Now showing items 1-12 of 12

    • type-icon

      การประดิษฐ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านเคมีไฟฟ้าเพื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษา 

      ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย; Tantirungrotechai, Yuthana (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      การได้รับประสบการณ์ตรงจากการฝึกทดลองใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์จริง เป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการเรียนรู้แม้แต่ในระดับมัธยมศึกษา แต่เนื่องจากเครื่องมือวิทยาศาสตร์ทั่วไปมีราคาแพง จึงมักเกิดปัญหาอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงได้พยายามพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านเคมีไฟฟ้า ได้แก่ มาตรวัดพีเอชและโพเทนชิโอสแตท เพื่อการเรียนการสอนที่มีราคาประหยัดราคาต้นทุนไม่เกิน 5,000 บาทต่อชิ้นขึ้นมา เพื่อให้ใช้งานได้จริงกับการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยแนวคิดของชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเปิดและถอดประกอบได้ (modular and open-source ...
    • type-icon

      การพัฒนาระบบการผลิตไบโอดีเซลแบบต่อเนื่องโดยใช้วิธีการให้ความร้อนจากไมโครเวฟ 

      ชาญณรงค์ อัศวเทศานุภาพ; Channarong Asavatesanupap (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      The of this research is to develop a continuous flow microwave-assisted heating reactor for biodiesel production. The effects of various parameters on biodiesel production via transesterification such as the type and amount of catalyst, alcohol to oil molar ratio, reaction time and reaction temperature were studied. The result shows that the reactor that was developed can produced biodiesel with maximum productivity of 760 ml/min. CH3ONa offered better catalyst performance than NaOH and KOH but it is found that the coagulation of glycerol and ...
    • type-icon

      การพัฒนาแบบจำลองการทำงานของโรงงานน้ำตาล และโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อการวางแผนการซ่อมบำรุง และการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต 

      สมชาติ ฉันทศิริวรรณ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      กระบวนการผลิตน้ำตาลประกอบด้วย กระบวนการย่อยๆ หลายกระบวนการ ถ้าพิจารณาในด้านการใช้พลังงาน กระบวนการผลิตน้ำตาลประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก ได้แก่ การหีบอ้อย (milling) การทำระเหย (evaporation) และการตกผลึก (crystallization) รายงานนี้เป็นการศึกษากระบวนการหีบอ้อย ซึ่งทำหน้าที่คั้นน้ำอ้อยจากลำต้นอ้อยโดยใช้ลูกหีบ เท่าที่ผ่านมาการศึกษาการทำงานของกระบวนการนี้อาศัยการเก็บข้อมูลเชิงสถิติเพื่อทำนายการทำงานของกระบวนการในอนาคต รายงานแสดงผลการศึกษาในเชิงทฤษฎีของกระบวนการหีบอ้อยโดยใช้หลักการอนุรักษ์มวล ผลการศึกษานำไปสู่แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ของกระบวนการหีบอ้อย ...
    • type-icon

      กำลังผลิตติดตั้งสูงสุดที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานลมและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ของประเทศไทย 

      พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร; วรรัตน์ ปัตรปรประกร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558-2579 (PDP2015) กำหนดให้มีกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลมรวม 9,000 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2579 ถึงแม้พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโรงไฟฟ้าประเภทนี้เป็นพลังงานไฟฟ้าสะอาดที่ไม่ปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม แต่กำลังผลิตที่ได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งสองประเภทมีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดดและลมด้วยสาเหตุของความไม่แน่นอนของกำลังผลิตและการกำหนดปริมาณกำลังผลิตตามแผน จึงมีความจำเป็นที่ต้องหาปริมาณกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ ...
    • type-icon

      ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพของแข็งจากขี้เส้นยางพาราเพื่อทดแทนการใช้ถ่านหิน:งานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้งจากยางธรรมชาติเพื่อกระบวนการผลิตเหล็กกล้าแบบยั่งยืน 

