พัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติก โดยใช้ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ประเภทบรรจุภัณฑ์
by ศรุต อำมาตย์โยธิน; ชิราวุฒิ เพชรเย็น
พัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติก โดยใช้ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ประเภทบรรจุภัณฑ์ | |
Development of bio-base compound for active packaging | |
ศรุต อำมาตย์โยธิน
ชิราวุฒิ เพชรเย็น |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2016 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
งานวิจัยนี้ได้นำเศษผ้าฝ้ายมาสกัดเป็นไมโครเซลลูโลสเพื่อประยุกต์ใช้ในการเตรียมถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสเป็นวัสดุบรรจุสำหรับไมโครเวฟ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน (1) การสกัดไมโครเซลลูโลสจากเศษผ้าฝ้ายด้วยกรดไฮโดรคลอริก (2) การผลิตเม็ดพลาสติกคอมพอสิทของไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสในปริมาณที่ต่างกัน คือ 5, 10 และ 20 phr ทั้งที่เติมและไม่เติมสารประสานมาเลอิคแอนไฮไดรด์กราฟต์พอลิพอพริลีน ขึ้นรูปถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลส ด้วยเครื่องฉีด พร้อมทั้งทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานภายใต้ตู้อบไมโครเวฟที่กำลังไฟฟ้า 340, 650 และ 1,300 วัตต์ เป็นเวลา 2.5, 5 และ 10 นาที และการฉายรังสีแกมมาในปริมาณที่ต่างกันคือ 10, 100 และ 1,000 kGy จากนั้นวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชัน เคมีพื้นผิว และสมบัติของถาดที่เตรียมได้ พบว่า เคมีพื้นผิวของถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสที่เติมพอลิพอพริลีนกราฟต์มาเลอิคแอนไฮไดรด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก สามารถเกิดอันตรกิริยาที่ดีระหว่างพื้นผิวของไอโซแทคติกพอลิพอพิลีนและไมโครเซลลูโลสในปริมาณ 20 phr (ถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลส 20 phr ที่เติมพอลิพอพริลีนกราฟต์มาเลอิคแอนไฮไดรด์ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก) ส่งผลให้ถาดมีลักษณะเชิงสัณฐานวิทยาที่ดี มีค่าความต้านทานแรงกดอัดและค่ามอดุลัสของถาดสูงสุด (ทั้งก่อนและหลังการใช้งานภายใต้ตู้อบไมโครเวฟที่กำลังไฟฟ้า 1,300 วัตต์ เป็นเวลา 2.5 นาที) มีเสถียรภาพเชิงความร้อนและเสถียรภาพเชิงผลึกที่เหมาะสมในการขึ้นรูปถาดรวมถึงการใช้งานภายใต้ตู้อบไมโครเวฟ มีค่ามุมสัมผัสของหยดน้ำและหยดน้ำมันที่เหมาะสมในการใช้งาน นอกจากนี้ ภายหลังการฉายรังสีแกมมา พบว่า ถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลส 20 phr ที่เติมพอลิพอพริลีนกราฟต์มาเลอิคแอนไฮไดรด์ มีค่าความต้านทานแรงกดอัดและค่ามอดูลัสสูงเพิ่มขึ้นสูงสุดหลังการฉายรังสีแกมมาในปริมาณ 1,000 kGy โดยให้ผลการทดสอบที่ตรงข้ามกับการนำมาอธิบายสมบัติเชิงกลที่ดีได้ เนื่องจากถาดเกิดการขาดออกและการเชื่อมขวางของสายโซ่โมเลกุลของไอโซ แทคติกพอลิพอพริลีน รวมถึงการสลายตัวจากปฏิกิริยาออกซิเดชันซึ่งพบระดับสูงสุดหลังฉายรังสีแกมมาในปริมาณ 1,000 kGy โดยถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสในปริมาณ 20 phr ที่เติมพอลิพอพริลีนกราฟต์มาเลอิคแอนไฮไดรด์ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก มีความเหมาะสมที่สุดในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นถาดเพื่อภาชนะบรรจุสำหรับไมโครเวฟในอุตสาหกรรมอาหารแช่เย็น |
|
สูตรคอมพาวนด์พลาสติก
compound for active packaging |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สถาบันพลาสติก | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/364 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|