Show simple item record

dc.contributor.authorศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์
dc.contributor.authorชลธิชา พันธุ์พานิช
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2016-11-30T02:28:19Z
dc.date.available2016-11-30T02:28:19Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/284
dc.description.abstractการศึกษาวิจัย เรื่อง “การจัดทำบัญชีอัตราโทษ ศึกษากรณีคดียาเสพติด” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาบัญชีอัตราโทษของประเทศต่าง ๆ ในคดียาเสพติด เพื่อศึกษาถึงบัญชีอัตราโทษในคดียาเสพติดของศาลไทย และเพื่อจัดทำบัญชีอัตราโทษในคดียาเสพติดที่สอดคล้องกับสภาพของการกระทำผิดและภาวะทางเพศสภาพ ขอบเขตการศึกษา จะศึกษาเฉพาะคดียาเสพติด และศึกษาจากคำพิพากษาในคดียาเสพติดที่สิ้นสุดแล้วโดยมี วิธีการศึกษามีดังนี้ ได้แก่ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกับบัญชีอัตราโทษในคดียาเสพติดทั้งในและต่างประเทศ ศึกษาคำพิพากษาคดียาเสพติดที่สิ้นสุดแล้ว เพื่อสืบค้นที่มาของการกำหนดบัญชีอัตราโทษ ระดมความคิดเห็น เพื่อเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการร่างแนวทางการใช้บัญชีอัตราโทษ ข้อมูลจากต่างประเทศ ศึกษาแนวการกำหนดบัญชีอัตราโทษ หรือ Sentencing Guidelines คดียาเสพติด ใน 5 ประเทศ ดังนี้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา และประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ผลการศึกษา พบว่า บัญชีระดับอัตราโทษที่นำมาใช้อยู่ในปัจจุบัน มีข้อดีในด้านทำให้การกำหนดโทษของผู้พิพากษาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยไม่ทำให้มีความแตกต่างกันมาก สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้กระทำผิดที่จะได้รับจากกระบวนการยุติธรรม หากบัญชีอัตราโทษมีความเป็นระบบและเที่ยงธรรม แต่ข้อเสียก็คือ ทำให้ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษโดยมีข้อจำกัด เพราะมักคำนึงถึงบัญชีระดับอัตราโทษเป็นสำคัญ จากการศึกษารูปแบบแนวทางการพิพากษาลงโทษ (Sentencing Guidelines) ที่สำคัญได้แก่ แบบ Grid ของอเมริกัน ใช้ง่าย รวดเร็ว แต่จำกัดการใช้ดุลพินิจค่อนข้างมากและเน้นประวัติการกระทำผิด ส่วนแบบ Narrative ของอังกฤษและเกาหลี ค่อนข้างละเอียด ใช้การพรรณนาเหตุผลเป็นขั้นเป็นตอน เน้นที่ประวัติภูมิหลังรายบุคคล ไม่เน้นที่ประวัติการกระทำผิดมากนัก ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ในด้านนโยบาย ควรมีการศึกษาทบทวนแนวทางการจัดทำบัญชีอัตราโทษ คดียาเสพติดของประเทศไทยอย่างละเอียดและมีมาตรฐาน ในด้านรูปแบบ ควรจัดตั้ง “คณะกรรมการวางแนวทางการพิพากษาคดีไทย (Thai Sentencing Guidelines Commission) โดยใช้รูปแบบเชิงผสมผสานระหว่าง Grid Approach ของประเทศสหรัฐ กับ Narrative/Gradual Approach ของประเทศอังกฤษ และสาธารณรัฐเกาหลี ในด้านแนวทางการยกร่างการใช้บัญชีอัตราโทษ คดียาเสพติดของประเทศไทย ควรพิจารณาปรับปรุงแนวบัญชีอัตราโทษคดียาเสพติดของศาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเพิ่มเติมสาระสำคัญและทำให้ดูง่ายขึ้น มีขั้นตอนการพิจารณาเชิงวิเคราะห์มากขึ้น เช่น เจตนา สถานะหรือบทบาทของผู้กระทำผิด เหตุเพิ่มโทษ เหตุลดโทษ ผลกระทบต่อสังคม ต่อครอบครัวของผู้กระทำผิดเมื่อศาลลงโทษไปแล้ว เป็นต้น ทั้งนี้ ควรพิจารณาข้อมูลที่ได้จากรายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติ เพื่อวิเคราะห์เหตุและผลของการกระทำผิด อันจะทำให้ศาลสามารถประมวลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน ก่อนที่จะกำหนดโทษth
dc.description.abstractThe research on "The Sentencing Guidelines Project for Drug Offenses" is conducted with the following aims: First, to study sentencing guidelines of some countries in the drug cases. Second, to study the sentencing guideline for drug cases in Thailand. Finally, to prepare sentencing guideline for drug cases that suitable to the condition of crime and gender. Scopes of the study will focus on drug cases, and the final judgment in the case of drugs will be examined. The research method is conducted through a study of documents related to the sentencing guideline in drug cases, both in Thailand and abroad. Additionally, final judgment of the drug cases will be searched, including brainstorming and discussion on the sentencing guideline draft will be provided. Information determining the guidelines of sentencing in drug cases comes from five countries including the United States, Britain, Australia, Canada and South Korea. The study found that the advantages of sentencing guideline presently used as follows. First, it makes the imposition of a judge in the same way. Another advantage is making no difference in judgment. Therefore, the offender will obtain fairness from the systematic and accurate justice system. On the other hand, the guideline may give judges the restricted discretion to impose sentences, since they may be merely depending on the guideline. An interesting model is a Grid of American sentencing guideline. It is easy and fast to use, but the judge’s discretion is rather limited, and it focused on criminal records. Meanwhile, Narrative Model of English and Korean Republic rather use a descriptive logic step by step, focusing on the individual's background history, not only on the criminal records. Recommendations from the study, in terms of policy, sentencing guidelines in drug cases should be revised thoroughly. In terms of model, “Thai Sentencing Guidelines Commission” should be established and implemented the combination of the Grid Approach of the United States with Narrative Approach’s from England and the Republic of Korea. In terms of sentencing guidelines’ drafting, The guidelines for drug offenses used in Thai trial court nowadays should be reconsidered with more analytical procedures, for example, a role or status of the offender, the penalty that may impact on society and offender’s family. The crucial thing is information from probation officer’s presentence investigation report that should be considered in order to analyze the causes of crime. The report will provide the offender’s facts to the judge before the imposition of punishment.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectบัญชีอัตราโทษth
dc.subjectคดียาเสพติดth
dc.subjectศาลไทยth
dc.titleการจัดทำบัญชีอัตราโทษ ศึกษากรณีคดียาเสพติด
dc.title.alternativeThe sentencing guide lines Project for Drug offence
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
cerif.cfProj-cfProjId2558A00039
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)
turac.contributor.clientสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record