      สมยศ คงคารัตน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของประชากรมาจากภาคการเกษตร เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน อ้อย และยางพารา ขยะจากภาคการเกษตรเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกับปริมาณการผลิตพืชผลทางการเกษตรที่สูงขึ้นซึ่งเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเหมาะสม ยางพาราเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของไทย ซึ่งเก็บเกี่ยวโดยกระบวนการกรีดน้ำยาง ซึ่งจะได้น้ำยางที่มีลักษณะคล้ายน้ำนมเหนียว โดยในการกรีดยางแต่ละครั้งจะได้เปลือกยางที่มีลักษณะเป็นเส้นและมีส่วนของเนื้อยางพาราติดอยู่ โดยชาวสวนยางเรียกว่า ขี้เส้น (Rubber tree bark, ...
    • type-icon

      พัฒนา ทบทวน การวางแผนยุทธศาสตร์และการบริหารความเสี่ยงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคประจำปี 2557 

      นพพร เรืองวานิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ทำการพัฒนา ทบทวน การวางแผนยุทธศาสตร์ และการบริหารความเสี่ยงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อสนับสนุน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นปัจจัยนำเข้าในการทบทวนแผนยุทธศาสตร์เพื่อใช้ประกอบการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการของผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้ กฟภ. มีแผนยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม รองรับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อพัฒนา ให้แนวคิดและข้อเสนอแนะกระบวนการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามเกณฑ์ของ SEPA โดยการจัดทำรายงานครั้งนี้ กฟภ. ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ที่ปรึกษา) ซึ่งเป็นที่ปรึ ...
    • Thumbnail

      ศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์ พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) ในพื้นที่ของโรงงานยาสูบที่สำนักงานภูมิภาค 

      พัชรา พัชราวนิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
    • type-icon

      ศึกษาและพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles) 

      ภูรี สิรสุนทร; เฉลิมพงษ์ คงเจริญ; ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์; ศุพฤฒิ ถาวรยุติการต์; ภาวิน ศิริประภานุกูล; พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร; วรรัตน์ ปัตรประกร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ยานยนต์และพลังงานในภาคขนส่งเป็นสินค้าประกอบกัน นโยบายของรัฐไม่ว่าจะเป็นนโยบายอุตสาหกรรม นโยบายคมนาคม นโยบายพลังงานในภาคขนส่งโดยเฉพาะโครงสร้างราคาพลังงานส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกใช้ยานยนต์และการใช้พลังงานในภาคขนส่งทางถนนและการกำหนดทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรวมทั้งภาคขนส่งและภาคพลังงานอีกด้วย รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานได้ตระหนักถึงสถานการณ์การใช้พลังงานในภาคขนส่งของประเทศไทยและได้วางแผนอนุรักษ์พลังงานมาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงาน หนึ่งในแนวทางที่จะส่งเสริมให้เกิดการประหยัดพลังงานในภาคขนส่งคือการนำยาน ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ - มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส 

      วรรัตน์ ปัตรประกร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยในจังหวัดนราธิวาสซึ่งได้รวม 4 สถาบันเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส วิทยาลัยการอาชีพตากใบ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนราธิวาส เพื่อให้การใช้พลังงานของมหาวิทยาลัยฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทางมหาวิทยาลัยฯได้รับการสนับสนุนเปลี่ยนอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานผ่านกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในปีงบประมาณ 2560 โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ทางมหาวิทยาลัยฯได้ทำการเป ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ – กองทัพเรือ (ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี) 

      วิทวัส ศตสุข (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ – โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จังหวัดสงขลา 

      วรรัตน์ ปัตรประกร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคใต้ เพื่อให้การใช้พลังงานของโรงเรียนฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทางโรงเรียนฯได้รับการสนับสนุนเปลี่ยนอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานผ่านกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในปีงบประมาณ 2560 โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ทางโรงเรียนฯได้ทำการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศไปเป็นเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง (Inverter) จำนวน 46 เครื่อง และเปลี่ยนหลอดไฟประสิทธิภาพสูง LED จำนวน 2,060 หลอด ส่งผลให้โรงเรียนฯ ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ-กองทัพเรือ (กองช่างโยธา ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี) 

      กริช เจียมจิโรจน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)