Show simple item record

dc.contributor.authorศรีชนา เจริญเนตร
dc.contributor.authorจำลอง สุวรรณชาติ
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-03-30T08:29:55Z
dc.date.available2018-03-30T08:29:55Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/407
dc.description.abstractโครงการมีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกของหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิกจังหวัดลำปางให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ด้วยรูปแบบใหม่ๆ ที่มีเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น (2) เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าประเภทของที่ระลึกสำหรับการท่องเที่ยวภายในหมู่บ้าน (3) เพื่อเสริมสร้างผู้ประกอบการเซรามิกในพื้นที่ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการผลิตและการตลาดเพิ่มสูงขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมาย/ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์ (1) กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ประกอบการเซรามิกในหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิกบ้านศาลาบัวบกและบ้านศาลาเม็ง ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำนวนอย่างน้อย 10 ราย (2) ตัวชี้วัด: ผู้ประกอบการเซรามิกได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และได้รับการปรึกษาแนะนำด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวนอย่างน้อย 10 ราย (3) ผลลัพธ์: ได้ผลิตภัณฑ์เซรามิกเชิงสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ที่มีคุณภาพ สามารถจำหน่ายได้ในตลาดเชิงพาณิชย์และตลาดสำหรับนักท่องเที่ยว จำนวนอย่างน้อย 10 ผลิตภัณฑ์ โดยการคัดเลือกชุมชนที่มีความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการลำปางเมืองเซรามิคจาก 46 โรงงาน โดยใช้เกณฑ์การประเมินดังต่อไปนี้ เก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ประกอบการโรงงานเซรามิกบ้านศาลาเม็งและบ้านศาลาบัวบก ใช้เครื่องมือเพื่อวัดระดับความสนใจในการเข้าร่วมโครงการฯ มีเกณฑ์การประเมินดังนี้ 1.การคัดเลือกจากความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ โดยวัดตามหัวข้อประเด็นความสนใจและให้ค่าคะแนนจากมีความสนใจมากที่สุด สนใจมาก สนใจปานกลาง สนใจน้อย ไปจนถึง สนใจน้อยที่สุด (5 คะแนน) 2.การคัดเลือกจากการความพร้อมที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศักยภาพของโรงาน (5 คะแนน) 3.ความรับผิดชอบในการเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เริ่มต้น จนโครงการฯ เสร็จสิ้น (5 คะแนน) 4.การมีส่วนร่วม ในชุมชน (5 คะแนน) นักท่องเที่ยว จำนวนอย่างน้อย 10 ผลิตภัณฑ์ จำนวน 10 โรงงาน ได้แก่ ชุมชนบ้านศาลาเม็ง จำนวน 4 โรงงานและชุมชนบ้านศาลาบัวบก จำนวน 6 โรงงานคือ 1. โรงงานต้นโพธิ์เซรามิค 2. โรงงานสาธรเซรามิค 3. โรงงานแอ๊นท์และชะเอิงเซรามิคส์ 4. โรงงานชัยมุณีเซรามิค 5. โรงงานระฆังทองเซรามิก 6. โรงงานวินเวฟเซรามิก 7. โรงงานบาระมีเซรามิก 8. โรงงานโมเดลเลอร์เซรามิคส์ ดีไซน์ 9. โรงงานอุไรวรรณเซรามิก 10. โรงงานศาลาทองเซรามิก ในการเสริมสร้างผู้ประกอบการเซรามิกในพื้นที่ทั้ง 10 โรงงาน ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการผลิตและการตลาดเพิ่มสูงขึ้นนั้น ในโครงการนี้ทีมงานที่ปรึกษาได้ออกแบบและแนะนำในส่วนการผลิตที่เพิ่มมูลค่าให้สินค้า ในส่วนการผลิตคือ ผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชิ้นเล็กโดยสามารถแทรกวางในเตาเผาได้เพื่อลดต้นทุนการผลิต หรือสินค้าบางชิ้นมีความแตกต่างจากสินค้าทั่วไปมีความโดดเด่นด้านรูปร่างรูปทรง เป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวและกลุ่มผู้บริโภคสินค้าของใช้ของตกแต่งที่มีขนาดเล็กและมีดีไซน์ ภายใต้ชื่อ สล่าเคลย์ SLA CLAY ที่มาจากชื่อชุมชนบ้านศาลาของทั้ง 2 ชุมชน คือ ศาลาเม็งและศาลาบัวบก เนื่องจากกลุ่มโรงงานทั้ง 2 ชุมชน ผลิตสินค้ารูปแบบเดิมๆ มานานหลายสิบปี ทำให้มีความคุ้นเคยกับวิธีการและรูปแบบที่เคยผลิต เมื่อต้องผลิตหรือใช้วิธีการที่แตกต่างจากเดิม หรือเปลี่ยนกลุ่มตลาดในการขายสินค้า ทำให้โรงงานต้องปรับตัว และปรับทัศนคติในการผลิตสินค้ารูปแบบใหม่ๆth
