Show simple item record

dc.contributor.authorกิตติพงศ์ ไชยนอก
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-08-10T09:12:21Z
dc.date.available2018-08-10T09:12:21Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/453
dc.description.abstractจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สู่แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายใน อุตสาหกรรมสมุนไพร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบทั้งสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ ภูมิปัญญาที่สั่งสมเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคและดูแลสุขภาพของตนเอง ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มความต้องการของโลกอนาคต ทางรัฐบาลจึงตั้งเป้าพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นเมืองสมุนไพร โดยมีนโยบายการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเป็นระบบและยั่งยืนตลอดห่วงโซ่ ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งกิจกรรมการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มสมุนไพร นับเป็นกิจกรรมหลักในการขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม วัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนี้ เพื่อพัฒนาให้เกิดการรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมสมุนไพร และการดำเนินการของคลัสเตอร์ที่มีการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย กลยุทธ์ รวมทั้งแผนปฏิบัติการในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจและเครือข่ายที่ชัดเจน โดยมีเป้าหมายในการรวมกลุ่มเครือข่ายสมุนไพรในเมืองสมุนไพรต้นแบบ 4 จังหวัดคือ ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี เชียงราย และสกลนคร การรวมกลุ่มเครือข่ายสมุนไพรในครั้งนี้ เป็นนวัตกรรมเพื่อการรวมกลุ่ม โดยใช้รูปแบบการบูรณาการข้ามภูมิภาคเป็นเครื่องมือ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยมีกิจกรรมการเชื่อมโยงกลุ่มผู้นำจาก 4 จังหวัด ไปทำกิจกรรมพัฒนาผู้นำ และเชื่อมโยงเครือข่าย นอกเหนือจากการรวมกลุ่มในจังหวัดของตนเอง เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ การเรียนรู้ และการเชื่อมโยงเพื่อประโยชน์ด้านการกระจายสินค้า ในอีกด้านหนึ่ง ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามัคคีของเครือข่ายที่เป็นผู้จัดงานต้อนรับตัวแทนเครือข่ายที่มาเยี่ยมเยือน โดยเป็นการจัดงานร่วมกับทีมที่ปรึกษา ทั้งนี้ผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทกิจกรรม คือ (1) กิจกรรมเพื่อการวางแผนและจัดทำฐานข้อมูล เช่น การอบรม สัมมนา ประชุม และการดำเนินโครงการนำร่อง การจัดทำฐานข้อมูลสมาชิก การตั้งกลุ่มไลน์เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น (2) กิจกรรมพัฒนาผู้นำเครือข่ายและเชื่อมสัมพันธ์เครือข่ายสมุนไพร 4 ภาค 4 จังหวัด ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดเชียงราย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น 2 จังหวัด สำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่รวมทีมผู้จัดงานของเครือข่ายทั้งสิ้น 33 คน และสำหรับจังหวัดเชียงราย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่รวมทีมผู้จัดงานของเครือข่ายทั้งสิ้น 37 คน กิจกรรมพัฒนาผู้นำเครือข่ายและเชื่อมสัมพันธ์เครือข่ายสมุนไพร 4 ภาค 4 จังหวัด ที่จัดขึ้น ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดเชียงราย นับเป็นกิจกรรมสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกิจกรรมการส่งเสริมการรวมกลุ่มสมุนไพร (Cluster) ในครั้งนี้ โดยมีผลต่อการผลักดันเครือข่ายในหลากหลายมิติ คือ 1) ความสามัคคีของเครือข่ายแต่ละจังหวัดเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกผู้นำที่จะเข้าร่วมกิจกรรม โดยในแต่ละครั้งสมาชิกต้องคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนจำกัด และการจัดงานปิดโครงการ เป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมที่สุด เพราะทุกจังหวัดต้องการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมกับทีมที่ปรึกษา และสมาชิกทุกคนที่เข้าร่วม มีความเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ของการรวมกลุ่ม ทำให้มีการวางแผนเพื่อการพัฒนากลุ่มจากปัญหาและความต้องการจริงของสมาชิก แสดงถึงความสามัคคีได้เป็นอย่างดี 2) ความสามัคคีของเครือข่ายระหว่างจังหวัด จากกิจกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยแม้จะไม่มีการพูดคุยเรื่องการค้าขายในระหว่างการทำกิจกรรม แต่ภายหลังกลับมีการเชื่อมโยงค้าขายกันเกิดขึ้น และต่อยอดไปถึงการรวมกลุ่มเครือข่ายระหว่างจังหวัด เพื่อเปิดช่องให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลแก่กลุ่มผู้ประกอบการด้านสมุนไพรในจังหวัดอื่น ๆ โดยก่อตั้งเป็น “เครือข่ายสมุนไพรแห่งประเทศไทย” 3) ขวัญ กำลังใจ และความภาคภูมิใจของผู้จัดงานสมาชิกเครือข่ายสมุนไพรจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีโอกาสจัดกิจกรรมต้อนรับผู้นำจากเครือข่ายจังหวัดอื่น ขวัญ กำลังใจ และความภาคภูมิใจ ที่สามารถประสานงานจนการจัดงานสำเร็จลุล่วงด้วยความประทับใจ และช่วยให้มีกำลังใจในการทำงานต่อไป 4) พัฒนาของกลุ่มผู้นำเครือข่ายแต่ละจังหวัดในบางจังหวัด ผู้นำเครือข่ายไม่มีประสบการณ์ เมื่อมารวมกลุ่ม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ทำให้การรวมกลุ่มแต่ละจังหวัดมีการวางแผน และแนวทางที่ชัดเจน และราบรื่นขึ้น สิ่งที่เห็นเป็นประจักษ์ คือ ผู้นำทุกท่าน มีความสามัคคีในกลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม และมีพัฒนาการในการนำเครือข่ายที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 5) สร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกเครือข่ายจากกิจกรรมพัฒนาผู้นำฯ ในครั้งนี้ เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เห็นภาพสถานการณ์จริงของอุตสาหกรรมสมุนไพรระดับจังหวัด ซึ่งทำให้แต่ละจังหวัดเห็นภาพเชิงเปรียบเทียบ จากเดิมที่คิดและเข้าใจว่าทำได้เพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว กลายเป็นต้องการทำให้ดีกว่าเดิม โดยที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือเรื่องมาตรฐาน