Show simple item record

dc.contributor.authorณรงค์ ใจหาญ
dc.contributor.authorNarong Jaiharn
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-01T02:58:50Z
dc.date.available2019-03-01T02:58:50Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/542
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกคือ ศึกษารูปแบบ มาตรการ กลไก หรือเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดอาญา และปัญหาอุปสรรคที่มีในประเทศไทย และพัฒนากฎหมายไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับแผนปฏิรูปการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดอาญาของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประการที่สอง ศึกษาและพัฒนากฎหมาย รูปแบบ มาตรการ กลไก เครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทยและเป็นไปตามมาตรฐานสากล วิธีการศึกษา ศึกษาวิจัยทางเอกสาร กฎหมายไทยและต่างประเทศ เอกสาร รายงานการประชุม งานวิจัย และประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชนใน 5 ภาค และรับฟังความคิดเห็นของคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายทางด้านสิทธิมนุษยชนและความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาของบุคคลอื่น จำนวน 3 ครั้ง และนำประเด็นที่ได้มาปรับปรุงร่างกฎหมายและนำเสนอมาตรการที่เพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญาและที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ผลการศึกษา 1.ผู้เข้าร่วมสัมมนา เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายในคดีอาญา พ.ศ. ... ตามแนวทางของแผนปฏิรูปประเทศ เพราะได้กำหนดสิทธิและกลไกในการช่วยเหลือผู้เสียหายและผู้ที่เกี่ยวข้องไว้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเสนอให้นิยามขอบเขตของทายาทให้ชัดเจน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว มีการประสานงานอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ดี งานวิจัยฉบับนี้ได้ปรับปรุงนิยามของ คำว่าทายาท ให้ชัดเจน และเสนอปรับปรุงเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้เสียหายในการสืบทรัพย์ภายหลังจากที่ศาลสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย 2.ในการพัฒนากลไกของผู้เสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พบว่า มีองค์กรอิสระสององค์กรคือ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ทำหน้าที่ได้ดี ส่วนในหน่วยงานภาครัฐ ควรมีการประสานงานเพื่อสร้างความตระหนักให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและมีการประสานความร่วมมือในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเมื่อได้รับข้อร้องเรียน อย่างไรก็ดี ขอบเขตของสิทธิมนุษยชนบางเรื่องไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติอย่างชัดเจน จึงเกิดปัญหาความไม่เข้าใจและละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ง่าย งานวิจัยฉบับนี้จึงเสนอให้มีการออกกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นการเฉพาะ ตามแนวทางกฎหมายอังกฤษ และในขณะเดียวกัน ส่งเสริมให้มีการประสานงานในระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่จะคุ้มครองเยียวยาสิทธิมนุษยชนในส่วนที่แต่ละหน่วยงานรับผิดขอบ โดยการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน และเปิดโอกาสให้องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรมาร่วมในการคุ้มครองเยียวยาสิทธิแก่ผู้ถูกละเมิดด้วยth
dc.description.abstractThe research project has two aims. Firstly, to study models, measures, mechanisms and tools for protection and assistance of crime victims; to study problems and disadvantage of victims assistance in Thailand and find out how to develop law legal system to international standard and National Reform Steering Assembly Plan for protection victims of crime according to proposal of National Reform Steering Assembly Plan of Thailand. Secondly, To study and develop Thai laws, models, measures, mechanisms and tools for assistance victims of human rights, under provisions of Thai Constitution B.E. 2560 with proficiency and meet international standard. Methodology : The research has been done in qualitative research: 1) documentary research on laws in Thailand and foreingn laws, report of conference, research reports, 2) getting opinions of the people in five parts of Thailand and the comments of commission of victim assistance of crime and human rights violation in three meeting. And then, collecting all of recommend to improvement of draft law on Victim of crime and human rights violation. Research outcome: 1. Most of the people agree to the draft law of protection and assistance of victim of crime proposed by revolution country because it provides rights and mechanism for assistance victim and related person as the international standards. Moreover, the draft law should be define clearly on the meaning of “successor” and should provide legal mechanisms to implement the protection of rights effectively and promptly with systematic cooperation. However, this research report has proposed definition of successor and recommendation for assistance the victim to find out the defendant property for compensation as the court order in the stage of execution. 2. The development of mechaniam for assistance victims of human rights violation, this report found that two independent institutions, namely, Ombudsman and National Human Rights Commission have protected human rights victims very excellent maner. For the duty of state departments who responsible to protect human rights of victims need to increasing their cooperation for raising awareness of the state officials and for compensation to the victim after obtaining the claimant. However, there are any problems relate to the definition of human rights in some areas which are not so clear and have not been written in the special laws. These lead to make any people misconcept of human rights in some areas and easily to be violated. This research proposes that should be draft a special law of human Rights as in England Model. Meanwhile, this should promote the cooperation between Public and private sector NGOS to join the compensation of the victims of human rights.th
dc.description.sponsorshipกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาth
dc.subjectคุ้มครองผู้เสียหายในคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนth
dc.subjectกฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายในคดีอาญาth
dc.subjectมาตรฐานสากลเกี่ยวกับสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญาth
dc.subjectVictim of crime protectionth
dc.subjectvictim of human right protection Law on Victims of crime protectionth
dc.subjectInternational standard of victim of crime protectionth
dc.titleขับเคลื่อนแผนบูรณาการเพื่อช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน (ระยะที่ 1)
dc.title.alternativeThe Integrated Plan to Help Victims of Crime in Thailand and the ASEAN Community (Phase 1)
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
cerif.cfProj-cfProjId2560A00589
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)
turac.contributor.clientกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record