ขับเคลื่อนแผนบูรณาการเพื่อช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน (ระยะที่ 1)
by ณรงค์ ใจหาญ; Narong Jaiharn
ขับเคลื่อนแผนบูรณาการเพื่อช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน (ระยะที่ 1) | |
The Integrated Plan to Help Victims of Crime in Thailand and the ASEAN Community (Phase 1) | |
ณรงค์ ใจหาญ
Narong Jaiharn |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกคือ ศึกษารูปแบบ มาตรการ กลไก หรือเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดอาญา และปัญหาอุปสรรคที่มีในประเทศไทย และพัฒนากฎหมายไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับแผนปฏิรูปการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดอาญาของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประการที่สอง ศึกษาและพัฒนากฎหมาย รูปแบบ มาตรการ กลไก เครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทยและเป็นไปตามมาตรฐานสากล วิธีการศึกษา ศึกษาวิจัยทางเอกสาร กฎหมายไทยและต่างประเทศ เอกสาร รายงานการประชุม งานวิจัย และประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชนใน 5 ภาค และรับฟังความคิดเห็นของคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายทางด้านสิทธิมนุษยชนและความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาของบุคคลอื่น จำนวน 3 ครั้ง และนำประเด็นที่ได้มาปรับปรุงร่างกฎหมายและนำเสนอมาตรการที่เพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญาและที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ผลการศึกษา 1.ผู้เข้าร่วมสัมมนา เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายในคดีอาญา พ.ศ. ... ตามแนวทางของแผนปฏิรูปประเทศ เพราะได้กำหนดสิทธิและกลไกในการช่วยเหลือผู้เสียหายและผู้ที่เกี่ยวข้องไว้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเสนอให้นิยามขอบเขตของทายาทให้ชัดเจน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว มีการประสานงานอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ดี งานวิจัยฉบับนี้ได้ปรับปรุงนิยามของ คำว่าทายาท ให้ชัดเจน และเสนอปรับปรุงเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้เสียหายในการสืบทรัพย์ภายหลังจากที่ศาลสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย 2.ในการพัฒนากลไกของผู้เสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พบว่า มีองค์กรอิสระสององค์กรคือ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ทำหน้าที่ได้ดี ส่วนในหน่วยงานภาครัฐ ควรมีการประสานงานเพื่อสร้างความตระหนักให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและมีการประสานความร่วมมือในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเมื่อได้รับข้อร้องเรียน อย่างไรก็ดี ขอบเขตของสิทธิมนุษยชนบางเรื่องไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติอย่างชัดเจน จึงเกิดปัญหาความไม่เข้าใจและละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ง่าย งานวิจัยฉบับนี้จึงเสนอให้มีการออกกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นการเฉพาะ ตามแนวทางกฎหมายอังกฤษ และในขณะเดียวกัน ส่งเสริมให้มีการประสานงานในระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่จะคุ้มครองเยียวยาสิทธิมนุษยชนในส่วนที่แต่ละหน่วยงานรับผิดขอบ โดยการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน และเปิดโอกาสให้องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรมาร่วมในการคุ้มครองเยียวยาสิทธิแก่ผู้ถูกละเมิดด้วย |
|
คุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา
คุ้มครองผู้เสียหายในคดีละเมิดสิทธิมนุษยชน กฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายในคดีอาญา มาตรฐานสากลเกี่ยวกับสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา Victim of crime protection victim of human right protection Law on Victims of crime protection International standard of victim of crime protection |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/542 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|