Show simple item record

dc.contributor.authorธีร เจียศิริพงษ์กุล
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-05-29T02:28:17Z
dc.date.available2019-05-29T02:28:17Z
dc.date.issued2018
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/590
dc.description.abstractจากนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในประเทศไทยตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ซึ่งเป็นการประสานความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนา SMEs ให้เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ด้วยเครื่องมือ “3 Stage Rocket Approach” หรือแนวคิด “จรวด 3 ขั้น” ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิต ผ่านการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จึงได้ทำการจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำการวิเคราะห์และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบอัจฉริยะเฝ้าติดตามและตรวจสอบดูแลการทำงานของเครื่องจักร (Machine Monitoring System) และระบบตรวจสอบดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานในสถานประกอบการ โดยกลุ่มเป้าหมายของกิจกรรม คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เป็นนิติบุคคลในภาคการผลิตรวม 100 กิจการ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพซึ่งเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (First S-curve and New S-curve) ทั้ง 20 กลุ่ม และกลุ่มอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ในพื้นที่เป้าหมายที่กำหนดไว้ พื้นที่ในการดำเนินงานนั้นครอบคลุมเขตจังหวัดภาคกลาง ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จำนวน 10 จังหวัด และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จำนวน 8 จังหวัด การดำเนินงานเริ่มตั้งแต่ กันยายน 2561 – มีนาคม 2560 รวมระยะเวลา 180 วัน ซึ่งมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 126 กิจการ แต่ได้รับการคัดเลือกเหลือเพียง 100 กิจการ โดยแบ่งเป็น Visualize Machine 80 กิจการและ Visualize Craftsmanship 20 กิจการ ในกระบวนการวัดเก็บข้อมูลทั้ง 100 กิจการ ที่ปรึกษาใช้เซนเซอร์แบบแสงในการนับชิ้นงานหรือการเคลื่อนที่ของเครื่องจักร เซนเซอร์วัดกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้า กล้องถ่ายวีดิโอ กล้องวงจรปิด อุปกรณ์วัดการเต้นของหัวใจ และปุ่มกดเพื่อวัดระยะเวลาในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการเก็บข้อมูลจะถูกส่งขึ้นระบบ Cloud ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลการวัดทั้งหมดบนเว็บเซอร์วิส ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลาเพื่อนำไปวางแผนเพิ่มผลผลิตหรือลดจำนวนของเสียในกระบวนการผลิต หลังจากที่ปรึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูล ที่ปรึกษาได้อธิบายและนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงให้กับผู้ประกอบการ โดยพบว่าในภาพรวมที่ได้ประเมินเครื่องจักรจำนวน 3 เครื่องต่อสถานประกอบการ และผู้ปฏิบัติงาน 3 คนต่อสถานประกอบการ ที่ปรึกษาสามารถประเมินตามแนวทางที่ได้นำเสนอต่อผู้ประกอบการพบว่าสามารถช่วยให้สถานประกอบการประหยัดเงินได้ประมาณ 36.77 ล้านบาทต่อปีth
dc.description.abstractThailand 4.0 is one of important policy of recent Thai government and the application of information technology has applied to increase the capability of manufacturing process. Ministry of Industry has defined ten groups of industry as new engine of growth for both First S-curve group and New S-curve group. Department of Industrial Promotion is the department to support and to develop small and medium enterprises and to drive department funds for SMEs. To achieve Thailand 4.0 “3 Stage Rocket Approach” is a tool used to develop digital technology for manufacturing process. Industrial Promotion Center Region 9 from Department of Industrial Promotion hires Thammasat University Research and Consultancy Institute to analyze and to develop technology and artificial invention to track & trace Machine Monitoring system and Craftsmanship Monitoring system in the establishments. The target groups of this study are small and medium enterprises with legal entity 100 businesses. Especially new engine growth is focused for both First S-curve and New S-curve in total 20 groups and all industrial groups related to provincial strategy. The target groups are in the area of central region being responsible by Industrial Promotion Center Region 8 (10 provinces) and Industrial Promotion Center Region 9 (8 provinces). The period of inspection and investigation is between September 2561 to March 2562 in total 180 days. In this project there are 126 businesses interested and applied and 100 businesses are selected with the strong criteria including 80 businesses for visualize machine and 20 businesses for visualize craftsmanship. For the inspection and the investigation there are many sensors used in this project to serve the needs and the requirements of the businesses. The examples of those sensors are infrared counter sensor, current transformer sensor, video camera, closed-circuit television, heart-rate sensor, and push-button sensor. All collected data will be transferred to cloud system via Pocket WiFi and in parallel analyzed data will be shown through Web service as real time. The owner or corresponding person could check and assess all inspected activities in the process and could plan effectively to increase the products, to save overtime budget, and to reduce the losses. Finally the overview assessment of this project shows that all 100 business could save the budget around 36.77 million-baht per year based on the proposed activities from consultants.th
dc.description.sponsorshipกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectMachine Monitoring Systemth
dc.subjectเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบอัจฉริยะเฝ้าติดตามและตรวจสอบดูแลth
dc.titleกิจกรรมการวิเคราะห์และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบอัจฉริยะเฝ้าติดตามและตรวจสอบดูแล การทำงานของเครื่องจักร Machine Monitoring System ในสถานประกอบการ พร้อมระบบดิจิทัล ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบอัจฉริยะเฝ้าติดตาม และตรวจสอบดูแลการทำงานของเครื่องจักร (Machine Monitoring System) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561
dc.title.alternativeAnalysis and development activities of intelligent technology for Machine Monitoring System and digital network in the enterprises, under the project of increasing efficiency and productivity with intelligent technology of Machine Monitoring System, fiscal year 2018
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9
cerif.cfProj-cfProjId2561A00806
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology sector : ICT)
turac.contributor.clientกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record