อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า : กำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 2 (เมืองเก่าราชบุรี เมืองเก่าสุรินทร์ เมืองเก่าภูเก็ต และเมืองเก่าระนอง)
by วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ; สมบูรณ์ กีรติประยูร; ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน; มารุต สุขสมจิต; สุริยะกิจ ย่อมมี
อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า : กำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 2 (เมืองเก่าราชบุรี เมืองเก่าสุรินทร์ เมืองเก่าภูเก็ต และเมืองเก่าระนอง) | |
Project of Conservation and Development of The Old Cities Boundary Delineation of the Second Group (Ratchaburi Old City ,Surin Old City ,Phuket Old City and Ranong Old City | |
วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ
สมบูรณ์ กีรติประยูร ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน มารุต สุขสมจิต สุริยะกิจ ย่อมมี |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2016 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
เมืองเก่าเป็นเมืองที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะแห่งสืบต่อมาแต่กาลก่อน และมีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือมีรูปแบบผสมผสานของสถาปัตยกรรมท้องถิ่น หรือมีลักษณะของรูปแบบวิวัฒนาการทางสังคมที่สืบต่อมาของยุคต่างๆ ซึ่งมีคุณค่าในทางศิลปะ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ และยังมีการใช้สอยในลักษณะเมืองที่ยังมีชีวิตอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน เช่น กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองเก่าเชียงใหม่ เมืองเก่าสงขลา เมืองเก่าน่าน เป็นต้น ปัจจุบันเมืองเก่าได้ถูกความเจริญและการขยายตัวของตัวเมืองอย่างไร้ทิศทาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลายกิจกรรม ทั้งภาคราชการและเอกชน เกิดความหนาแน่นแออัดของอาคารสถานที่และการจราจร ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิทัศน์ และวิถีชีวิตของชุมชน ทำให้องค์ประกอบเมืองเก่า คุณค่าของเมือง และเอกลักษณ์ความเป็นเมืองเก่าถูกทำลายและลดความสำคัญลง รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานเป็นพิเศษเฉพาะพื้นที่ เป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ.2546 โดยมอบหมายให้คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กำกับการบริหารราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ ทำหน้าที่วางนโยบาย กำหนดพื้นที่ และจัดทำแผนแม่บทแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ การกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า เป็นขั้นตอนแรกของการวางแผนงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า โดยกำหนดตามสภาพข้อเท็จจริงบนพื้นฐานข้อมูลตามหลักฐานที่อ้างถึงและการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมื่อมีขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าที่ชัดเจนแล้ว จังหวัดและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดหรือพัฒนากลไกและกระบวนการบริหารจัดการเมืองเก่าแบบบูรณาการได้ต่อไป ที่ผ่านมาคณะกรรมการฯ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 24 เมือง และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ได้กำหนดให้ดำเนินการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 2 จำนวน 4 เมือง ได้แก่ เมืองเก่าราชบุรี เมืองเก่าสุรินทร์ เมืองเก่าภูเก็ต และเมืองเก่าระนอง โดยให้ดำเนินการกำหนดขอบเขตและจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า พร้อมรายละเอียดองค์ประกอบสำคัญในพื้นที่เมืองเก่า จัดทำกรอบแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า และจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบในการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่า ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2546 |
|
อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า
พื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 2 สถาปัตยกรรมท้องถิ่น |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/297 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|