dc.contributor.author | วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ | |
dc.contributor.author | สมบูรณ์ กีรติประยูร | |
dc.contributor.author | ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน | |
dc.contributor.author | มารุต สุขสมจิต | |
dc.contributor.author | สุริยะกิจ ย่อมมี | |
dc.contributor.other | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2016-12-23T03:13:41Z | |
dc.date.available | 2016-12-23T03:13:41Z | |
dc.date.issued | 2016 | |
dc.identifier.uri | https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/297 | |
dc.description.abstract | เมืองเก่าเป็นเมืองที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะแห่งสืบต่อมาแต่กาลก่อน และมีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือมีรูปแบบผสมผสานของสถาปัตยกรรมท้องถิ่น หรือมีลักษณะของรูปแบบวิวัฒนาการทางสังคมที่สืบต่อมาของยุคต่างๆ ซึ่งมีคุณค่าในทางศิลปะ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ และยังมีการใช้สอยในลักษณะเมืองที่ยังมีชีวิตอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน เช่น กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองเก่าเชียงใหม่ เมืองเก่าสงขลา เมืองเก่าน่าน เป็นต้น ปัจจุบันเมืองเก่าได้ถูกความเจริญและการขยายตัวของตัวเมืองอย่างไร้ทิศทาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลายกิจกรรม ทั้งภาคราชการและเอกชน เกิดความหนาแน่นแออัดของอาคารสถานที่และการจราจร ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิทัศน์ และวิถีชีวิตของชุมชน ทำให้องค์ประกอบเมืองเก่า คุณค่าของเมือง และเอกลักษณ์ความเป็นเมืองเก่าถูกทำลายและลดความสำคัญลง รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานเป็นพิเศษเฉพาะพื้นที่ เป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ.2546 โดยมอบหมายให้คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กำกับการบริหารราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ ทำหน้าที่วางนโยบาย กำหนดพื้นที่ และจัดทำแผนแม่บทแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ การกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า เป็นขั้นตอนแรกของการวางแผนงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า โดยกำหนดตามสภาพข้อเท็จจริงบนพื้นฐานข้อมูลตามหลักฐานที่อ้างถึงและการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมื่อมีขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าที่ชัดเจนแล้ว จังหวัดและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดหรือพัฒนากลไกและกระบวนการบริหารจัดการเมืองเก่าแบบบูรณาการได้ต่อไป ที่ผ่านมาคณะกรรมการฯ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 24 เมือง และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ได้กำหนดให้ดำเนินการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 2 จำนวน 4 เมือง ได้แก่ เมืองเก่าราชบุรี เมืองเก่าสุรินทร์ เมืองเก่าภูเก็ต และเมืองเก่าระนอง โดยให้ดำเนินการกำหนดขอบเขตและจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า พร้อมรายละเอียดองค์ประกอบสำคัญในพื้นที่เมืองเก่า จัดทำกรอบแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า และจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบในการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่า ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2546 | th |
dc.description.abstract | Old city is an area containing a locally specific characteristic inherited from the past. It could be consisting of the identities of local culture or the mixture of local architectures or the characteristics of social evolution passing through the chronological eras being valuable of arts, architecture, archeology and history. In addition it has been kept alive since it was firstly established; such as the old cities of Ratanakosin, Chaingmai, Songkla, Nan, etc. Unfortunately they have been disturbed by the development and non-directional expansion and various utilizations of land of both governmental and private agencies. It is resulted in the occurrences of highly dense of buildings and heavily traffic congestion consequently creating the environmental problems and alteration of landscape and the way of community living, therefore, the composition, value, and identity of the old city have been either destroyed or depreciated. Then, the government has issued a operational policy for the specific areas entitled cabinet regulation for conserving and developing the cities of Ratanakosin and Old Cities B.E. 2546 assigning a committee presided by the assigned Deputy Prime Minister administratively responsible for the ministry of Natural Resources and Environment in order to establishing the policy, specifying the areas and setting up the master plan of guidance of conserving and developing the old cities by the approval of the cabinet. The Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning, a department under the ministry, is officially acting as the secretary of the committee. Boundary delineation of an Old City is the very first step of planning for conserving and developing the old city. The delineation will be determined based upon the facts retrieving from concrete evidences and the historical and archeological investigations. After the boundaries have been established, the provincial administration and all related sectors are able to create or develop the mechanisms and processes of integrated administration of the Old City. Currently, twenty four old cities of the group 1 and 2 have been approved by cabinet resolution. Additional 4 old cities; the Old Cities of Ratchaburi, Surin, Phukhet and Ranong, are being worked on in B.E. 2559 fiscal year. The mission will be including delineating the boundary, producing map comprising of boundaries and principle components, establishing guidance for conserving and developing the old city, and documenting for the consideration of the cabinet meeting of official approval and declaration of the proposed old cities. | th |
dc.description.sponsorship | สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | tha | en |
dc.publisher | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
dc.rights | เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
dc.subject | อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า | th |
dc.subject | พื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 2 | th |
dc.subject | สถาปัตยกรรมท้องถิ่น | th |
dc.title | อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า : กำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 2 (เมืองเก่าราชบุรี เมืองเก่าสุรินทร์ เมืองเก่าภูเก็ต และเมืองเก่าระนอง) | |
dc.title.alternative | Project of Conservation and Development of The Old Cities Boundary Delineation of the Second Group (Ratchaburi Old City ,Surin Old City ,Phuket Old City and Ranong Old City | |
dc.type | Text | |
dcterms.accessRights | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
dc.rights.holder | สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
cerif.cfProj-cfProjId | 2559A00047 | |
mods.genre | บทความ | |
mods.location.physicalLocation | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
turac.projectType | โครงการวิจัย | |
turac.researchSector | สาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD) | |
turac.contributor.client | สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
turac.fieldOfStudy | สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
cerif.cfProj-cfProjStatus | สิ้นสุดโครงการ | |