การนำแนวทางศาลยาเสพติดกับการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย
by ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์
การนำแนวทางศาลยาเสพติดกับการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย | |
Project for Thailand's Implementation of Drug Count | |
ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2016 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การศึกษาวิจัย เรื่อง “การนำแนวทางศาลยาเสพติดมาปรับใช้ในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการเบี่ยงเบนผู้กระทำความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรมปกติ กลั่นกรองและบำบัดผู้ติดยาเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจโดยจัดตั้งศาลชำนาญการพิเศษที่เรียกว่าศาลยาเสพติด โดยมีทีมงานศาลยาเสพติดซึ่งมาจากองค์กรสหวิทยาการ เข้าร่วมพิจารณาอย่างใกล้ชิด และเพื่อเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ กระบวนการ และแนวคิดในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด (Rehabilitation) อันนำมาใช้กับผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบระบบบำบัดแบบบูรณาการภายใต้รูปแบบศาลยาเสพติด รวมทั้งเพื่อเสนอรูปแบบใหม่ของการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยศาลยาเสพติด จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ด้านนโยบายและกฎหมาย 1. กรณีแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่เดิม ก. ควรปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิ.อาญา มาตรา 108 เพื่อขยายความคำว่า “เงื่อนไขอื่นใด” ให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติตาม และกรณีมีคำพิพากษาแล้วสามารถใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56(10) ในการกำหนดเงื่อนไขให้จำเลยเข้าโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟู พร้อมทั้งวางระเบียบภายในของศาลยุติธรรมในการบริหารจัดการเพื่อให้การแก้ไขปัญหาผู้กระทำผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติดได้รับการช่วยเหลือดูแลได้ทันที โดยประสานงานกับกรมคุมประพฤติให้ช่วยสอดส่องดูแลผู้ต้องหา จำเลยที่อยู่ในอำนาจศาล
ข. แก้ไขเพิ่มเติม พรบ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 สำหรับกลุ่มผู้เสพ-ผู้ติดยาเสพติดที่มีคดีอาญาอื่นร่วมด้วย แต่เป็นคดีอาญาไม่ร้ายแรงที่เข้าเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดพฤติกรรมของผู้กระทำก็มิได้รุนแรง กลุ่มนี้จะเข้าสู่กระบวนการของศาลปกติ แต่ให้ศาลมีอำนาจหน้าที่ในการสั่งแก้ไขฟื้นฟูด้วย โดยปรับปรุงกฎหมายยกฐานะคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม เป็นหน่วยงานที่เป็นทางการ คือ“สำนักงานประสานงานแก้ไฟื้นนืดด้านจิตสังคม” 2. กรณีเปิดเป็นแผนกใหม่ หรือบัญญัติกฎหมายใหม่ ก.ในระยะเริ่มแรก ควรจัดตั้งเป็นศาล “แผนกแก้ไขฟื้นฟูด้านจิตสังคม” ไปพลางก่อน เช่นเดียวกับการจัดตั้งแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญา โดยทำเป็นประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ข.กรณีจัดตั้งศาลใหม่ ควรมี “พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดียาเสพติด (Drug Court Act)” หรือ “พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแก้ไขฟื้นฟูคดียาเสพติด (Drug Rehabilitation Court Act)” เป็นศาลชำนาญการพิเศษ
ด้านบริหารจัดการ 3. ในระยะเริ่มต้นควรเริ่มจัดตั้งทีมสหวิทยาการเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาผู้กระทำผิดที่เข้ามาสู่โครงการซึ่งอาจประกอบด้วย พนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่ประจำคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม ผู้ให้คำปรึกษาทนายความอาสา เป็นต้น 4. เมื่อมีการจัดตั้งศาลยาเสพติด อาจให้พนักงานคุมประพฤติทำหน้าที่ผู้จัดการคดีหรือเจ้าของสำนวน (Case Manager) ในทีมสหวิชาชีพ และควรปรับเปลี่ยนบทบาทของคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม ให้เป็นศูนย์ (สำนักงาน) ประสานแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดด้านจิตสังคม ทำหน้าที่ผู้ประสานงานโปรแกรม/คดีด้านการปฏิบัติงาน 5. ควรกำหนดตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้มีความมั่นคงในหน้าที่การงาน เช่น การกำหนดให้เจ้าหน้าที่ประจำคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมเป็นข้าราชการ มิใช่เป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวหรือพนักงานราชการ 6. ควรวางระบบการคัดเลือกอาสาสมัครผู้ให้คำปรึกษาอย่างรัดกุม ตลอดจนมีการฝึกอบรมอย่าง เข้มข้นและต่อเนื่องสำหรับบุคคลดังกล่าว (Program Coordinator) |
|
ศาลยาเสพติด
รูปแบบศาลยาเสพติด |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/346 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|