Show simple item record

dc.contributor.authorหาญพล พึ่งรัศมี
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-07-12T07:40:37Z
dc.date.available2018-07-12T07:40:37Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/422
dc.description.abstractจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นที่รู้จักกันดีในด้านภาวะโลกร้อน มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและก่อให้ผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยองค์กรสหประชาชาติได้ชี้ว่าภาวะโลกร้อนมีสาเหตุส่วนใหญ่ หรือมากกว่าร้อยละ 80 มาจากก๊าซเรือนกระจกที่เป็นผลผลิตจากกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้นานาชาติเกิดความตื่นตัวและพยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหา ดังเช่นการประชุมทางด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการประชุมในปี ค.ศ.1992 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ในปี ค.ศ.1997 พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งต่างมีการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในหลายประเทศสมาชิกทั้งในสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และอาเซียนในประเด็นเรื่อง “สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)” ทั้งนี้ สหภาพยุโรปได้มีการกำหนดแผนที่นำทางไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำภายในปี ค.ศ.2050 (Roadmap for moving to a low-carbon economy in 2050) โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 80 จากระดับที่ปล่อยในปี ค.ศ. 1990 ภายในปี ค.ศ. 2050 สอดคล้องกับทิศทางการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทยที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – พ.ศ.2559 ซึ่งได้ริเริ่มในระดับท้องถิ่นต่อการสร้าง “เมืองคาร์บอนต่ำ” นอกจากนี้ ยังได้เกิดฉลากคาร์บอนประเภทต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภคและเป็นการกระตุ้นให้ภาคการผลิตหาแนวทางการจัดการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จากการริเริ่มใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ครั้งแรกในอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2550 โดย “คาร์บอนทรัสต์” (Carbon Trust) องค์กรเอกชนที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐ ปัจจุบันคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากคาร์บอนมีการพัฒนาและมีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ โดยสำหรับประเทศไทยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) เป็นผู้ดูแลการดำเนินงานและพัฒนาฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของบริการงานจัดประชุมองค์กรรวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง (Carbon Footprint for Meetings and relative activities) และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) โดยฉลากลดคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint Reduction of Product) เป็นฉลากอีกรูปแบบหนึ่งของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง กระบวนการผลิต การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน ของปีฐานเปรียบเทียบกับปีปัจจุบัน โดยได้มีการดำเนินงานโครงการฯ นำร่อง เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2557 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หลักการประเมินฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และการประเมินฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ยังต้องได้รับการพัฒนาเทคนิควิธีการประเมินและปรับปรุงระบบการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศและให้ต่างประเทศรับรู้ถึงฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศไทยสรุปผลการดำเนินงาน: คณะกรรมการเทคนิคได้พัฒนาเทคนิคการประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ของประเทศไทยและพัฒนาข้อกำหนดเฉพาะสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ วัสดุหลังคา ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม วัสดุฉนวนความร้อน ผลิตภัณฑ์พีวีซีและพีอีระบบท่อ ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ส่องสว่างและผลิตภัณฑ์สี พร้อมเพยแพร่ให้ผู้ประกอบการในประเทศไทยได้ใช้งานth
dc.description.abstractThe globally concerned climate change or global warming issue inclines to be more severe and posts greater impacts on human and other living things on earth. The United Nations (UN) revealed that 80 percent of global warming contributions are greenhouse gases caused by human activities. This fact leads to increasing awareness and attempts to solve such a problem among nations as witnessed in the continuously held conferences on environment over the past decades such as one taking place in 1992 (The United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) and the other in 1997 (Kyoto Protocol), in which the concept of “Low Carbon Society” was brought up by many member countries in European Union, Japan and ASEAN. As a result, European Union has set a roadmap for moving to a low-carbon economy in 2050 which aimed to reduce greenhouse gas emission by 80 percent of that emitted in year 1990. Correspondingly, in Thailand, the concept of “Low Carbon Society” is also stated in the eleventh national economic and social development plan and initiated “Low Carbon City” at the local level. Moreover, Carbon Label is created to be an effective tool in raising awareness among consumers as well as enthusiasm among entrepreneurs to streamline their production process for the reduction of greenhouse gas emission and more environmentally friendly product development as ways to Low Carbon Society. Carbon Footprint was first introduced in England in 2007 by Carbon Trust, a private organization founded by the government. Currently, carbon footprint and carbon Label are developed and widely used in many countries. In Thailand, Thailand Greenhouse Gas Management Organizaton (TGO) acts as a administrative body in executing and developing carbon footprint in various types such as Carbon Footprint for Organization, Carbon Footprint for Meetings and relative activities and Carbon Footprint of Product. Carbon Footprint Reduction of Product is another type of carbon Label to declare that the product can reduce greenhouse gas emission as regulated based on the estimated emission throughout a product’s life cycle, starting from raw material acquisition, transportation, production, usage and disposal from base year to the current year. The pilot project was launched in May 2014. However, the assessment criteria of carbon label and carbon footprint still need to be enhanced as well as Carbon Footprint Certification System should be streamlined in accordance to international standards to promote international awareness for Thai Carbon Footprint.Overall Operation Report: The committee has improved and identified the techniques and specific protocols for Carbon Footprint Assessment in Thailand for roofing materials, drinking products, heating insulation, PVC & PE pipe system, lighting products and paints as well as publicly disseminated them to Thai entrepreneurs for use.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectคาร์บอนฟุตพรินท์th
dc.subjectCarbon Footprintth
dc.subjectฉลากคาร์บอนth
dc.subjectเมืองคาร์บอนต่ำth
dc.titleพัฒนาด้านเทคนิคคาร์บอนฟุตพรินท์ของประเทศไทย
dc.title.alternativeDevelopment of knowledge based techniques of the carbon footprint
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
cerif.cfProj-cfProjId2558A00415
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)
turac.contributor.clientสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record