Now showing items 21-28 of 28

    • type-icon

      ศึกษาวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ของงานวิจัยและแนวทางถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหารของประเทศไทยในอนาคต 

      นนท์ นุชหมอน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-07)

      การดำเนินโครงการ “ศึกษาวิเคราะห์ช่องว่างของงานวิจัยและแนวทางถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหารของประเทศไทยในอนาคต” เป็นกลไกกำหนดทิศทางงานวิจัยด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร พร้อมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยแก่เกษตรกร จากการวิเคราะห์ระบบนิเวศนวัตกรรมในระดับโครงการหรือระดับพื้นที่ จาก 35 กรณีศึกษา ด้วยเทคนิค “การวิเคราะห์โครงข่ายทางสังคม” (social network analysis: SNA) มีข้อสังเกตเบื้องต้น ได้แก่ 1) ด้านองค์ความรู้ 2) ด้านการสร้างเครือข่าย และ 3) ด้านงบประมาณ พบว่า เกษตรกร มีบทบาทมากในทั้งสามด้าน ...
    • type-icon

      ศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-10)

      การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาใช้แนวทางในการเตรียมกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน โดยมี 6 จังหวัดที่ใช้เป็นพื้นที่ทำการศึกษา ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดนราธิวาส จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการศึกษาโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิควบคู่ไปกับข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการจากการสัมภาษณ์ หรือสนทนากลุ่ม ของตัวแทนจากภาครัฐ สถานศึกษา ภาคเอกชน ชุมชน และตัวผู้เรียนรวมทั้งสิ้น 183 คน โดยจะเริ่มจากการศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และมาเลเซีย จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ผ ...
    • type-icon

      ศึกษาและจัดทำข้อมูลการจำแนกลำดับชั้นของโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินทั่วประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนพัฒนาและบริหารจัดการทางหลวง 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

      โครงข่ายทางหลวงแผ่นดินเชื่อมโยงพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขนส่งและการเดินทางของผู้ใช้ทางให้มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงในประเทศไทย ในปัจจุบันมีอยู่ 3 แนวทาง คือ (1) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามหน่วยงานที่ควบคุมดูแล (2) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามบทบาทของการเชื่อมโยง และ (3) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามการใช้งาน แต่เนื่องด้วยความซับซ้อนของโครงข่ายทางหลวงที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วิธีการจำแนกลำดับชั้นถนนในโครงข่ายทางหลวงที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ...
    • type-icon

      สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าการประปาส่วนภูมิภาค ปีงบประมาณ 2562 

      อนันต์ ภาวสุทธิไพศิฐ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-06)

      โครงการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าการประปาส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ 2562 เป็นโครงการศึกษาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบันและกลุ่มประชาชนที่คาดว่าน่าจะเป็นลูกค้า กปภ. ในอนาคต ประเด็นสำรวจ คือ ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวัง ความภักดี ทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ การบริการ ภาพลักษณ์และความรับผิดชอบสังคมของ กปภ. พบว่า ปีงบประมาณ 2562 กปภ. ได้รับคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 4.102 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ “พึงพอใจมาก” ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2561 โดย กปภ. สามารถใช้ประสบการณ์เรียนรู้จากการทำสำรวจครั้งก่อน ...
    • Thumbnail

      แนวทางการปฏิรูปการจัดการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : รายงานฉบับสมบูรณ์ 

      ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2003)
    • type-icon

      แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ระยะที่ 1 องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

      ธีร เจียศิริพงษ์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-04)

      ด้วยกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรับปรุงแผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เห็นว่าควรมีการปรับปรุงระบบแผนที่ภาษีเดิมให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งเมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยตามโครงการแล้ว จะทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัย มีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินต่าง ๆ ของประชาชนที่เป็นปัจจุบันไว้ใช้สำหรับการจัดเก็บภาษี (ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีป้าย รวมทั้งค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตต่าง ๆ) ไว้อย่างสมบูรณ์ ...
    • type-icon

      แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ 

      สุรพิชย์ พรหมสิทธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-05)

      เนื่องจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ต้องดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งในหมวด ๔ มาตรา ๒๔ กำหนดให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายสำหรับกิจการด้านงานจดหมายเหตุ ดังนั้น เพื่อให้กรอบการดำเนินงาน ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในทุกระดับ ตลอดจนเป็นการผลักดันให้กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุสามารถสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ...
    • Thumbnail

      โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนามาตรฐานโทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา : รายงานฉบับสมบูรณ์ 

      อุดม รัฐอมฤต; วีรวัฒน์ จันทโชติ; พรทิพย์ อธิจิตวิสุทธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2008)