โดยแต่ละจังหวัดความต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน และมีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม เพื่อส่งขายทั้งในและต่างประเทศได้ 6) การช่วยเหลือ เกื้อกูล และเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างจังหวัด มีการซื้อขาย แลกเปลี่ยน และช่วยกันขายสินค้า ทั้งซื้อขายกันเอง รวบรวมสินค้าโดยเฉพาะสินค้าประเภทวัตถุดิบเพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้า ทั้งในและต่างประเทศ โดยพยายามสร้างมาตรฐานราคาเดียวกัน และยังมีการส่งสินค้าเพื่อจำหน่ายในร้าน “ไทยเฮิร์บ” ซึ่งเป็นร้านที่ก่อตั้งขึ้นจาก “เครือข่ายสมุนไพรแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีกด้วย 7) การเชื่อมโยงหน่วยงานในพื้นที่ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เข้าร่วมสนับสนุนมีการเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าร่วมสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐในพื้นที่ ทั้งระดับอำเภอ และระดับจังหวัด รวมถึงหน่วยงานภาคเอกชนต่าง ๆ เช่น ธนาคาร บริษัทเอกชน สมาคม เป็นต้น 8) ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับประเทศ เดิมกลุ่มผู้ประกอบการสมุนไพรจะอยู่อย่างกระจัดกระจาย และเมื่อกิจกรรมก็ไม่มีความต่อเนื่อง แต่จากโครงการนี้ เกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง และมีการสร้างสรรค์กิจกรรมโดยเครือข่ายเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้หน่วยงานต่าง ๆ มีช่องทางที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือได้อย่างชัดเจนและตรงตามความต้องการของกลุ่มมากยิ่งขึ้น 9) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัดเกิดการเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ระหว่างกันในเครือข่าย เช่น การรวมผลิตภัณฑ์เพื่อไปจำหน่าย โดยมีการตกลงเพื่อแบ่งผลประโยชน์ในการจำหน่ายที่ชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดการซื้อขายมากขึ้น จึงอาจสรุปได้ว่า กิจกรรมการส่งเสริมการรวมกลุ่มสมุนไพร (Cluster) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จกว่าที่คาดหมายไว้ และเป็นจุดเริ่มต้นของความเข้มแข็งของเครือข่ายสมุนไพรทั้ง 4 จังหวัด ให้พัฒนาเป็นเครือข่ายต้นแบบสมุนไพรอย่างสมบูรณ์ Following to the Thailand Government Policy; Thailand 4.0 to the idea of Industry 4.0 aims to build internal stronger among Thailand herbal industry producers. Thailand has even the best environments and climate for growing herbs as well as long-term knowledge of using herbs as cooking ingredients, traditional medicines and health maintenances. Herbal Industry seemingly to be more wanted in the future market. Therefore, Thai government aims to established Thailand as a centre country for herbal industry following the herbal industry policy to be stable systematic and completed supply chain. By doing so Thai Herbal products must be the best quality and sufficient supply to both internal consumers and for exporting, which will enable a healthier for all and stable-stronger economic for the future. In order to follow this government policy to main activity for this project is bonding all herbal painters and herbal industry together to build a better systematics and stable herbal industry. The main objective of this project is to facilitating the small herbal supplier to group together as a stronger and stable industry and also the cluster project will have clear direction, aim, target including strategies to increase competitive ability, and clear network. We aim to bond an herbal supplier in 4-major local model cities as Prajinburi, Surat Thani, Chiangrai and Sakonnakorn. This grouping together of herbal supplier and network we using an integration model called overall regions which cover major city from 4 regional of Thailand for the most performance and effectiveness results of this project. We have facilities to grouping together all the leaders from those four regions, leadership training, networking, exchanging knowledge and ideas internal region and across the regions. Those activities help individual member to learn, compare herbal producing strategies, networking and distributing products more extensively. Resulting shows stronger herbal industry network, a member grouping together in each region and welcome visitors of herbal producer from another region by also working alongside with consultant teams. All Cluster project facilities can be divided into 2 major activities as; 1. Planning and Database Collecting Activities for example seminar, meeting and starting pilot activities by collect and record membership details, setting Line Groups for better communication among members via the internet. 2. Leadership Training and Herbal Networking of 4 regions 4 cities activity at Surat Thani and Chiangrai provinces. This activity was set in two cities, there were 33 participants in Surat Thani and 37 participants in Chiangrai excluded number of arrangement and consult teams. Leadership Training and Herbal Team-Networking Building 4 Regions 4 Cities activities that were set at Surat Thani and Chiangrai were the most satisfaction results of Cluster Project showing the success of grouping together of herbal industry and showing Herbal Industry Network in variety dimensions as follow; 1. Unity Herbal Networking within the region/city. The activity starts with selecting a leader to participate in the activity, in each arranged activity members will select who will be participants, limit number and arranged closing ceremony once the project finished which showing the success result of project by working alongside with consultant team. Whereas each participant member understands and realise of the true benefit of grouping together among herbal network member. As a result, they help each other planning, building strategy and finding intervention for the problem raised within the group which showing the unity of the group in those regions/cities. 