Show simple item record

dc.contributor.authorณรงค์ ใจหาญ
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-05T07:37:11Z
dc.date.available2019-03-05T07:37:11Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/553
dc.description.abstractรายงานวิจัยเรื่อง โครงการพัฒนาระบบการสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิขอบ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานของพนักงานสอบสวนและพนักงานไต่สวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ว่ามีความสอดคล้องกับกระบวนพิจารณาคดีในระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 และประการที่สอง เพื่อพัฒนาข้อเสนอหรือรูปแบบ (Model) ของระบบสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและคดีค้ามนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือสอดรับกับวิธีพิจารณาคดีในระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 รวมถึงแนวทางที่จะส่งเสริมให้ประชาชนหรือผู้เสียหายได้รับการคุ้มครองสิทธิภายใต้ระบบไต่สวน วิธีการศึกษา ศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ สนทนากลุ่ม และจัดสัมมนาเผยแพร่และระดมความคิดเห็น โดยศึกษากฎหมายต่างประเทศ 4 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งด้านคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ จำนวน 31 คน จัดสนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ สองครั้ง มีผู้เข้าร่วมจำนวนรวม 54 คน การสัมมนาเผยแพร่และระดมความคิดเห็น หนึ่งครั้งมีผู้เข้าร่วมจำนวน 150 คน โดยมีระยะเวลาในการศึกษาระหว่างวันที่ 15 มกราคม 2560 ถึง 14 กันยายน 2560 ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 1. การสอบสวนคดีค้ามนุษย์กับคดีอาญาทั่วไปไม่แตกต่างกัน แต่ในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐมีความแตกต่างจากคดีอาญาโดยทั่วไปเพราะเป็นการดำเนินการในระบบไต่สวน ซึ่งกรณีหลังนี้สอดคล้องกับการพิจารณาคดีของศาลไต่สวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ดังนั้น ในการสอบสวนของพนักงานสวบสวนในคดีค้ามนุษย์ซึ่งใช้การสอบสวนเหมือนกับคดีอาญาทั่วไปจึงน่าจะเป็นอุปสรรคในการรวบรวมพยานหลักฐานให้ครบถ้วนทั้งฝ่ายผู้เสียหายและผู้ต้องหาก่อนที่จะนำเสนอพยานหลักฐานทั้งหมดต่อศาล 2. ข้อสรุปจากการศึกษาภาคสนาม พบว่าในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ควรมีการกระจายอำนาจในการไต่สวนและพัฒนาองค์ความรู้ของเจ้าพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ ในคดีค้ามนุษย์ ควรมีการพัฒนาองค์ความรู้ของเจ้าพนักงานและเพิ่มอำนาจพิเศษเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ 3. ข้อสรุปจากกฎหมายต่างประเทศ พบว่าในเยอรมัน ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น มีการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนโดยองค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนคดีอาญาโดยทั่วไป ไม่มีองค์กรพิเศษ แต่ในอังกฤษมีองค์กรพิเศษ เฉพาะแต่ในคดีทุจริต แต่มีและมีการประสานงานระหว่างเจ้าพนักงานในชั้นก่อนฟ้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานที่ครบถ้วนก่อนที่จะยื่นฟ้องต่อศาล โดยเฉพาะระหว่างพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ 4. ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการสอบสวน แยกออกเป็นสองคดี ดังนี้ 4.1 คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เสนอให้มอบอำนาจการไต่สวนแก่เจ้าพนักงานไต่สวนในระดับภาค โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย และให้ดำเนินการไต่สวนในลักษณะเชิงรุก รวมถึงการให้พนักงานอัยการเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นไต่สวนด้วยตั้งแต่ต้น 4.2 คดีค้ามนุษย์ เสนอให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานให้ครบถ้วน รวมถึงข้อมูลใดด้านความเสียหายของผู้เสียหายในสำนวนการสอบสวนด้วย พัฒนาความเข้าในในกฎหมายด้านค้ามนุษย์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการคัดแยกเหยื่อ การตรวจสอบอายุของผู้เสียหาย และการคุ้มครองพยานให้ได้รับความปลอดภัยเพิ่มขึ้นth
dc.description.abstractThe Research project of the development of corruption and malfeasance, and human trafficking cases to be in accordance with the inquisitorial system as prescribed by the Procedures for Corruption and Malfeasance Cases Act, B.E. 2559 (2016) and the Procedures for Human Trafficking Cases Act, B.E. 2559 (2016) has two aims: firstly, to study and analyze whether or not the practices of the police inquiry officers, the NACC inquiry officers, and the inquiry officers dealing with human trafficking cases are in line with the Procedures for Corruption and Malfeasance Cases Act, B.E. 2559 (2016) and the Procedures for Human Trafficking Cases Act, B.E. 