การจัดทำบัญชีอัตราโทษ ศึกษากรณีคดียาเสพติด
by ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์; ชลธิชา พันธุ์พานิช
การจัดทำบัญชีอัตราโทษ ศึกษากรณีคดียาเสพติด | |
The sentencing guide lines Project for Drug offence | |
ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์
ชลธิชา พันธุ์พานิช |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การศึกษาวิจัย เรื่อง “การจัดทำบัญชีอัตราโทษ ศึกษากรณีคดียาเสพติด” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาบัญชีอัตราโทษของประเทศต่าง ๆ ในคดียาเสพติด เพื่อศึกษาถึงบัญชีอัตราโทษในคดียาเสพติดของศาลไทย และเพื่อจัดทำบัญชีอัตราโทษในคดียาเสพติดที่สอดคล้องกับสภาพของการกระทำผิดและภาวะทางเพศสภาพ ขอบเขตการศึกษา จะศึกษาเฉพาะคดียาเสพติด และศึกษาจากคำพิพากษาในคดียาเสพติดที่สิ้นสุดแล้วโดยมี วิธีการศึกษามีดังนี้ ได้แก่ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกับบัญชีอัตราโทษในคดียาเสพติดทั้งในและต่างประเทศ ศึกษาคำพิพากษาคดียาเสพติดที่สิ้นสุดแล้ว เพื่อสืบค้นที่มาของการกำหนดบัญชีอัตราโทษ ระดมความคิดเห็น เพื่อเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการร่างแนวทางการใช้บัญชีอัตราโทษ ข้อมูลจากต่างประเทศ ศึกษาแนวการกำหนดบัญชีอัตราโทษ หรือ Sentencing Guidelines คดียาเสพติด ใน 5 ประเทศ ดังนี้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา และประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
ผลการศึกษา พบว่า บัญชีระดับอัตราโทษที่นำมาใช้อยู่ในปัจจุบัน มีข้อดีในด้านทำให้การกำหนดโทษของผู้พิพากษาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยไม่ทำให้มีความแตกต่างกันมาก สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้กระทำผิดที่จะได้รับจากกระบวนการยุติธรรม หากบัญชีอัตราโทษมีความเป็นระบบและเที่ยงธรรม แต่ข้อเสียก็คือ ทำให้ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษโดยมีข้อจำกัด เพราะมักคำนึงถึงบัญชีระดับอัตราโทษเป็นสำคัญ จากการศึกษารูปแบบแนวทางการพิพากษาลงโทษ (Sentencing Guidelines) ที่สำคัญได้แก่ แบบ Grid ของอเมริกัน ใช้ง่าย รวดเร็ว แต่จำกัดการใช้ดุลพินิจค่อนข้างมากและเน้นประวัติการกระทำผิด ส่วนแบบ Narrative ของอังกฤษและเกาหลี ค่อนข้างละเอียด ใช้การพรรณนาเหตุผลเป็นขั้นเป็นตอน เน้นที่ประวัติภูมิหลังรายบุคคล ไม่เน้นที่ประวัติการกระทำผิดมากนัก ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ในด้านนโยบาย ควรมีการศึกษาทบทวนแนวทางการจัดทำบัญชีอัตราโทษ คดียาเสพติดของประเทศไทยอย่างละเอียดและมีมาตรฐาน ในด้านรูปแบบ ควรจัดตั้ง “คณะกรรมการวางแนวทางการพิพากษาคดีไทย (Thai Sentencing Guidelines Commission) โดยใช้รูปแบบเชิงผสมผสานระหว่าง Grid Approach ของประเทศสหรัฐ กับ Narrative/Gradual Approach ของประเทศอังกฤษ และสาธารณรัฐเกาหลี ในด้านแนวทางการยกร่างการใช้บัญชีอัตราโทษ คดียาเสพติดของประเทศไทย ควรพิจารณาปรับปรุงแนวบัญชีอัตราโทษคดียาเสพติดของศาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเพิ่มเติมสาระสำคัญและทำให้ดูง่ายขึ้น มีขั้นตอนการพิจารณาเชิงวิเคราะห์มากขึ้น เช่น เจตนา สถานะหรือบทบาทของผู้กระทำผิด เหตุเพิ่มโทษ เหตุลดโทษ ผลกระทบต่อสังคม ต่อครอบครัวของผู้กระทำผิดเมื่อศาลลงโทษไปแล้ว เป็นต้น ทั้งนี้ ควรพิจารณาข้อมูลที่ได้จากรายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติ เพื่อวิเคราะห์เหตุและผลของการกระทำผิด อันจะทำให้ศาลสามารถประมวลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน ก่อนที่จะกำหนดโทษ |
|
บัญชีอัตราโทษ
คดียาเสพติด ศาลไทย |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/284 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|