dc.description.abstract | กระทรวงการคลัง ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2560-2564 โดยมีเป้าหมายสำคัญประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการ แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถแสดงศักยภาพของตนออกมาสร้างนวัตกรรม อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง กระทรวงจึงได้มีโครงการประกวดรางวัลเพชรวายุภักษ์ขึ้น โดยให้หน่วยงานในสังกัดทั้งระดับกรม ระดับสำนัก และระดับบุคคล ส่งผลงานประกวด ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบกระบวนการทำงานของกระทรวงตามเป้าหมาย และเพื่อให้สามารถขยายผลประโยชน์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นต้องพัฒนาต่อยอดและปรับปรุงผลงานที่ได้รับรางวัลเพชรวายุภักษ์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงเกิดโครงการพัฒนาแนวคิดที่ได้รับรางวัลเพชรวายุภักษ์ครั้งที่ 6 ขึ้น ดังนั้น โครงการพัฒนาแนวคิดที่ได้รับรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 6 จึงได้กำหนด เป้าหมายหลักที่ต้องการมุ่งเน้นต่อยอดผลงานที่ได้รับรางวัลส่งเสริมและเพาะบ่มความคิดเชิงนวัตกรรม และเชื่อมโยงบุคลากรระหว่างหน่วยงานในสังกัด ให้เป็นชุมชนนวัตกรรม และมีความคิดสร้างสรรค์ การดำเนินงานของโครงการฯ ประกอบด้วยกันทั้งหมด 5 หมวด ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ในอันที่จะก่อให้เกิดการนำโครงการ ที่ได้รับรางวัลไปขยายผลต่อยอด ในที่สุดจึงได้เกิดการพัฒนาหลักสูตรการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
2 หลักสูตร คือ 1. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการต่อยอดผลงานที่ได้รับรางวัลเพชรวายุภักษ์ 2. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนานวัตกรรม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานวัตกรรมกระทรวงการคลัง ให้องค์กรมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สรรค์สร้างให้เกิดนวัตกรรม ก็คือ คน ความรู้ และทักษะความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เป็นหัวใจหลักของการสร้างประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการทำงาน และขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคง ดังนั้นจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้มองเห็น และเข้าใจถึงความสำคัญของนวัตกรรมและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยมีหัวข้อในการสัมมนา ดังนี้ Innovation Bootcamp, Disruptive Innovation, Innovation Policy-making in a Digital World, Lean StartUp, Service Innovation เป็นต้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานทางความคิด ให้ผู้เข้าร่วมมีการพัฒนา ต่อยอด หรือสร้างนวัตกรรม ใหม่ด้วยตนเอง การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการต่อยอดนวัตกรรม โดยการวิเคราะห์ความต้องการของการตลาด ที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric Excellence) กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) การวัดผลการปฏิบัติงานองค์กร (Performance Measurement) และผลตอบแทนทางสังคม SROI (Social Return on Investment) โดยคาดหวังให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ สามารถตอบสนองกลุ่มเป้าหมายและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนผู้รับบริการให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดเสรี การจัดนิทรรศการเพื่อทดสอบการยอมรับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาสัมพันธ์ผลงานที่ได้รับรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 7 เพื่อให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้รับทราบและเกิดการยอมรับ นำไปสู่การใช้งานที่แพร่หลาย ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ จึงได้ทำการจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ผลงาน ที่ได้รับรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 7 กับบุคคลภายนอก ของกระทรวงการคลัง โดยการส่งผลงานเข้าร่วมงาน “INNOVATION THAILAND EXPO 2018” ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศที่บูรณาการร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนของประเทศ ทั้งภาครัฐภาคเอกชน และภาคสถาบัน การศึกษา
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การบริหารการเปลี่ยนแปลงด้วยเครื่องมือเกมส์จำลอง การตัดสินใจใน สถานการณ์สมมติ (Simulation Game)” เพื่อสร้างความตระหนัก และกระตุ้นให้บุคลากรภายในหน่วยงาน สามารถทดสอบความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการโครงการ ในหลากหลายสถานการณ์สมมติได้อย่างทันที (real time) ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลาจึงควรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และเผยแพร่ ความรู้ในองค์กร ให้เกิดความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ภายหลังจบโครงการพัฒนาแนวคิดที่ได้รับรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 6 จึงคาดหวัง ว่าผู้เข้าร่วมส่งผลงานเข้าร่วมประกวดโครงการเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 7 และผู้เข้าร่วมการสัมมนาจะสามารถใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนา ต่อยอด ปรับปรุง และสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม ออกสู่ระบบเศรษฐกิจ และสังคมต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการสร้างความรู้ และความตระหนัก ให้กับประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่กระทรวงมอบให้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้แบ่งช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมเพื่อให้มีเวลากลั่นกรองแนวคิดจนกระทั่งสามารถแน่ใจว่า สามารถนำมาใช้ในงานจริงได้ Thailand’s Ministry of Finance developed the strategic administrative plan for the transformation of the Ministry of Finance 2560-2564 B.E. with one, but not limited to, core objective. The objective is to promote and support government officers to express their creativity and efficiently perform their potentials through innovation. All including departments, bureaus, and individuals, are encouraged to submit their innovations, all of which are critical to improve of the Ministry’s process as planned and maximize the outcomes for socioeconomic benefits. Thus, there is a need to develop and improve the masterpieces into a higher level through the Petch Wayupak 6 Award. The development project of Petch Wayupak 6 Award is set to enhance the awarded innovations, incubate the innovative conceptualization, and connect individuals of different units to create innovative community. The operations of the project consist of 5 pillars that complement one another into the best of masterpieces. Thus, there are 2 curriculums; (1) Workshop on enhancing the masterpieces and (2) Workshop on innovation development. The workshop on enhancing the masterpieces is designed to instill the ability to develop innovation for an organization. The key factors for innovation are people, knowledge, and skill/sets of human resources, all of which contribute to the efficiency of work and organizational growth. Thus, this workshop is set to achieve the same goal that everyone shares and make them realize the significance of innovation and future changes. The topics of the workshop include, but not limited to, Innovation Bootcamp, Disruptive Innovation, Innovation Policy-making in a Digital World, Lean StartUp, and Service Innovation. These are foundational concepts for enhancing the masterpieces of work.
The exhibition is designed to test the acceptance among the stakeholders and promote the awarded masterpieces of Petch Wayupak 7 Award. This makes stakeholders, and concerned parties to be aware of and accept the innovations until they adopt them in a real market. Therefor, the exhibition shows the masterpieces of Wayupak 7 Award to the pubic by submitting the masterpieces to INNOVATION THAILAND EXPO 2018, which is the first time for Thailand that integrates every sector, including public, private and educational institutions. The workshop on “Change Management through Simulation Game” is designed to create awareness and stimulate the internal staff to pass the test on project management in multi situations in real-time basis via online technology. This is because modern ages are always changing and technological advancement is always needed to adjust the management styles and distribute knowledge throughout the organization, which contributes to cost optimization, and utilization. After the Petch Wayupak Award 6 is completed, it is expected that there are plenty of participants to submit their project to the Petch Waypak Award 7, develop, enhance, and improve their innovations until they are launched into the socioeconomic environment in the future. This is also expected to be done with the release of knowledge and awareness development among the public and stakeholders so that the outcomes are highly optimized for the society. In order to make the most of the activities, phasing is advised so that each idea and concept is filtered through proper processes until it is ensured that the ideas are practical and achievable. | th |