ศึกษาและพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)
by ภูรี สิรสุนทร; เฉลิมพงษ์ คงเจริญ; ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์; ศุพฤฒิ ถาวรยุติการต์; ภาวิน ศิริประภานุกูล; พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร; วรรัตน์ ปัตรประกร
ศึกษาและพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles) | |
Electric Vehicles | |
ภูรี สิรสุนทร
เฉลิมพงษ์ คงเจริญ ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ ศุพฤฒิ ถาวรยุติการต์ ภาวิน ศิริประภานุกูล พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร วรรัตน์ ปัตรประกร |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ยานยนต์และพลังงานในภาคขนส่งเป็นสินค้าประกอบกัน นโยบายของรัฐไม่ว่าจะเป็นนโยบายอุตสาหกรรม นโยบายคมนาคม นโยบายพลังงานในภาคขนส่งโดยเฉพาะโครงสร้างราคาพลังงานส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกใช้ยานยนต์และการใช้พลังงานในภาคขนส่งทางถนนและการกำหนดทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรวมทั้งภาคขนส่งและภาคพลังงานอีกด้วย รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานได้ตระหนักถึงสถานการณ์การใช้พลังงานในภาคขนส่งของประเทศไทยและได้วางแผนอนุรักษ์พลังงานมาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงาน หนึ่งในแนวทางที่จะส่งเสริมให้เกิดการประหยัดพลังงานในภาคขนส่งคือการนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้แทนยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากยิ่งขึ้น โดยสามารถนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้เชื่อมต่อและประกอบกันกับการขนส่งในระบบรางอีกด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มบทบาทของระบบรางในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ยานยนต์และพลังงานให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม ยังเพิ่มโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนต่อไปได้ในอนาคต จากการเก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษาพบว่าโดยรวมแล้วประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อระยะทางของยานยนต์ไฟฟ้าจะสูงกว่ายานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งนี้ในทางเทคนิค
ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถนำมาใช้งานได้กับรถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล และรถโดยสารไม่ประจำทางที่มีระยะการใช้งานต่อวันไม่สูงมาก อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดในการนำมาใช้กับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนและรถจักรยานยนต์รับจ้างเนื่องจากมีข้อจำกัดของระยะทางการใช้งานต่อการชาร์จแบตเตอรี่ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องในหนึ่งวัน ในการใช้แบบจำลองแบบผสมผสานระหว่างโครงข่ายประสาทเทียมและฟัซซีโลจิกส์ พบว่า หากมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ใน “แผนการขับเคลื่อนภารกิจด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย” ในระหว่างปี พ.ศ. 2559-2579 จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถประหยัดพลังงาน โดยเฉลี่ย 8,759,060 กิกะจูลต่อปี (2,433 กิกะวัตต์-ชั่วโมง) ซึ่งคิดเป็นปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ลดลง 349 ล้านลิตรต่อปี นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามเป้าหมายของแผนการขับเคลื่อนฯ ในสถานการณ์ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการผลิตอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งประเทศไทยสามารถผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้า และส่งออกได้บางส่วน จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจมหภาค ปริมาณการผลิตรถยนต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าและการประหยัดเชื้อเพลิงแต่ละประเภทในภาคขนส่งโดยใช้แบบจำลอง End use พบว่าหากมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามเป้าหมายของแผนการขับเคลื่อนฯ การบริโภคเชื้อเพลิงจะปรับเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมาสู่ไฟฟ้าอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทต่าง ๆ ปรับตัวลดลง โดยที่ความต้องการเชื้อเพลิงเบนซินปรับตัวลดลงมากที่สุด มูลค่าความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลปรับตัวลดลงในขณะที่มูลค่าความต้องการไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ในภาพรวมแล้วประเทศสามารถประหยัดมูลค่าเชื้อเพลิงเพื่อการขนส่งลงได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างปี พ.ศ. 2575-2579 จะสามารถประหยัดได้เฉลี่ยถึงปีละ 1.7 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการขับเคลื่อนฯ จำเป็นต้องอาศัยนโยบายและมาตรการของภาครัฐที่เหมาะสม อันได้แก่ มาตรการทางด้านอุปสงค์ซึ่งประกอบด้วย มาตรการสร้างจูงใจทางด้านการเงินเพื่อลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของยานยนต์ไฟฟ้า และมาตรการสร้างแรงจูงใจที่มิใช่ทางการเงินเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า มาตรการทางด้านอุปทานซึ่งประกอบด้วยมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า มาตรการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนภายในประเทศ และมาตรการการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนโดยให้หน่วยงานของรัฐเป็นจุดศูนย์กลาง และมาตรการที่จำเป็นอย่างยิ่งคือมาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าและการพัฒนาระบบการจ่ายไฟฟ้าให้พร้อมซึ่งจะทำให้ผู้ใช้มีความมั่นใจในการหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและผู้ผลิตมีแรงจูงใจในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น |
|
การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
Electric Vehicles การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/311 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|