พัฒนาด้านเทคนิคคาร์บอนฟุตพรินท์ของประเทศไทย
by หาญพล พึ่งรัศมี
พัฒนาด้านเทคนิคคาร์บอนฟุตพรินท์ของประเทศไทย | |
Development of knowledge based techniques of the carbon footprint | |
หาญพล พึ่งรัศมี | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นที่รู้จักกันดีในด้านภาวะโลกร้อน มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและก่อให้ผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยองค์กรสหประชาชาติได้ชี้ว่าภาวะโลกร้อนมีสาเหตุส่วนใหญ่ หรือมากกว่าร้อยละ 80 มาจากก๊าซเรือนกระจกที่เป็นผลผลิตจากกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้นานาชาติเกิดความตื่นตัวและพยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหา ดังเช่นการประชุมทางด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการประชุมในปี ค.ศ.1992 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ในปี ค.ศ.1997 พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งต่างมีการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในหลายประเทศสมาชิกทั้งในสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และอาเซียนในประเด็นเรื่อง “สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)” ทั้งนี้ สหภาพยุโรปได้มีการกำหนดแผนที่นำทางไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำภายในปี ค.ศ.2050 (Roadmap for moving to a low-carbon economy in 2050) โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 80 จากระดับที่ปล่อยในปี ค.ศ. 1990 ภายในปี ค.ศ. 2050 สอดคล้องกับทิศทางการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทยที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – พ.ศ.2559 ซึ่งได้ริเริ่มในระดับท้องถิ่นต่อการสร้าง “เมืองคาร์บอนต่ำ” นอกจากนี้ ยังได้เกิดฉลากคาร์บอนประเภทต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภคและเป็นการกระตุ้นให้ภาคการผลิตหาแนวทางการจัดการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จากการริเริ่มใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ครั้งแรกในอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2550 โดย “คาร์บอนทรัสต์” (Carbon Trust) องค์กรเอกชนที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐ ปัจจุบันคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากคาร์บอนมีการพัฒนาและมีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ โดยสำหรับประเทศไทยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) เป็นผู้ดูแลการดำเนินงานและพัฒนาฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของบริการงานจัดประชุมองค์กรรวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง (Carbon Footprint for Meetings and relative activities) และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) โดยฉลากลดคาร์บอน
ฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint Reduction of Product) เป็นฉลากอีกรูปแบบหนึ่งของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง กระบวนการผลิต การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน ของปีฐานเปรียบเทียบกับปีปัจจุบัน โดยได้มีการดำเนินงานโครงการฯ นำร่อง เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2557 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หลักการประเมินฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และการประเมินฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ยังต้องได้รับการพัฒนาเทคนิควิธีการประเมินและปรับปรุงระบบการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศและให้ต่างประเทศรับรู้ถึงฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศไทยสรุปผลการดำเนินงาน: คณะกรรมการเทคนิคได้พัฒนาเทคนิคการประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ของประเทศไทยและพัฒนาข้อกำหนดเฉพาะสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ วัสดุหลังคา ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม วัสดุฉนวนความร้อน ผลิตภัณฑ์พีวีซีและพีอีระบบท่อ ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ส่องสว่างและผลิตภัณฑ์สี พร้อมเพยแพร่ให้ผู้ประกอบการในประเทศไทยได้ใช้งาน |
|
คาร์บอนฟุตพรินท์
Carbon Footprint ฉลากคาร์บอน เมืองคาร์บอนต่ำ |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/422 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|