2559 (2016). Secondly , to develop a proposal or a model of the inquiry system in corruption and malfeasance cases in accordance with the Procedures for Corruption and Malfeasance Cases Act, B.E. 2559 (2016) and the Procedures for Human Trafficking Cases Act, B.E. 2559 (2016), as well as, to promote citizens’ and victims’ rights in the inquisitorial system. Methodology This research is conducted by adopting the documentary research, in-depth interviews, focus groups, brainstorming approaches. Laws in four countries–France, Germany, the United Kingdom, and Japan–were examined. This research interviewed 31 experts on corruption and malfeasance cases and human trafficking cases, as well as, two focus groups–54 people involved–were held. Plus, there was a brainstorming conference which 150 persons participated. This research was done during 15 January 2017 to 14 September 2017. Outcomes and suggestions 1. The inquiries conducted into a human trafficking case and a general criminal case have little differences meanwhile an inquiry into corruption and malfeasance cases varies from general criminal inquiries as the law establishes two special institutions–the NACC and the Office of Public Sector Anti-Corruption Commission (PACC)–to investigate and make an inquiry into these cases specifically and the inquiry by those institutions could harmonize and support evidence to the inquisitorial criminal procedure. 2. As for outcome of field research is concerned, it should be decentralized an inquiry power and providing capacity building to the officials of NACC and PACC meanwhile in the case of Human trafficking it should be promote capacity building and modify the enquiry officials to have special power as Department of Special Inquiry officials. 3. As the study on foreign laws, we have found that in Germany, France and Japan they conduct inquiries into these cases by using the same agency and procedure as general criminal offences. They do not establish a special agency to do the cases. In a similar vein, there is no special unit in the UK for human trafficking cases, except for that in a case of human trafficking, the police will work more closely with the public prosecutor. In a case of corruption and malfeasance, the Serious Fraud Office will be responsible and work closely with the public prosecutor. 4. Research suggestions are as follow: 4.1 Decentralization and delegation of inquiry powers of the NACC and the PACC should be adopted as an independent agency responsible for making an inquiry is more reasonable therefore the amendment of relating law are required. In addition, the inquiry official should be actively. Moreover, encouraging cooperation between the public prosecutor and the corruption cases inquiry officers should be proposed. 4.2 the inquiry officials in human trafficking should be collect for victim compensation in the enquiry file too, there should be propose the inquiry officials to understand human trafficking law and to promote effective cooperation among state officials relate to screen on victim, to examine of age of victim and the protection of the witnesses in human trafficking cases.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานกิจการยุติธรรม
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectสอบสวนth
dc.subjectไต่สวนth
dc.subjectคดีค้ามนุษย์th
dc.subjectคดีทุจริตและประพฤติมิชอบth
dc.subjectระบบไต่สวนth
dc.subjectinquiryth
dc.subjectinquisitorialth
dc.subjecthuman traffickingth
dc.subjectcorruption and malfeasance caseth
dc.subjectinquisitorial systemth
dc.titleพัฒนาระบบสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและคดีค้ามนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559
dc.title.alternativeResearch on Development inquiry system of corruption and Human trafficking in Persons cases in order to harmonized to the process of Inquisitorial under the Act of corruption Procedure B.E. 2559 and the Act of Trafficking in Person B.E. 2559th
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานกิจการยุติธรรม
cerif.cfProj-cfProjId2560A00237
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)
turac.contributor.clientสำนักงานกิจการยุติธรรม
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record