Show simple item record

dc.contributor.authorศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2017-09-29T08:07:57Z
dc.date.available2017-09-29T08:07:57Z
dc.date.issued2016
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/346
dc.description.abstractการศึกษาวิจัย เรื่อง “การนำแนวทางศาลยาเสพติดมาปรับใช้ในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการเบี่ยงเบนผู้กระทำความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรมปกติ กลั่นกรองและบำบัดผู้ติดยาเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจโดยจัดตั้งศาลชำนาญการพิเศษที่เรียกว่าศาลยาเสพติด โดยมีทีมงานศาลยาเสพติดซึ่งมาจากองค์กรสหวิทยาการ เข้าร่วมพิจารณาอย่างใกล้ชิด และเพื่อเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ กระบวนการ และแนวคิดในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด (Rehabilitation) อันนำมาใช้กับผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบระบบบำบัดแบบบูรณาการภายใต้รูปแบบศาลยาเสพติด รวมทั้งเพื่อเสนอรูปแบบใหม่ของการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยศาลยาเสพติด จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ด้านนโยบายและกฎหมาย 1. กรณีแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่เดิม ก. ควรปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิ.อาญา มาตรา 108 เพื่อขยายความคำว่า “เงื่อนไขอื่นใด” ให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติตาม และกรณีมีคำพิพากษาแล้วสามารถใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56(10) ในการกำหนดเงื่อนไขให้จำเลยเข้าโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟู พร้อมทั้งวางระเบียบภายในของศาลยุติธรรมในการบริหารจัดการเพื่อให้การแก้ไขปัญหาผู้กระทำผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติดได้รับการช่วยเหลือดูแลได้ทันที โดยประสานงานกับกรมคุมประพฤติให้ช่วยสอดส่องดูแลผู้ต้องหา จำเลยที่อยู่ในอำนาจศาล ข. แก้ไขเพิ่มเติม พรบ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 สำหรับกลุ่มผู้เสพ-ผู้ติดยาเสพติดที่มีคดีอาญาอื่นร่วมด้วย แต่เป็นคดีอาญาไม่ร้ายแรงที่เข้าเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดพฤติกรรมของผู้กระทำก็มิได้รุนแรง กลุ่มนี้จะเข้าสู่กระบวนการของศาลปกติ แต่ให้ศาลมีอำนาจหน้าที่ในการสั่งแก้ไขฟื้นฟูด้วย โดยปรับปรุงกฎหมายยกฐานะคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม เป็นหน่วยงานที่เป็นทางการ คือ“สำนักงานประสานงานแก้ไฟื้นนืดด้านจิตสังคม” 2. กรณีเปิดเป็นแผนกใหม่ หรือบัญญัติกฎหมายใหม่ ก.ในระยะเริ่มแรก ควรจัดตั้งเป็นศาล “แผนกแก้ไขฟื้นฟูด้านจิตสังคม” ไปพลางก่อน เช่นเดียวกับการจัดตั้งแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญา โดยทำเป็นประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ข.กรณีจัดตั้งศาลใหม่ ควรมี “พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดียาเสพติด (Drug Court Act)” หรือ “พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแก้ไขฟื้นฟูคดียาเสพติด (Drug Rehabilitation Court Act)” เป็นศาลชำนาญการพิเศษ ด้านบริหารจัดการ 3. ในระยะเริ่มต้นควรเริ่มจัดตั้งทีมสหวิทยาการเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาผู้กระทำผิดที่เข้ามาสู่โครงการซึ่งอาจประกอบด้วย พนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่ประจำคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม ผู้ให้คำปรึกษาทนายความอาสา เป็นต้น 4. เมื่อมีการจัดตั้งศาลยาเสพติด อาจให้พนักงานคุมประพฤติทำหน้าที่ผู้จัดการคดีหรือเจ้าของสำนวน (Case Manager) ในทีมสหวิชาชีพ และควรปรับเปลี่ยนบทบาทของคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม ให้เป็นศูนย์ (สำนักงาน) ประสานแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดด้านจิตสังคม ทำหน้าที่ผู้ประสานงานโปรแกรม/คดีด้านการปฏิบัติงาน 5. ควรกำหนดตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้มีความมั่นคงในหน้าที่การงาน เช่น การกำหนดให้เจ้าหน้าที่ประจำคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมเป็นข้าราชการ มิใช่เป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวหรือพนักงานราชการ 6. ควรวางระบบการคัดเลือกอาสาสมัครผู้ให้คำปรึกษาอย่างรัดกุม ตลอดจนมีการฝึกอบรมอย่าง เข้มข้นและต่อเนื่องสำหรับบุคคลดังกล่าว (Program Coordinator)th
dc.description.abstractThe research on “the Implementation of Drug Court in Thailand" conducted with the following goals: First, to study a guidance to divert offenders from the regular criminal justice process, including to screen and treat drug addicts both in physical and mental health by establishing specialized court so-called “Drug Court.” The Court has a team coming from an interdisciplinary organization. Second, to understand the rules and the processes of rehabilitation of offenders applied to the addicts in treatment systems under the Drug Court Model. Finally, to recommend new forms of drug rehabilitation by drug court The results of the study suggested that: In Term of Policy and Legislation 1. In case of the revising of the existing legislation. A. Criminal Procedure Code, Section 108 should be amended to extend the term. "Any other conditions” for an offender on provisional release. Additionally, in post-sentence, Section 56 (10) of Criminal Code can be used on the conditions of rehabilitation program for the defendants. The internal rules of the Court of Justice should be manipulated to rehabilitate drug offenders immediately. In addition, a coordination with the Department of Probation can be done to supervise the accused and the defendants B. Drug Addict Rehabilitation Act, B.E. 2545 should be amended for drug addicts with non-serious criminal charges. Moreover, the behavior of the offender was not violent. This group is eligible for entering the normal process of the court. However, the court authorizes to order rehabilitation program. The revised law should upgrade Psycho–social Clinic to “Cooperative Office for Psycho–social Rehabilitation,” a formal official agency. 2. In case of opening a new division or enacting new legislation. A. at the first stage, a "Psycho-social Rehabilitation Division" should be established on a temporary basis, as the establishment of Corruption and Misconduct Division for public officials in the criminal court by announcing the office of judicial administration commission, in accordance with Section 4 of the Statute of the Courts of Justice. B. in case of the establishment of a new court, Drug Court Act or Drug. Rehabilitation Court Act should be enacted as a special court. In term of Management 3. In the initial phase, interdisciplinary teams consist of public prosecutor, psycho-social staffs, volunteer counselors and volunteer defense lawyer should work together to tackle offenders in the program. 4. On the establishment of drug courts, the role of the psycho-social counseling clinic should be adjusted to be the “Coordination Center for the Rehabilitation of Offenders.” Clinic staff will be working as a Program Coordinator while probation officer can work as a Case Manager in an interdisciplinary team. In term of Operations 5. Positioning for a staff in the clinic to have a secured career should be considered, such as designated clinic staffs to be government officers, not merely a temporary employees or government employees. 6. Placing the selected volunteer counselors carefully and providing an intensive academic training and continuing skill training for them.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectศาลยาเสพติดth
dc.subjectรูปแบบศาลยาเสพติดth
dc.titleการนำแนวทางศาลยาเสพติดกับการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย
dc.title.alternativeProject for Thailand's Implementation of Drug Count
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
cerif.cfProj-cfProjId2559A00311
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)
turac.contributor.clientสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record