitative research was conducted by using focus group technique, the sample size is 150 respondents from eight provinces. The data analysis was conducted by applying percentage, mean and standard deviation along with comparison of t-test and F-test, and One-way ANOVA. The significant relationship statistically is at the level of 0.05. The content analysis in concern of overall information of Local Administration Organizations suggests that the representative sample consists of more women than men, the age of the sample is between 31-40 years old, and the average age is 40.9. The level of education of majority of the representative sample is Bachelor Degree. The offices of the representative sample are Subdistrict Administration Organizations and Municipalities, the status of the representative sample is more of civil servants than political officials. The findings of the study reveal that the Local Administration Organizations have good understanding of three objectives of the study, they are minimizing the financial burden of poor families in caring their children, supporting child development and filling the gap of social inequality. This information corresponds with the findings of the qualitative research. The overall opinions of the Local Administration Organizations about the performance of Child Support Grant confirm the strength of the Grant in providing benefits to children, families, and the society. In concern of the opinions of the Local Administration Organizations about the preparedness in the transfer process, it is confirmed that they have high level of preparedness in the policy (Politic:P), Environment (Environment :E), Economy (Economy:E), SocioCultural (SocioCultural:E), Technology (Technology:T) and Law and Regulations (Law and Regulations : L), especially the preparedness in policy and environment. As well, the different opinions of the management of Local Administration Organizations in each region confirms different level of preparedness significantly. The statistic of the difference is 0.1. The study recommends three options that the Department of Children and Youth should be well prepared in the transfer of the Grant. They are 1. Universal coverage, 2. Level of family’s income, which must not exceed 100,000 Baht per person per year and the data must be linked with other government’s grant services, 3. The provision of the grant only to poor families and families carrying risks to poverty. In regard to the transfer, the Department of Children and Youth should work with Office of the Decentralization to Local Government Committee, the Prime Minister Office in including the transfer plan of this Grant service in the third plan of Decentralization plan. The plan should cover enough details to ensure the effective transfer. A joint committee from the Department of Children and Youth, Ministry of Social Development and Human Security, the Department of Local Administration, Ministry of Interior, the Office of the Decentralization to Local Government Committee, Prime Minister Office, and the Department of Health, Ministry of Public Health should be in place to oversee the transfer process. The Committee should further develop action plan, along with procedures, and regulations for the preparation of the effective transfer of the Grant.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดth
dc.subjectการถ่ายโอนภารกิจth
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth
dc.titleการศึกษาผลการดำเนินงานการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด สู่ความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth
dc.title.alternativeProject studying the results of child support grant payment for the preparedness on transferring the mission to the Local Administrative Organizationsth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมกิจการเด็กและเยาวชนth
cerif.cfProj-cfProjId2561A00618th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาประชากร (Population sector : PO)th
turac.contributor.clientกรมกิจการเด็กและเยาวชน
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการศึกษาผลการดำเนินงานการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด สู่ความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record