Show simple item record

dc.contributor.authorภูรี สิรสุนทร
dc.contributor.authorเฉลิมพงษ์ คงเจริญ
dc.contributor.authorศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์
dc.contributor.authorศุพฤฒิ ถาวรยุติการต์
dc.contributor.authorภาวิน ศิริประภานุกูล
dc.contributor.authorพรระพีพัฒน์ ภาสบุตร
dc.contributor.authorวรรัตน์ ปัตรประกร
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2017-05-22T07:02:42Z
dc.date.available2017-05-22T07:02:42Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/311
dc.description.abstractยานยนต์และพลังงานในภาคขนส่งเป็นสินค้าประกอบกัน นโยบายของรัฐไม่ว่าจะเป็นนโยบายอุตสาหกรรม นโยบายคมนาคม นโยบายพลังงานในภาคขนส่งโดยเฉพาะโครงสร้างราคาพลังงานส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกใช้ยานยนต์และการใช้พลังงานในภาคขนส่งทางถนนและการกำหนดทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรวมทั้งภาคขนส่งและภาคพลังงานอีกด้วย รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานได้ตระหนักถึงสถานการณ์การใช้พลังงานในภาคขนส่งของประเทศไทยและได้วางแผนอนุรักษ์พลังงานมาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงาน หนึ่งในแนวทางที่จะส่งเสริมให้เกิดการประหยัดพลังงานในภาคขนส่งคือการนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้แทนยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากยิ่งขึ้น โดยสามารถนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้เชื่อมต่อและประกอบกันกับการขนส่งในระบบรางอีกด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มบทบาทของระบบรางในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ยานยนต์และพลังงานให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม ยังเพิ่มโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนต่อไปได้ในอนาคต จากการเก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษาพบว่าโดยรวมแล้วประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อระยะทางของยานยนต์ไฟฟ้าจะสูงกว่ายานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งนี้ในทางเทคนิค ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถนำมาใช้งานได้กับรถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล และรถโดยสารไม่ประจำทางที่มีระยะการใช้งานต่อวันไม่สูงมาก อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดในการนำมาใช้กับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนและรถจักรยานยนต์รับจ้างเนื่องจากมีข้อจำกัดของระยะทางการใช้งานต่อการชาร์จแบตเตอรี่ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องในหนึ่งวัน ในการใช้แบบจำลองแบบผสมผสานระหว่างโครงข่ายประสาทเทียมและฟัซซีโลจิกส์ พบว่า หากมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ใน “แผนการขับเคลื่อนภารกิจด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย” ในระหว่างปี พ.ศ. 2559-2579 จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถประหยัดพลังงาน โดยเฉลี่ย 8,759,060 กิกะจูลต่อปี (2,433 กิกะวัตต์-ชั่วโมง) ซึ่งคิดเป็นปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ลดลง 349 ล้านลิตรต่อปี นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามเป้าหมายของแผนการขับเคลื่อนฯ ในสถานการณ์ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการผลิตอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งประเทศไทยสามารถผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้า และส่งออกได้บางส่วน จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจมหภาค ปริมาณการผลิตรถยนต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าและการประหยัดเชื้อเพลิงแต่ละประเภทในภาคขนส่งโดยใช้แบบจำลอง End use พบว่าหากมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามเป้าหมายของแผนการขับเคลื่อนฯ การบริโภคเชื้อเพลิงจะปรับเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมาสู่ไฟฟ้าอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทต่าง ๆ ปรับตัวลดลง โดยที่ความต้องการเชื้อเพลิงเบนซินปรับตัวลดลงมากที่สุด มูลค่าความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลปรับตัวลดลงในขณะที่มูลค่าความต้องการไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ในภาพรวมแล้วประเทศสามารถประหยัดมูลค่าเชื้อเพลิงเพื่อการขนส่งลงได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างปี พ.ศ. 2575-2579 จะสามารถประหยัดได้เฉลี่ยถึงปีละ 1.7 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการขับเคลื่อนฯ จำเป็นต้องอาศัยนโยบายและมาตรการของภาครัฐที่เหมาะสม อันได้แก่ มาตรการทางด้านอุปสงค์ซึ่งประกอบด้วย มาตรการสร้างจูงใจทางด้านการเงินเพื่อลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของยานยนต์ไฟฟ้า และมาตรการสร้างแรงจูงใจที่มิใช่ทางการเงินเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า มาตรการทางด้านอุปทานซึ่งประกอบด้วยมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า มาตรการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนภายในประเทศ และมาตรการการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนโดยให้หน่วยงานของรัฐเป็นจุดศูนย์กลาง และมาตรการที่จำเป็นอย่างยิ่งคือมาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าและการพัฒนาระบบการจ่ายไฟฟ้าให้พร้อมซึ่งจะทำให้ผู้ใช้มีความมั่นใจในการหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและผู้ผลิตมีแรงจูงใจในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นth
dc.description.abstractGovernment policies in transport, energy and industrial sectors has significantly affected on choices of transportation and vehicles, energy consumption in road transport sector and development and advancement of automobile industry. For decades, Ministry of Energy in Thailand has implemented energy conservation policies and measures in order to promote energy efficiency in road transport sector. Vehicles with electric drive systems has been promoted as an option to replace internal combustion engines (ICEs) in order to reduce consumption of fossil fuels, noise pollution and greenhouse gas emissions. Moreover, electric vehicles (EVs) can be used as connecting vehicles and complement mode to rail transport. An adoption of EV technology will also accelerate developmental and transitional process of Thailand automotive industry in the future. From data collection in Bangkok Metropolitan Area, key finding is that EVs have higher energy efficiency than ICE vehicles. Electric vehicles including of passenger cars, motorcycles and buses with moderate daily use could replace ICE vehicles whereas EVs for taxis and motorcycle taxis have faced with technical constraints on distance and battery life. Results from artificial neural networks and fuzzy logic model show that if EV target of 1.2 million passenger cars set by Ministry of Energy’s roadmap to promote EV adoption in Thailand during 2016-2036 could have been achieved, on average energy saving would be 8.76 gigajoules or 346 million liters of fossil fuel annually. In addition, according to the roadmap Thai automotive industry will be continuously promoted and developed to increase EV production capacity and competitiveness for domestic consumption and import substitution and eventually to be able to export to other countries. Promotion of EV adoption will not have significantly negative effects on Thai macro-economy, gross domestic production, and automotive industry together with its industrial linkage. The end use model to forecast energy demand and energy saving in Thai transport sector is employed in this study. The results reveal that EV target by the roadmap will result in faster adoption of EV in replace of ICE vehicles from 2021 and decrease in quantity demanded for fossil fuels, particularly gasoline. Whereas value of demand for fossil fuel is declining, its electricity demand is increasing since 2021. However, as a whole, Thailand can save energy in Thai transport sector during 2032-2036 on average by 17 billion baht per annum. In order to achieve EV target by Ministry of Energy during 2016-2036, government policy and measures should be clearly drawn and effectively implemented. Key measures include demand-side measures on financial and non-financial incentives for consumers to buy, own and use EVs; supply-side policies on EV research and development, domestic production, development of automotive part industry for EV and government-sponsored collaboration projects among automotive and parts producers; and infrastructural development such as subsidy for setting up charging stations in the specified area in order to attract more consumers to use EVs.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าth
dc.subjectElectric Vehiclesth
dc.subjectการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าth
dc.titleศึกษาและพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)
dc.title.alternativeElectric Vehicles
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
cerif.cfProj-cfProjId2558A00305
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาพลังงาน (Energy sector : EG)
turac.contributor.clientสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ
cerif.cfProj-cfFundNameกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record