Show simple item record

dc.contributor.authorวรรณลักษณ์ เมียนเกิดth
dc.date.accessioned2020-03-20T02:05:07Z
dc.date.available2020-03-20T02:05:07Z
dc.date.issued2563-03-20
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/756
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การส่งเสริมการพัฒนาและติดตามการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ” ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุใน 10 พื้นที่ ทั้งในกรุงเทพมหานครและภูมิภาค 4 ภาค มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่มหลัก คือ (1) คณะผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานในฐานะผู้สนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ (2) คณะผู้บริหารและคณาจารย์ (ผู้ถ่ายทอดความรู้) ของโรงเรียนผู้สูงอายุ (3) ผู้สูงอายุที่กำลังเรียนหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสำรวจผู้เรียนสูงอายุ แบบฟอร์มสำหรับการจัดหลักสูตรการสอน แนวการสังเกตุการจัดการเรียนการสอน 4) แนวคำถามสนทนากลุ่มในการติดตามนิเทศ และแบบประเมินผลการดำเนินงาน การศึกษามีกระบวนการส่งเสริมการจัดตั้งและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุ 4 ขั้นตอน คือ 1) จากการค้นหาบุคคล /พื้นที่ที่สนใจและเข้าใจแนวคิดโรงเรียนผู้สูงอายุ 2) สร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุ 3) การระดมเครือข่ายการทำงานทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน เพื่อให้การดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 4) การพัฒนารายวิชาในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน จากการติดตามการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ มีตัวแบบการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ 3 ตัวแบบ คือ ตัวแบบการจัดตั้งโดยภาครัฐเป็นแกนนำ ตัวแบบการจัดตั้งโดยภาคประชาชนเป็นแกนนำและตัวแบบการจัดตั้งแบบผสม (ภาครัฐและภาคประชาชน) สำหรับผลการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุมีการจัดโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน และมีการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการ โรงเรียนผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีแหล่งงบประมาณเพียงพอ มีสถานที่จัดการเรียนการสอนที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตามบริบทแต่ละพื้นที่ ทว่าประสบปัญหาในการขับเคลื่อนงาน อันเนื่องมาจากการขาดกลไกการประชุม การกำกับให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ และผู้ประสานงานมีภาระงานประจำที่มากเกินไป อย่างไรก็ตามโรงเรียนผู้สูงอายุสามารถพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุเกิดความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา ผู้สูงอายุมีสัมพันธภาพในสังคมดีขึ้น เกิดการเรียนรู้อย่างหลากหลายผานการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการเรียนรู้จากวิทยากร ผู้สูงอายุที่มาทำกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุตระหนักถึงการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณค่า ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ภาครัฐควรมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาผู้สูงอายุ โดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นเครื่องมือ ควรมีทีมวิชาการกลางของภาครัฐ เผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการควรให้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นพื้นที่ทางสังคม ซึ่งคนในวัยอื่นได้ใช้พื้นที่ร่วมกับผู้สูงอายุ สำหรับข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ หน่วยงาน องค์กรที่จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุควรทำความเข้าใจแนวคิดและกำหนดเป้าหมายโรงเรียนผู้สูงอายุอย่างชัดเจนในทุกมิติ ให้กับทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการและได้รับประโยชน์จากโรงเรียนผู้สงอายุ ควรมีผู้ประสานงานดูแลโรงเรียนผู้สูงอายุมากกว่า 1 คน และการบรรจุแผนงบประมาณการดำเนินการโรงเรียนผสูงอายุไว้ในแผนงบประมาณประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น Research on encourging the development and monitoring of elderly school operations include the process to promote the establishment and development of elderly school in 4 regions within 10 provinces across the country. There are 4 steps 1) finding people and areas that are interested and understand the concept of elderly school 2) build the understanding about the administrative process of elderly school 3) mobilizes the working network from government, private and public sectors 4) course development in learning and teaching management. From monitoring the establishment of elderly school, it was found that there are 3 models of the elderly school establishment, government sector model, public sector model and the mixed model (government sector and public sector). For the result, it was found that the elderly school had a clear organizational structure and managed by the committee. Most elderly schools have sufficient budget resources. There are teaching and learning facilities that are suitable for each context. But having trouble in propelling their work due to lack of meeting mechanisms, supervision for sufficient operation and the coordinator having too many routine tasks. However, the elderly school can develop the potential of the elderly making them more refreshing, energetic, and lively, also having better social relationship. There is a wide range of learning through exchange of experiences and learning from lecturers. Regarding policy suggestions, the government, should determine the direction of elderly development by using the elderly school as a tool, should have their own central academic team to disseminate academic knowledge, should let the elderly school be a social area that allow people from other ages to share space with the elderly. For practical suggestions, the organization that established the elderly school should understand the concept and clearly set target for the elderly school in every dimension to all parties involved in the management and benefit from the elderly school. There should be more than one elderly school coordinator and assign the budget plan for the operation of the elderly school in the annual budget plan of the local government organization.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectโรงเรียนผู้สูงอายุth
dc.subjectSchool Operations for Olderth
dc.titleการส่งเสริมการพัฒนาและติดตามการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุth
dc.title.alternativePromoting the Development and Monitoring of School Operations for Older Personsth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)th
cerif.cfProj-cfProjId2560A00598th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาประชากร (Population sector : PO)th
turac.contributor.funderสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการส่งเสริมการพัฒนาและติดตามการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record