Browsing สาขาการเกษตรและการพัฒนาชนบท by Client "สถาบันพลาสติก"
Now showing items 1-3 of 3
-
การห่อหุ้มสารสกัดจากโล่ติ๊นลงในฟิล์มพอลิแลคติคแอซิดป้องกันแมลง:เชิงโครงสร้างและเชิงสภาวะจลศาสตร์
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
น้ำมันโล่ติ๊นเป็นสารที่ได้จากผลของเมล็ดโล่ติ๊น ซึ่งนิยมนำมาใช้งานด้านเกษตรอินทรีย์และด้านการแพทย์ สำหรับงานวิจัยนี้ได้นำเสนอผลของการห่อหุ้มน้ำมันสกัดจากเมล็ดโล่ติ๊นด้วยพอลิเมอร์ชีวภาพคือ พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ กัมอะราบิก เวย์โปรตีนไอโซเลท/มอลโตเดกซ์ตริน ที่อัตราส่วนของน้ำมันโล่ติ๊นต่อสารห่อหุ้มที่ 1:2 และ 1:3 โดยใช้เทคนิคสังเคราะห์ไมโครแคปซูลแบบการอบแห้งแบบพ่นฝอย และทำการศึกษาผลฟิล์มกรดพอลิแลคติกเคลือบด้วยไมโครแคปซูลเพื่อเป็นฟิล์มป้องกันแมลง จากการศึกษาผลกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าไมโครแคปซูลมีลักษณะทรงค่อนข้างกลม ผลการวิเคราะห์หมู่ฟัง ... -
พัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติก โดยใช้ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ประเภทบรรจุภัณฑ์
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
งานวิจัยนี้ได้นำเศษผ้าฝ้ายมาสกัดเป็นไมโครเซลลูโลสเพื่อประยุกต์ใช้ในการเตรียมถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสเป็นวัสดุบรรจุสำหรับไมโครเวฟ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน (1) การสกัดไมโครเซลลูโลสจากเศษผ้าฝ้ายด้วยกรดไฮโดรคลอริก (2) การผลิตเม็ดพลาสติกคอมพอสิทของไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสในปริมาณที่ต่างกัน คือ 5, 10 และ 20 phr ทั้งที่เติมและไม่เติมสารประสานมาเลอิคแอนไฮไดรด์กราฟต์พอลิพอพริลีน ขึ้นรูปถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลส ด้วยเครื่องฉีด พร้อมทั้งทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานภายใต้ตู้อบไม ... -
พัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติก โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากการเกษตร
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของถ่านกัมมันต์จากขยะชีวมวลจากข้าวจากการกระตุ้นด้วยสารละลายกรด (กรดไฮโดรคลอริก, กรดซัลฟูริก) สารละลายด่างด่าง (โซเดียมไฮดรอกไซด์, โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์) และสารละลายโลหะคลอไรด์ (ซิงค์คลอไรด์, แมกนีเซียมคลอไรด์) โดยวิธีการทดลองประกอบด้วยกระบวนการคาร์บอไนเซชันและกระบวนการกระตุ้น ซึ่งในกระบวนการกระตุ้นมีการผันแปรอุณหภูมิในช่วง 400, 500, 600 และ 700 องศาเซลเซียส อัตราส่วนของสารละลายในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 ซึ่งพบว่า ภาวะที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อัตราส่วนถ่านชาร์ต่อกรดซัลฟูริกเท่ากับ ...