Show simple item record

dc.contributor.authorเกียรติอนันต์ ล้วนแก้วth
dc.date.accessioned2019-12-11T07:12:01Z
dc.date.available2019-12-11T07:12:01Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/683
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร เพื่อนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาใช้ประกอบการประเมินผลการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานรวมทั้งการต่อยอดและขยายผลโครงการลงสู่พื้นที่ในระดับตำบลที่ครอบคลุมทั้งประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่เข้าร่วมโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” จำนวน 40,000 ราย ในพื้นที่ 878 ตำบล ใน 878 อำเภอ ใน 76 จังหวัด ของประเทศไทย โดยคัดเลือกมาใช้เป็นข้อมูลในการประเมินมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมผ่านการสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างน้อย 880 ตัวอย่างครอบคลุมพื้นที่ 878 อำเภอ ใน 76 จังหวัด และการสัมภาษณ์เชิงลึกอย่างน้อย 200 ตัวอย่าง มีผลการศึกษาจำแนกตามวัตถุประสงค์ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อพัฒนากระบวนการ เครื่องมือ ตลอดจนทำการประเมินมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ที่ปรึกษาได้พัฒนากระบวนการและเครื่องมือในการประเมินมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” โดยในการประมาณค่าระดับโครงการนั้น จะประกอบไปด้วย แบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แนวทางในการคำนวณมูลค่าทางตรงที่เกิดขึ้นจากโครงการ แบบจำลองสำหรับประมาณค่ามูลค่าทางสังคมที่เกิดขึ้น ซึ่งจะครอบคลุมมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มโอกาสในการศึกษาต่อของบุตรหลานเกษตรกร มูลค่าที่เกิดขึ้นจากสุขภาพที่ดีขึ้นส่งผลให้รายจ่ายด้านสุขภาพลดลง และมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการลดภาระหนี้ที่ต้องชำระ สำหรับการประมาณค่าผลกระทบในระดับมหภาค จะเป็นการวิเคราะห์โดยใช้หลักตัวคูณทวี เพื่อหาว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาคเกษตรในระดับใด วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อสำรวจระดับการรับรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ระดับความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วย วทน. ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 จากการศึกษาพบว่าสัดส่วนของผู้ที่มีคะแนนระดับความเข้าใจในเนื้อหาหลักสูตรที่ฝึกอบรมสูงขึ้นหลังจากการฝึกอบรมมีประมาณร้อยละ 74.6 ซึ่งหากเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าจะต้องมีการรับรู้ทางด้าน วทน. เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 และมีแนวคิดการแก้ไขเป็นหาอย่างเป็นระบบเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 จึงบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อสำรวจการนำนวัตกรรมทางการเกษตรไปใช้ในวงกว้างของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” ด้วยการประเมินจำนวนผู้รับการถ่ายทอดนวัตกรรม และผู้นำไปใช้ประโยชน์จริงหลังการถ่ายทอด ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 โครงการนี้กำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะต้องมีผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เข้าร่วมโครงการ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 40,000 คน จาการศึกษาพบว่าจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการโดยตรง 10,746 คน โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละคน จะนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นจำนวน 3.14 คน ทำให้มีผู้ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ประมาณ 33,742 คน รวมแล้วมีจำนวนผู้ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ประมาณ 44,488 คน จึงบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เพื่อทำการประเมินความคุ้มค่าจากการลงทุนของโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” ต่อเงินงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับการจัดสรร ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 4 มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม และอัตราผลตอบแทนในเชิงสังคม (SROI) ซึ่งพบว่ามูลค่าขั้นต่ำที่เกิดขึ้นประมาณ 602,794,244.67 บาท และขั้นสูงประมาณ 823,384,337.63 บาท โดยอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการมีค่า 1:6.91 หากประเมินโดยใช้ผลของรายได้ที่มีต่อการเรียนระดับมหาวิทยาลัยโดยใช้มูลค่าปัจจุบันของรายได้ในการทำงานหลังเรียนจบ 5 ปี และเพิ่มเป็น 1: 9.44 หากใช้ผลของรายได้ที่มีต่อการเรียนระดับมหาวิทยาลัยโดยใช้มูลค่าปัจจุบันของรายได้ในการทำงานหลังเรียนจบ 10 ปี จึงถือว่าเป็นโครงการที่มีอัตราผลตอบแทนทางสังคมที่สูงเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 เพื่อทำการประเมินมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจและสังคมระดับมหภาคของโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 5 ผลที่มีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจากโครงการนี้ จะวิเคราะห์จากผลทางตรงที่เกิดจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นโดยตรงจากโครงการ จากการศึกษาพบว่ามูลค่าที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจในภาพรวมมีค่าประมาณ 1,589,271,399.10 บาท เมื่อนำผลของโครงการนี้เข้าไปวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาคเกษตร จะพบว่า โครงการนี้มีส่วนช่วยให้รายได้ภาคเกษตรสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 0.124 ต่อปี This study aims at estimating economic and social returns from TISTR’s One Sub district One Product agricultural innovation. The is expected that, apart from obtaining numerical estimates of the returns, the study will also provide additional insights on the key success factors and a way forward of the future implementation. The population of this study comprised of 40,000 agriculturalists from 878 sub districts of 76 provinces; it was supplemented by in-depth interview of 200 participants of the One sub district one product agricultural innovation. The findings are as follows: Finding 1: The consultants developed empirical model appropriate for the context of this study. This was achieved through extensive literature review of potential methodology; additional examination of the nature of data available for this study was also examined. Finding 2: The survey program participants found that about 74.6 percent indicated that they had gained more understanding of the knowledge provided during the training. This is above the target which was set at 70 percent. Finding 3: There were direct participant of 10,746 people. On average, each participant would impart the knowledge gained from the training to around 3.14 person. Thus the total in those who would indirectly benefit from this knowledge would be around 33,742 persons. In total, the beneficiary from the project was estimated to be 44,488 persons. This above the target number of 40,000 participants. Finding 4: The total economic and social value measured by social returns on investment (SROI) were to be around 602,794,244.67 Baht to 823,384,337.63 Bath. The rates of return were around 1:691 to 1:9.44. Thus the project returns of considered to be high. Finding 5: Direct economic benefit measure through the multiplier approach was estimated to be around 1,589,271,399.10 Bath. This will help to increase gross domestic product in agricultural sector by around 0.124 percent.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectประเมินผลลัพธ์th
dc.subjectผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมth
dc.titleประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตรth
dc.title.alternativeEvaluation of Social and Economic Outcomes and Impacts from Sub-distric Agricultual Innovation Promotionth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยth
cerif.cfProj-cfProjId2561A00635th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการเกษตรและการพัฒนาชนบท (Agriculture And Rural Development sector : AG)th
turac.contributor.clientสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตรth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record