2. Unity Herbal Network between city and region. From the above-mentioned activity help to build trust among each member within network, between city/province and between region. Even though, during participated in the activity they were not mentioned about selling products, but after joined herbal network they have exchanged knowledge and ideas of marketing, and helped member from different herbal network from other province/regions and established ‘Thailand Herbal Network’. 3. Spirit, Encouragement and pride of team members as well as establishment team. Herbal Network from Surat Thani and Chiangrai provinces have a chance to experience setting up pilot welcome meeting activity for herbal network from another region/province and successful finished the project. This has cheer up their spirit, encouragement and pride to their network and established team, and also will encourage them to participate even more activity in the future. 4. Help to develop the ability in each local herbal network. In some other provinces network leader may lack of knowledge and experience once they participated in this activity allow a chance for them to exchange knowledges, experiences, learning and cheer up each other. Consequently, help to be better plan, clear objective, and success in each meeting of herbal network at local level and also help the network leader to lead his/her group successfully. 5. Help to build an inspiration to each herbal network member. From the above-mentioned leadership training activity helps the leader to open their vision to real life situation of herbal industry at provincial level. They also have a chance to compare their products with another region, traditionally they may not want to improve the quality of their product as they thought that they have done their best. By open their vision to compare with other region encourage them to improve their herbal product to become a standard level. As a result, herbal network in each region/province will try to improve the quality and quantity of their herbal products to be more beautiful and attractive package for local and international markets. 6. Assisting Supporting and Connecting economic between the province Allowing selling exchanging and helping each other selling their herbal products including also sell and buying between each other and also gathering together especially herbal raw material to be ready for local customers and export. By doing so also building standard price and sending the products to sell at ‘Thai Herb’ shop which established by Thailand Herbal Network to enable more channel of selling herbal products. 7. Connecting between local organizations and other organization to be involved and support. There is involving of local organizations and other organizations to be officially support and promote herbal products this including government organization either district and provincial level, and also private organizations such banks, private company, associations, etc. 8. Encourage changes herbal group in every level from small community to country level. In the past herbal group located around everywhere, when there was an herbal campaign activity there was not continuous activity. When this project established it is stronger herbal grouping and there is more continuously creative activities within and between the network which allowing more chance for most organizations to be involved and according to the requirement of the projects. 9. Help to economically move in each province. There is becoming generous and share among network members, gathering together herbal product for selling and agree to equal share the benefits. This encourage increasing more numbers of selling and buying herbal products. It could be concluded that Grouping Herbal Network (Cluster) Project of Department of Industry Development and Thammasat University Research Institute and Advices this time has success as expected and will be the beginning era of stronger Herbal Network in 4-major provinces as a completed model city for herbal network industry.th
dc.description.sponsorshipกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectกลุ่มสมุนไพรth
dc.subjectSMEsth
dc.titleกิจกรรมการส่งเสริมการรวมกลุ่มสมุนไพร (Cluster) โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs สมุนไพรเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย กลุ่มเป้าหมาย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน จำนวน 4 เครือข่าย
dc.title.alternativeHerbal Promotion Activities (Cluster), Enhance the Potential of Herbal SMEs to Raise the Thai Herbal Industry for Small and Medium Enterprises(SMEs) Target Group, 4 Community Enterprises
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม
cerif.cfProj-cfProjId2560A00577
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาอุตสาหกรรม (Industry sector : IN)
turac.contributor.clientกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record