dc.description.abstractThe project aims to: (1) develop ceramic products of the ceramic tourism village of Lampang Province for higher value added along with new designs and uniqueness of local wisdom, (2) promote the production of souvenir items for tourism within the village, and (3) strengthen ceramic entrepreneurship in the area to increase their production and marketing capacity with certain target group, indicator, and outcome. Target groups are at least 10 ceramic entrepreneurs in ceramic tourism villages which are Baan Sala Bua Khok and Baan Sala Meng in Tha Pha subdistrict, Kwae district, Lampang province. Indicators are at least 10 ceramic entrepreneurs who gain knowledge and are consulted regarding the development of unique product models and local wisdom. Outcomes are at least 10 new ceramic products with creative design and available in both commercial and tourist markets. Communities were being selected by ranking the demand for product development under Lampang Ceramic Project from 46 factories. General information of ceramic house operators in Baan Sala Meng and Baan Sala Bua was collected in order to measure interest of participation. Community selection criteria are as follows: 1) Interest of program participation focusing on the topic of interest and giving a score of the most interested, interested, moderate, less interested, and the least interested (5 points), 2) Readiness to develop products and potential of the factory (5 points), 3) Responsibility of participation from the beginning to the end of the project (5 points), and 4) Participation in the community (5 points). The total selected are 10 factories: 4 factories in Baan Sala Meng and 6 factories in Baan Sala Bua Bok. There are 1) Pho Ceramics, 2) Sathorn Ceramics, 3) Ant and Cha-erng Ceramics, 4) Chai Munee Ceramics, 5) Rakung Thong Ceramics, 6) Win Wave Ceramics, 7) Baramee Ceramics, 8) Modeller Ceramic Design, 9) Uraiwan Ceramics, and 10) Sala Thong Ceramics. In order to strengthen the ceramic entrepreneurship among the 10 factories, the potential and the increase in production and marketing capacity will be achieved. In this project, consultant team has designed and introduced value-added manufacturing segment and characteristics. In term of production, small-sized products can be inserted into the furnace to save space and reduce production costs while some products are different from the general product and can be distinguished by the shape. It must be able to respond to the need of tourists and consumers in term of small decorative items and designs under the name SLA CLAY which is from the name of both communities: Sala Meng and Sala Bua Bok. As the selected factories in both communities have produced the same products for decades, learning new designs, production systems, and market shift have lifted the factories and entrepreneurs to adjust their attitude to produce new products.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectลำปางเมืองเซรามิกth
dc.subjectSla Clayth
dc.subjectSla Clay Projectth
dc.subjectLampang Ceramics Projectth
dc.titleลำปางเมืองเซรามิก กิจกรรม การพัฒนาคุณภาพและพัฒนารูปแบบเซรามิกเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง
dc.title.alternativeLampang,the ceramic city projec. The activities of quality and product development,in order to enhaunce the value of ceramic products. Lampang Provincial Industry office
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง
cerif.cfProj-cfProjId2560A00352
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาอุตสาหกรรม (Industry sector : IN)
turac.contributor.clientสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record