Show simple item record

dc.contributor.authorกฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-11-06T08:05:10Z
dc.date.available2018-11-06T08:05:10Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/476
dc.description.abstractในปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่และอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทหลายแห่งได้มีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานและรองรับปริมาณการจราจรและน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จึงทำให้โครงสร้างสะพานเกิดการเสื่อมสภาพและมีความชำรุดเสียหาย การตรวจสอบและประเมินความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพานเหล่านี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้ทราบถึงสภาพความชำรุดเสียหายและความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างในสภาพปัจจุบัน กรมทางหลวงชนบทซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาสะพานจึงได้ริเริ่มและดำเนินโครงการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงและประเมินความชำรุดเสียหายรวมถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนการตรวจสอบในกรณีที่มีความเสียหายรุนแรงเกิดขึ้นและกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น อุบัติเหตุไฟไหม้ การชนของเรือหรือรถบรรทุกขนาดใหญ่ หรือภัยธรรมชาติเป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานประกอบด้วย 1. เพื่อศึกษาให้ทราบพฤติกรรมในสภาพที่เป็นปัจจุบันของโครงสร้างสะพานและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความชำรุดเสียหาย 2. เพื่อพัฒนาแบบจำลองในการวิเคราะห์และประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างสะพาน 3. เพื่อพัฒนาระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงในการตรวจสอบ ติดตามและประเมินความสามารถในการใช้งานของโครงสร้างสะพานแต่ละแห่งอย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อให้ได้แนวทางการบริหารจัดการสำหรับการซ่อมแซมและบำรุงรักษาสะพานในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว โดยการดำเนินงานในระยะที่ 2 ประกอบด้วยสะพานจำนวน 3 สะพาน ได้แก่สะพานกรุงธน สะพานพระราม 3 และสะพานพระราม 5 รวมถึงได้ทำการตรวจติดตามความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพานในระยะที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย สะพานกรุงเทพ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน สะพานพระปกเกล้า และ สะพานพระราม 7th
dc.description.abstractA number of large bridge structures under authority of the Department of Rural Roads are aging and have been service under increasing traffic volume and payload for a long period of time. In many circumstances, these bridges are vulnerable to structural deterioration and damages which have direct impacts on serviceability, strength and durability of the bridge structures as well as concerns on public safety and comfort. The Department of Rural Roads has therefore initiated an investigation project to develop the bridge structural model and health monitoring system for damage assessment and structural performance evaluation of the existing bridge structures in the metropolitan and vicinity area of Bangkok. The objectives of the present investigation are as follows. (1) Investigate structural behaviors of the bridge structures under existing and current operating conditions and structural deficiencies due to damages and deterioration, (2) to develop a FE model for bridge structural analysis and load-carrying capacity evaluation, (3) to develop a bridge health monitoring system for structural evaluation of the existing bridge structures, and (4) to develop bridge maintenance program for the short-, middle- and long-term operation plan. The bridge structures considered in Phase II cover Krungthon Bridge, Rama III Bridge, and Rama V Bridge. The bridges carried out in Phase I, consisting of Krungtep Bridge, Phra Pin Klao Bridge, Taksin Bridge, Phra Pok Klao Bridge and Rama VII Bridge, are also under a follow-up monitoring.th
dc.description.sponsorshipกรมทางหลวงชนบท
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectแบบจำลองth
dc.subjectระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงสะพานth
dc.subjectสะพานth
dc.titleพัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงสะพาน ระยะที่ 2
dc.title.alternativeDevelopment of Bridge Model and Structural Evaluation System : Fhase II
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderกรมทางหลวงชนบท
cerif.cfProj-cfProjId2560A00131
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology sector : ICT)
turac.contributor.clientกรมทางหลวงชนบท
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record