Show simple item record

dc.contributor.authorศุภชัย ศรีสุชาติth
dc.date.accessioned2019-12-11T03:33:41Z
dc.date.available2019-12-11T03:33:41Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/670
dc.description.abstractมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เห็นชอบให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกลไกประชารัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเพื่อให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ประชาชนอยู่ดีมีสุข ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนา การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเริ่มตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรม 1.0 ที่เน้นภาคเกษตร ยุคอุตสาหกรรม 2.0 ที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเบาและปัจจุบันคือ ยุคอุตสาหกรรม 3.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก อย่างไรก็ดี ประเทศยังติดกับดักประเทศรายได้ปานกลางและความเหลื่อมล้ำ ไม่สามารถก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดได้ รัฐบาลจึงมีนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 หรือยุคที่เศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 3 มิติที่สำคัญ คือ (1) เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้านวัตกรรม (2) เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (3) เน้นภาคการผลิตภาคบริการมากขึ้น อุตสาหกรรม 4.0 จึงเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบหลายประการ รวมถึงแรงงานที่จะต้องเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ซึ่งแรงงานต้องเตรียมความพร้อมให้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีทักษะฝีมือตามความต้องการของตลาดแรงงาน และมีองค์ความรู้ใหม่เพื่อรองรับการผลิตรูปแบบใหม่ ๆ ที่เน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรสมัยใหม่มากกว่าการผลิตโดยใช้แรงงานคน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ระบบอุตสาหกรรมและการจ้างงาน ของประเทศไทย ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึง ฉบับที่ 11 2) เพื่อศึกษา วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ในประเทศไทย ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) 3) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มการจ้างงาน ความต้องการแรงงาน และแนวทางการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 และ 4) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังแรงงาน ให้สอดคล้องกับทิศทาง แนวโน้มการจ้างงาน และความต้องการของประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0 การศึกษาเป็นวิธีผสมผสาน โดยศึกษาเอกสารเกี่ยวกับระบบอุตสาหกรรมและการจ้างงานของประเทศไทย ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึง ฉบับที่ 12 ศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมและแนวทางการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ของต่างประเทศ 5 ประเทศ มีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมระดมสมองกับองค์กรภาครัฐ นักวิชาการ ผู้ประกอบการของสถานประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรม เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ทิศทางและแนวโน้มการจ้างงาน ความต้องการแรงงาน และแนวทางการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ในยุคอุตสาหกรรม 4.0th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.titleศึกษาวิจัยทิศทางการจ้างงานของประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0th
dc.title.alternativeThailand Employment Trends in the Era of the Fourth Industry Revolution (Industry 4.0)th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานth
cerif.cfProj-cfProjId2561A00370th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)th
turac.contributor.clientสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleทิศทางการจ้างงานของประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record